fbpx
รางน้ำไวนิล

สร้างบ้านต้องรู้! ใบอนุญาตก่อสร้าง เอกสารที่ต้องยื่นมีอะไรบ้าง ?

    การก่อสร้างบ้านหรืออาคารต้องได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างจากสำนักงานเขตท้องถิ่นก่อน จึงจะเริ่มขั้นตอนก่อสร้างได้ ซึ่งหลาย ๆคนยังไม่รู้ ทำให้อาจประสบปัญหาตามมาทีหลัง ทั้งต้องเสียค่าปรับ ติดคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ หนักสุดถึงขั้นต้องทุบบ้านหรืออาคารทิ้งได้เลยทีเดียว วันนี้ VG เลยมาบอกเล่าเรื่องราวขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้านหรืออาคารว่ามีเอกสาร ขั้นตอนการยื่นเรื่องอย่างไรบ้าง

ใบขออนุญาตก่อสร้างอาคารคืออะไร?

เอกสาร หลักฐานต่าง ๆ ที่ต้องยื่นก่อนก่อสร้างบ้าน อาคาร เพื่อขออนุญาตก่อสร้างบ้านโดยต้องถูกหลักกฎหมายที่บัญญัติไว้ ซึ่งการก่อสร้างบ้าน อาคาร มีกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนจึงต้องยื่นเรื่องเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานความแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร ระยะห่างจากถนน ระยะห่างจากตัวบ้านของเพื่อนบ้าน รวมถึงการเว้นระยะห่างจากชุมชนรอบข้าง  เพื่อความปลอดภัยของเจ้าของบ้านและเพื่อนบ้านละแวกข้าง หากไม่ยื่นขออนุญาตก่อนก่อสร้างจะถือว่าผิดกฎหมาย และอาจมีปัญหาใหญ่โตตามมาทีหลังได้

ทำไมต้องยื่นใบขออนุญาต

เพื่อความปลอดภัยของเจ้าของบ้านและผู้อื่นที่อาศัยอยู่ละแวกรอบข้าง ลองนึกภาพดูว่าหากปล่อยให้ทุกคนสร้างบ้านตามอำเภอใจ ใครอยากสร้างแบบไหนก็สร้าง ทำอะไรก็ทำ ใช้อะไรสร้างก็ได้ ออกแบบตามใจชอบ โดยไม่มีการตรวจสอบใด ๆ เลย ปัญหาที่ตามมาคือความไม่ปลอดภัยในชีวิต อันตรายจากสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงการปลูกสร้างบ้านและอาคารที่รุกล้ำพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ของเพื่อนบ้านก็จะทำให้เกิดปัญหาข้อพิพาทกันใหญ่โตตามมาทีหลัง

 

 

  ถ้าไม่ยื่นใบขออนุญาตก่อสร้าง จะเกิดอะไรขึ้น ?

         หากไม่ยื่นใบขออนุญาตก่อสร้าง ก่อนสร้างบ้านหรืออาคาร จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายแห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522  โดยต้องรับโทษตั้งแต่ปรับเงิน จำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ แล้วแต่กรณี เช่น ใครที่ฝ่าฝืนทำการก่อสร้างหรือใช้อาคารหรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีโทษโดยต้องจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   

      นอกจากนี้ยังต้องระวางโทษปรับรายวันอีก วันละไม่เกิน 1 หมื่นบาท ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน จนกว่าจะทำให้ถูกหลักกฎหมาย และหากอาคารที่ฝ่าฝืนเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา การสาธารณสุข ฯลฯ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่า

