fbpx
รางน้ำไวนิล

รางน้ำฝนราคาต่างกันเพราะวัสดุ! รู้จัก 5 ประเภทรางน้ำฝนพร้อมราคา

หนึ่งในองค์กรประกอบสำคัญของบ้านยุคนี้ที่แม้จะเป็นส่วนเล็กน้อยแต่มีความสำคัญ คือ รางน้ำฝน ซึ่งมีประโยชน์ต่อบ้านในหลายด้าน ไม่ว่าจะช่วยป้องกันปัญหาดินทรุดจากน้ำขัง ป้องกันต้นไม้และสวนรอบบ้าน ป้องกันไม่ให้คราบน้ำฝนกระเซ็นโดนผนังบ้านหรือบ้านข้างๆ ที่สำคัญคือช่วยรวบรวมน้ำฝนจากหลังคาให้ไหลลงในจุดที่ต้องการ

ปัจจุบันนี้ มีรางน้ำฝนมากมายให้เลือกใช้ไม่ว่าจะเป็นรางน้ำฝนสแตนเลส รางน้ำฝนเหล็กชุบสี หรือรางน้ำฝนไวนิลที่ล้วนมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ท่านใดที่วางแผนติดตั้งรางน้ำฝน แต่ยังไม่แน่ใจว่ารางน้ำฝนราคาต่างกันเท่าไหร่ วันนี้ VG จะพามาทำความรู้จักรางน้ำฝนที่เป็นที่นิยมในตลาด พร้อมราคาของรางน้ำแต่ละชนิด

รู้จักกับรางน้ำฝนยอดนิยมในท้องตลาด

รางน้ำฝนที่พบเห็นได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างหรือผู้จัดจำหน่ายนั้นมีหลายหลากแบบ โดยสามารถแบ่งประเภทวัสดุรางน้ำฝนได้เป็น 2 ลักษณะ คือ วัสดุโลหะและวัสดุสังเคราะห์ ซึ่งมีประเภทแยกย่อยที่เป็นที่นิยม ดังนี้

1. รางน้ำฝนไวนิล uPVC

ท่ามกลางบ้านสมัยใหม่ตามโครงการบ้านจัดสรรไปจนถึงบ้านที่เจ้าของปลูกเอง ไวนิลหรือ uPVC (Unplasticized Polyvinyl Chloride) เป็นประเภทวัสดุที่ได้รับความนิยมสูงมาก รางน้ำฝนชนิดนี้มีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์ได้หลากหลาย อันดับแรกคือ ไม่เป็นสนิมเพราะผลิตจากเทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) ผิวมันเรียบ มีเนื้อเหนียว ทนทานแข็งแรง และมีน้ำหนักเบา ที่สำคัญคือหาซื้อได้สะดวก อีกทั้งรางน้ำฝนไวนิลมีราคาไม่แพง เมื่อเทียบกับวัสดุชนิดอื่น

บางคนอาจเคยเห็นรางน้ำฝน PVC สีฟ้าราคาถูก ซึ่งต้องขอบอกว่า PVC นั้นมีความทนทานน้อยกว่า uPVC เมื่อต้องใช้งานภายนอกเป็นเวลานาน ดังนั้นหากเปรียบความคุ้มค่าแล้ว uPVC นั้นเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า

  • มีสีหลากหลาย สามารถเลือกให้เข้ากับสไตล์บ้านหรือเชิงชายได้ตามต้องการ
  • รางน้ำฝนไวนิล uPVC ผลิตแบบสำเร็จรูป หาซื้อได้สะดวกและติดตั้งได้ง่ายดาย
  • รางน้ำฝนไวนิลทั่วไปมีราคาประมาณ 600-900 บาท/เมตร
  • อายุการใช้งานราว 5-10 ปี หรือมากกว่า (ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา)

