fbpx
รางน้ำไวนิล

ระบบกำจัดปลวกมีกี่แบบ มีข้อดี - ข้อเสีย อย่างไรบ้าง

ปลวก แมลงตัวเล็ก ๆ แต่สามารถสร้างบ้านปัญหาใหญ่ให้บ้านได้ ทั้งกัดกินเฟอร์นิเจอร์ ข้าวของต่าง ๆ ภายในบ้าน หนักสุดถึงขั้งทำรังอยู่ใต้บ้าน กัดกินบ้านได้ทั้งหลัง ทำให้บ้านเสียหาย ทรุดตัวได้ โดยเฉพาะส่วนไหนของบ้านที่เป็นไม้ ต้องระวังปลวกเอาไว้ให้ดี  วันนี้ VG ขอพูดถึงระบบกำจัดปลวกที่นิยมใช้กันในประเทศไทย ว่ามีทั้งหมดกี่แบบ แต่ละแบบมีข้อดี ข้อเสีย อย่างไรบ้าง เพื่อให้คุณเจ้าของบ้านพิจารณาและเลือกใช้ได้อย่างตรงใจ

  

ระบบกำจัดปลวก ในปัจจุบันมีอยู่หลายแบบ แต่ระบบกำจัดปลวกที่นิยมใช้กันมากที่สุด มีอยู่ 3 แบบ ดังนี้

 

1. ระบบวางท่อ (Pipe System)

ระบบวางท่อ คือ การอัดน้ำยาลงใต้ดิน อัดลงในท่อที่วางไว้ตามจุดต่าง ๆ โดยใช้หัวแรงสูง  แล้ววางระบบท่อเข้าไปบริเวณใต้พื้นหรืออาคาร ตามแนวคานคอดินในขณะที่กำลังทำการก่อสร้าง โดยเฉพาะส่วนที่เป็นห้องน้ำ ห้องเก็บของ ใต้บันได จากนั้นจึงอัดน้ำยาชนิดพิเศษด้วยหัวอัดแรงสูงไปตามจุดต่าง ๆ ที่ฝังท่อไว้เพื่อทำให้ดินบริเวณใต้พื้นมีสภาพเป็นพิษเกินกว่าที่ปลวกจะอาศัยอยู่ได้  แล้วจึงฉีดพ่นน้ำยาเคลือบผิวหน้าดิน ป้องกันไม่ให้ปลวกขึ้นบ้าน 

ข้อดี : ไม่สร้างความเสียหายให้แก่พื้นอาคาร และไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาอัดฉีดในปริมาณที่มากจนเกินไป ใช้เวลาน้อยและประหยัดกว่าเมื่อเทียบกับวิธีอื่น ๆ ทำได้สะดวก สามารถอัดน้ำยาเคมีเข้าท่อผ่านหัวฉีดที่ฝังไว้โดยรอบอาคารได้ ไม่ต้องฉีดพ่นสารเคมีบริเวณบ้าน ปลอดภัยต่อผู้อาศัยและสัตว์เลี้ยง

ข้อเสีย : ต้องวางระบบไว้ตั้งแต่ตอนสร้างบ้านเท่านั้น ยากลำบากต่อการติดตั้ง  ข้อเสียที่สำคัญ คือ ระบบนี้มีความเสี่ยง คือหากไม่ทำการวางท่ออย่างรอบคอบพิถีพิถันพอ ก็จะทำให้ปลายท่อน้ำยาเดินทางไปไม่ทั่วถึงทุกบริเวณบ้าน หรือทางออกของน้ำยาอาจเกิดการอุดตันได้ จึงส่งผลให้ไม่สามารถกำจัดปลวกได้หายขาดได้ครอบคลุมทั่วทุกบริเวณ รังปลวกจึงไม่อาจล่มสลายไปได้อย่างแท้จริงแต่ ในขณะเดียวกันปัญหาข้อต่อระหว่างท่อ การอุดตัน แรงอัดน้ำยา และการไหลซึมของน้ำยาใต้ดินส่งผลต่อประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดปลวก ทั้งยังจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์จำนวนมาก จึงยากลำบากต่อการติดตั้ง

 

 

2. ระบบเจาะพื้นเพื่ออัดฉีดน้ำยา (Soil System)