ขั้นตอนการยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้าน

  1. ขั้นตอนแรก เริ่มต้นจากการยื่นคำร้องขออนุญาตก่อสร้างบ้านหรืออาคารที่สำนักงานเขตท้องถิ่นพื้นที่ที่ตนอาศัยอยู่ เช่น สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สำนักงานเขตห้วยขวาง สำนักงานเขตวัฒนา สำนักงานเขตวังทองหลาง เป็นต้น ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ของจังหวัดนั้น ๆ
  2. จ้าพนักงานประจำสำนักงานเขตท้องถิ่น จะตรวจสอบแบบแปลน โดยเฉพาะในเขตที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมืองบ้านหรืออาคาร สิ่งปลูกสร้างทุกประเภทจะต้องได้รับอนุญาตก่อสร้างบ้านก่อน และจะต้องก่อสร้างตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต
  3. เมื่อมีการตรวจสอบคำร้อง แบบแปลน และเอกสารต่าง ๆ แล้ว จะได้รับหนังสืออนุญาตให้ก่อสร้าง กรณีที่ไม่ได้รับอนุญาต อาจจะมีการตกหล่นของเอกสารหรือให้แก้ไขรายละเอียดบางอย่าง ก็ต้องดำเนินการแก้ไข แล้วยื่นเอกสารขออนุญาตใหม่อีกครั้ง
  4. เมื่อได้รับใบอนุญาตก่อสร้างแล้ว นอกจากเอกสารฉบับจริงก็ควรทำสำเนาเก็บไว้ที่ตัวเอง ให้สถาปนิก วิศวกร หรือบริษัทรับสร้างบ้าน และเผื่อไว้ในกรณีสูญหาย เอกสารชำรุด แล้วจึงดำเนินการก่อสร้างบ้านเป็นลำดับต่อไป

เอกสารที่ต้องยื่นมีอะไรบ้าง

– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด

– สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด

– แบบก่อสร้างแผนผังและรายการประกอบแบบ อย่างละ 5 ชุด

– สำเนาโฉนดที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง จำนวน 1 ชุด (หรือเอกสารสิทธิ์อื่น ๆ)

– สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท วัตถุประสงค์ ผู้มีอำนาจลงชื่อแทน นิติบุคคล ที่ขออนุญาตที่

ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน

    หมายเหตุ: จำนวนชุดของเอกสาร จะต้องสอบถามข้อมูลอัปเดตจากสำนักงานเขตท้องถิ่นที่จะยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้าน

 

 

หลักฐานที่เกี่ยวข้องเฉพาะเรื่อง

หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดิน (กรณีผู้ขออนุญาตไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน)

– หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดผนัง (กรณีใช้ผนังร่วมกัน)

– หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน (กรณีชิดเขตที่ดินข้างเคียง)

– สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียง

– สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียง

– หนังสือรับรองของสถาปนิกและใบควบคุมงานของสถาปนิก

– หนังสือรับรองของวิศวกรและใบควบคุมงานของวิศวกร

– รายการคำนวณ 1 ชุด (กรณีส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและทนไฟเป็นส่วนใหญ่ หรืออาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ)

ระยะเวลาในการพิจารณาในกรณีทั่วไป

  1. อาคารพักอาศัยไม่เกิน 2 ชั้น ใช้เวลาในการพิจารณาไม่เกิน 20 วัน ไม่รวมระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน
  2. อาคารพาณิชย์ อาคารขนาดใหญ่ อาคารประเภทควบคุมการใช้ ใช้เวลาในการพิจารณา 33 วัน (ไม่รวม

ระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน)

   ยกเว้นในกรณีที่มีข้อขัดข้อง จะใช้เวลาพิจารณาตามที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 

ใบอนุญาตก่อสร้างบ้านถือได้ว่าเป็นเอกสารที่สำคัญมาก ๆ เลยนะครับ ถ้าไม่ยื่นใบขออนุญาตจะไม่สามารถเริ่มปลูกสร้างบ้านได้ เพราะถือว่าผิดกฎหมาย ดังนั้นคุณเจ้าของบ้านควรจะดำเนินเรื่องตามขั้นตอนให้เรียบร้อยก่อน เพื่อป้องกันปัญหาตามมาทีหลัง กันไว้ดีกว่าแก้ เดี๋ยวแย่แล้วจะแก้ไม่ทันกันนะครับ สำหรับใครที่กำลังสร้างบ้านอยู่ ถ้ายังหาหลังคาดี ๆ ติดตั้งให้บ้าน แก้ปัญหาบ้านร้อน เสียงดัง ไร้ปัญหารั่วซึม แนะนำหลังคาไวนิล VG ติดตั้งหลังวันนี้มีหลังคาดี ๆ ใช้ยาวนานถึง 15 ปี สนใจติดตั้งหลังคาไวนิล รางน้ำไวนิล ระแนงไวนิล ติดต่อ VG นะครับ

 

อ้างอิงข้อมูล

ขออนุญาตก่อสร้างบ้าน 4 ขั้นตอน และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง| DDproperty.com

ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร เอกสารที่เจ้าของบ้านต้องรู้ (baania.com)

การยื่นขออณุญาตก่อสร้างต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? ทำอย่างไรบ้าง? – CEALECT ซีเล็ค

 


บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

วิธีกำจัดแมลงสาบในบ้าน คนกลัวแมลงสาบต้องทำ ช่วยได้จริง!