2. รางน้ำฝนไฟเบอร์กลาส

แต่เดิมที รางน้ำฝนไฟเบอร์กลาสมักใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม จึงอาจเป็นวัสดุที่คนส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยนัก แต่ก็เป็นวัสดุที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะมีความทนทานสูงมาก เนื่องจากเนื้อวัสดุเป็นเส้นใยแก้วที่เหนียวและแข็งแรง อีกทั้งไม่ทำปฏิกิริยาเคมี ส่งผลให้ไม่เกิดสนิม ไม่เกิดการกัดกร่อนใดๆ บนตัวรางน้ำ ผิวมันเรียบ มีหลากหลายสีให้เลือก แต่คุณสมบัติที่ครบครันนี้ก็แลกมาด้วยราคาต่อเมตรที่สูงกว่าวัสดุประเภทอื่นๆ เช่นกัน

  • ต้องอาศัยช่างผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง เนื่องจากต้องใช้เทคนิคและอุปกรณ์เฉพาะในการเชื่อมรางน้ำฝน
  • หาซื้อตามท้องตลาดได้ยากกว่า ไม่ได้มีการผลิตแบบสำเร็จรูป ต้องวัดพื้นที่ก่อนติดตั้ง 
  • รางน้ำฝนไฟเบอร์กลาสมีราคาประมาณ 900-1,000 บาท/เมตร
  • อายุการใช้งานราว 10-20 ปี ซึ่งถือว่ายาวนานเป็นอันดับต้นๆ

3. รางน้ำฝนสังกะสี

เชื่อว่ารางน้ำฝนสังกะสีเป็นประเภทรางน้ำที่พบเห็นได้บ่อยๆ ตามอาคาร โรงงาน หรือบ้านเรือนที่ก่อสร้างมานาน เนื่องจากเป็นรางน้ำฝนราคาถูกและติดตั้งง่าย ทำให้เป็นที่นิยมในสมัยก่อนนั้นเอง รางน้ำฝนสังกะสีถือเป็นตัวเลือกสำหรับผู้ที่มีงบจำกัด เพราะเนื้อวัสดุเป็นสังกะสีที่ค่อนข้างบาง จึงเสี่ยงต่อการเกิดสนิมหรือผุกร่อนได้ง่าย เหมาะสำหรับการติดตั้งชั่วคราวมากกว่า

  • วัสดุเป็นแผ่นสังกะสี มีสีเงินของโลหะ และไม่สามารถชุบหรือทาสีได้
  • หาซื้อตามท้องตลาดได้ง่าย แต่ไม่ได้ผลิตแบบสำเร็จรูป จึงต้องอาศัยการเชื่อมเหล็ก
  • รางน้ำฝนสังกะสีราคาประมาณ 300 - 400 บาท/เมตร ถือว่าถูกที่สุดในหมู่วัสดุรางน้ำ
  • อายุการใช้งานราว 5 - 10 ปี แต่อาจเสี่ยงต่อการเกิดสนิมหรือเป็นรูรั่ว

4. รางน้ำฝนเหล็กชุบสี

เหล็กชุบสีหรือเคลือบสีถือเป็นวัสดุรางน้ำที่มีความแข็งแรงทนทานสูง พื้นผิวมีความเงาสวยงามและมีสีต่างๆ ให้เลือก เนื่องจากผ่านกระบวนการชุบสีจากภายในโรงงานผลิต อีกทั้งเป็นรางน้ำสำเร็จรูปสามารถนำมาเชื่อมประกอบได้สะดวก นอกจากนี้ ผู้ผลิตบางรายอาจมีการชุบกัลวาไนซ์หรือเคลือบอลูซิงค์ หากใครชื่นชอบรางน้ำฝนราคาถูกที่เป็นโลหะและมีสีสันสวยงาม รางน้ำฝนเหล็กชุบสีก็เป็นหนึ่งตัวเลือกที่ตอบโจทย์ได้ดี

  • วัสดุเป็นเหล็กชุบสี มีลักษณะมันวาว สามารถเลือกสีให้เข้ากับการตกแต่งภายนอกได้
  • แข็งแรงทนทานต่อแรงกระแทกสูง ทนต่อสภาพอากาศแปรปรวน
  • ราคารางน้ำฝนเหล็กชุบสีมีราคาประมาณ 900-1,400 บาท
  • อายุการใช้งานราว 5 - 10 ปี อาจเสี่ยงต่อการเกิดสนิมหากสีเคลือบหลุดล่อน