ระบบเจาะพื้นเพื่ออัดฉีดน้ำยา เป็นวิธีป้องกันปลวก กำจัดปลวกด้วยการฉีดพ่นสารเคมีมีฤทธิ์ตกค้างยาวนานที่สุดลงใต้พื้นบ้าน เจาะพื้นตามแนวคานทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ดินเป็นพิษ ปลวกจึงไม่สามารถอาศัย ดำรงชีวิตอยู่ได้ สุดท้ายก็ตายลงในที่สุด

ข้อดี : เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ สามารถกำจัดปลวกได้จริง  สามารถกำหนดจุดที่ต้องการอัดสารเคมีฆ่าปลวกได้ เหมาะสำหรับบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว

ข้อเสีย : สารเคมีในดินอาจไม่สามารถกำจัดปลวกได้อย่างถาวร  ต้องอาศัยการอัดน้ำยาหลายครั้งกว่าจะกำจัดปลวกได้หมด ซึ่งขึ้นอยู่กับความเป็นกรดด่างและความชื้นในดิน มีการเจาะพื้นจึงอาจสร้างความเสียหายแก่บ้าน และมีข้อจำกัดด้านความถี่ของรูที่เจาะ หากเจาะรูได้ไม่มากพอ สารเคมีก็จะไม่สามารถแพร่กระจายได้ทั่วถึง ทำให้ไม่สามารถกำจัดปลวกได้หายขาดจริง เนื่องด้วยมีการใช้สารเคมี จึงอาจตกค้างใต้พื้นบ้าน รวมถึงกลิ่นไม่พึงประสงค์ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ 

 

3. ระบบวางเหยื่อ (Sentricon System) 

การกำจัดปลวกด้วยระบบวางเหยื่อ เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดในการกำจัดแมลง กำลังได้รับความนิยมสูงมากในประเทศไทย และมีประสิทธิภาพในการกำจัดปลวกสูงมาก วิธีการคือวางเหยื่อโดยอาศัยความรู้ทางด้านพฤติกรรมการออกหาอาหารของปลวก ฝังเหยื่อตามจุดต่าง ๆ ที่คาดว่าปลวกจะใช้เส้นทางนี้ผ่านการออกหาอาหารภายในบ้านและรอบตัวบ้าน เหยื่อที่ใช้ล่อประกอบด้วยอาหารที่ปลวกชอบและสารเคมีที่มีคุณสมบัติในการกำจัดปลวก เป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโตของปลวก ยับยั้งไม่ให้ปลวกลอกคราบได้ เมื่อปลวกกินเหยื่อเข้าไป จะส่งผลทำให้ปลวกค่อย ๆ ตายยกรังในที่สุด

ข้อดี : ระบบวางเหยื่อมีประสิทธิภาพมาก สามารถกำจัดปลวกได้แบบยกรัง มีความปลอดภัยสูง ไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เลี้ยง ไม่ต้องกังวลกับเรื่องกลิ่นของสารเคมีที่จะตกค้างภายในบ้าน ไม่มีการเจาะพื้นบ้านซึ่งทำให้บ้านไม่เกิดความเสียหาย

ข้อเสีย : ราคาค่อนข้างสูงกว่าระบบอื่น ๆ ค่าใช้จ่ายอาจจะสูงมากกว่าอีก 2 ระบบ ไม่สามารถกำจัดปลวกไม้แห้งได้ ใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานค่อนข้างนาน ขึ้นอยู่กับขนาดของรังปลวก และมีความเสี่ยงที่ปลวกอาจไม่เดินเข้าสู่เส้นทางการวางเหยื่อที่คาดการณ์ไว้

 