แมลงสาบ เป็นแมลงตัวเล็กที่หลายคนขยะแขยง เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์อยู่มานานกว่า 250 ล้านปี แถมยังมีมากกว่า 4,000 ชนิด นอกจากแมลงสาบจะสร้างความรำคาญแล้ว ยังเป็นสัตว์ที่นำความสกปรกและเชื้อโรคอีกด้วย แมลงสาบเป็นพาหะนำโรคที่อันตรายมาก ๆ แค่สัมผัสคุณก็อาจป่วยได้ หลายคนกลัว แค่เห็นก็ยี้ ไม่กล้ามอง ไม่กล้าเข้าใกล้ แต่ไม่ว่าจะพยายามหลีกหนีจากมันเท่าไหร่ กลับต้องได้พบได้เจอในบ้าน คอนโด ที่พักอาศัย วันนี้ VG ขอเอาใจสายยี้แมลงสาบ แค่เห็นก็จะเป็นลม ด้วยวิธีกำจัดแมลงสาบ ทำแล้วช่วยได้จริง แน่นอน!
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

เทคนิคเลือกสีรางน้ำฝนให้เข้ากับบ้าน เพิ่มเสน่ห์ให้ตัวบ้านได้ง่ายๆ

เลือกสีรางน้ำฝนไวนิล VG ให้เหมาะสมกับสไตล์บ้านคุณ เพิ่มความสวยงามและเสน่ห์ให้กับบ้าน พร้อมแนะนำรางน้ำฝนสีขาว, สีดำ, สีเทา, และสีน้ำตาล ให้เหมาะกับทุกสไตล์การตกแต่งบ้าน
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

หลังคากระเบื้องมีกี่ประเภท มีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง

หลังคา เป็นส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของบ้าน ทำหน้าที่ปกป้องดูแลบ้านจาก แดด ฝน ซึ่งในปัจจุบันวัสดุหลังคามีให้เลือกหลากหลายมาก หลังคากระเบื้องก็เป็นวัสดุหลังคาประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงมาก เนื่องจากมีความสวยงามเข้ากับบ้าน และสามารถป้องกันความร้อนได้ดี หลังคากระเบื้องมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันออกไป วันนี้ VG จะพามาเจาะลึกรายละเอียดของหลังคากระเบื้องแต่ละประเภท เพื่อเป็นประโยชน์กับคุณเจ้าของบ้านกันครับ
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

เลือกดินแบบไหนดี ถมที่ก่อนสร้างบ้าน

สิ่งสำคัญที่สุดก่อนเริ่มสร้างบ้าน คือ ดิน ดินเป็นรากฐานสำคัญ เพราะต้องรองรับน้ำหนักทุกส่วนของตัวบ้าน ดังนั้น ก่อนจะเริ่มสร้างบ้านต้องมีการสำรวจที่ดินว่าสามารถสร้างบ้านได้เลยหรือไม่ หรือต้องทำการถมที่ก่อนจึงจะเหมาะกับการสร้างบ้านเป็นลำดับต่อไป การถมที่ดินมีความจำเป็นมากและการเลือกดินให้เหมาะสมก็สำคัญมากเช่นกัน หากเลือกดินไม่เหมาะสมหรือไม่ได้คุณภาพ ก็อาจมีส่วนส่งผลต่อตัวบ้าน บ้านพัง! บ้านทรุด! ซึ่งทำให้เกิดปัญหาใหญ่ วันนี้เราจะมาแนะนำดินที่ใช้ในการถมที่ว่ามีกี่ประเภท แล้วแต่ละประเภทเหมาะสำหรับการนำมาถมที่หรือไม่
Inbox
Call
Line