3 ระบบกำจัดปลวกที่ทาง VG แนะนำในวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น ระบบวางท่อ (Pipe System) ระบบเจาะพื้นเพื่ออัดฉีดน้ำยา (Soil System) และ ระบบวางเหยื่อ (Sentricon System)  ล้วนมีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันออกไป หากคุณเจ้าของบ้านกำลังมองหาวิธีกำจัดปลวก สามารถเลือกใช้ได้ทั้ง 3 วิธี โดยสามารถคำนึงถึงข้อดี ข้อเสีย ระบบที่ตนเองกำลังตัดสินใจเลือกใช้ ราคาในระบบกำจัดปลวกแต่ละแบบ และปัจจัยอื่น ๆ แต่ที่แน่ ๆ ถ้ารู้ว่ามีปลวกอาศัยภายในตัวบ้านหรือรอบบ้าน ควรจัดการให้สิ้นซาก ก่อนที่ปัญหาเล็ก ๆ จะสร้างปัญหาใหญ่ตามมาในภายหลัง

 

ขอบคุณข้อมูล : Greenhome-pest.com

                          M FACTORS


บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

Blog - 4 สเต็ปเริ่มต้น ก่อนตัดสินใจติดรางน้ำฝนให้บ้าน

ติดรางน้ำฝน คือหนึ่งในแผนต่อเติมบ้านยอดฮิตช่วงหน้าฝน ไม่ว่าจะปัญหาน้ำรั่วซึม, สวนพัง, เสียงดัง หรือบ้านทรุด รางน้ำฝนสามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ แต่พออยากจะติดตั้งเข้าจริงๆ ก็ไม่รู้จะเริ่มจากอะไรก่อนดี งั้นลองมาเริ่มด้วย 4 สเต็ปเริ่มต้นฉบับมือใหม่ ก่อนตัดสินใจติดรางน้ำฝนให้บ้านกันเถอะ
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

10 วิธี ทำแล้ว ประหยัดไฟได้แน่

ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิกฤติโควิดในขณะนี้ เปลี่ยนวิถีการชีวิตของใครหลายคนให้เข้าสู่โหมด New normal หนึ่งในนั้นคือเรื่องชีวิตการทำงานของพนักงานสายออฟฟิศ โดยมีการปรับเปลี่ยนการทำงานจากทำงานที่ออฟฟิศมา Work from Home ที่บ้านแทน เมื่อต้องทำงานที่บ้าน ค่าใช้จ่ายทั้งค่าน้ำและค่าไฟก็ขึ้นไปตามๆ กัน 
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

7 สาเหตุของปัญหาหลังคารั่ว เกิดจากอะไร วิธีแก้ไขปัญหา

ปัญหาหลังคารั่วซึมเป็นปัญหากวนใจ ที่บ้านไหนพบเจอจะรู้สึกหงุดหงิด กระวนกระวายใจ อยู่ไม่เป็นสุข ยิ่งเวลาฝนตก น้ำหยดลงมาภายในตัวบ้านยิ่งน่ารำคาญเข้าไปใหญ่ นอกจากความน่ารำคาญแล้ว การที่หลังคารั่วแล้วน้ำหยดลงมาไม่หยุดสามารถสร้างความเสียหายทั้งแก่ตัวบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในบ้าน หากเจอปัญหาหลังคารั่วควรรีบแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด ก่อนที่ปัญหาที่ดูธรรมดา จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่ธรรมดาอีกต่อไป
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

ทำไมถึงต้องเลือกใช้รางน้ำฝนไวนิล VG

รางน้ำฝนเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับตัวบ้าน คนไทยหลายคนยังไม่เข้าใจถึงเหตุผลว่าทำไมต้องติดตั้งรางน้ำฝน แต่ต้องบอกเลยนะครับว่ารางน้ำฝนมีข้อดีหลายอย่าง เช่น ป้องกันไม่ให้บ้านทรุด ป้องกันผนังบ้านสกปรก ผนังเป็นเชื้อรา ป้องกันปัญหากับเพื่อนบ้าน ป้องกันสวนหรือต้นไม้ และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงบ้าน ฯลฯ รู้อย่างนี้แล้ว คุณเจ้าของบ้านจึงควรรีบติดตั้งรางน้ำฝนเอาไว้ปกป้องบ้านด่วน ๆ เลยครับ ซึ่งรางน้ำฝนที่เราแนะนำให้ติดตั้งคู่บ้าน คือ รางน้ำไวนิล VG มีข้อดีอย่างไรบ้าง ทำไมต้องเลือกใช้ อ่านบทความนี้แล้วจะช่วยให้คุณตัดสินใจง่ายขึ้นครับ
Inbox
Call
Line