5. รางน้ำฝนสแตนเลส

รางน้ำฝนที่ทำจากเหล็กสแตนเลสนั้นเป็นที่นิยมในท้องตลาดสูง เนื่องจากมีความทนทานสูง และไม่เกิดสนิม อีกทั้งมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน สแตนเลสที่นิยมใช้ทำรางน้ำฝนมีด้วยกัน 2 เกรด ได้แก่ สแตนเลส 201 ที่มีความเบาและบาง ซึ่งเป็นตัวเลือกรางน้ำฝนราคาถูก แต่ไม่ทนทานมากนัก และเสี่ยงเกิดสนิมอีกด้วย ส่วนอีกเกรดหนึ่งคือ สแตนเลส 304 ที่หนา แข็งแรง และไม่เกิดสนิม มักผลิตในรูปแบบรางน้ำฝน 8 นิ้ว ราคาปานกลาง จึงนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หากท่านใดที่ต้องการรางน้ำที่คงทน ใช้งานยาวนาน และไม่เน้นความสวยงามมากนัก รางน้ำฝนสแตนเลสในเกรด 304 ถือว่าตอบโจทย์

  • เหล็กสแตนเลส มีลักษณะมันวาว สีเงิน ซึ่งไม่แนะนำให้ทาสีทับ เพราะเป็นการทำให้คุณสมบัติความทนทานลดลง
  • มีความแข็งแรงสูง ทนต่อความร้อนและแรงกระแทก
  • ควรระวังปัญหารั่วซึมจากการรอยต่อ ควรให้ช่างผู้เชี่ยวชาญติดตั้งรางน้ำ
  • รางน้ำฝนสแตนเลสราคาประมาณ 400 - 500 บาท/เมตร 
  • มีอายุการใช้งานได้นานถึง 20 ปี (ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและทำความสะอาด)

รางน้ำฝนทั้งหมดที่แนะนำมานี้เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมสำหรับนำมาผลิตรางน้ำฝนในปัจจุบัน ทั้งนี้ ยังมีรางน้ำฝนอีกหลากหลายรูปแบบ ซึ่งบางรุ่นอาจมีคุณสมบัติหรือเทคโนโลยีเฉพาะที่ช่วยยกระดับคุณภาพรางน้ำให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม อย่างรางน้ำฝนไวนิล iR-uPVC จาก VG

รางน้ำฝนไวนิล iR-uPVC เทคโนโลยีเฉพาะของ VG

รางน้ำฝนราคา

นวัตกรรม iR-uPVC คือ พลาสติกคุณสมบัติพิเศษ จากการใช้ส่วนผสมเคมีภัณฑ์คุณภาพชั้นนำระดับโลก โดยเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของ VG และผ่านการผลิตจากเครื่องจักรที่ทันสมัย ด้วยคุณสมบัติที่ตอบโจทย์การใช้งานในทุกด้าน ทั้งความทนทานต่อทุกสภาพอากาศ มีความยืดหยุ่นสูง ไม่แตกหักง่าย ไม่เกิดสนิม และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 15 ปี พร้อมด้วยคุณสมบัติการปกป้องวัสดุที่ให้มากกว่าถึง 2 ชั้น

  • ชั้นที่ 1 การปกป้องภายนอก (Outer Layer) ด้วยการเคลือบพิเศษด้วยสี Dupont สีจากแบรนด์ชั้นนำระดับโลก มีคุณสมบัติ Infrared Reflective ที่สามารถสะท้อนรังสี UV จากแสงแดดได้มากถึง 3 เท่า จึงไม่ทำให้เกิดสนิม ทั้งยังลดปัญหาอากาศร้อนบริเวณใต้ชายคาและช่วยลดความร้อนให้กับตัวบ้านได้อีกด้วย
  • ชั้นที่ 2 การปกป้องภายใน (Inner Layer) ด้วยคุณสมบัติที่เน้นความแข็งแรงทางโครงสร้าง ความทนทานและมีความยืดหยุ่นสูง เมื่อกระทบกับน้ำและสภาพอากาศต่างๆ อยู่ตลอดเวลา จึงไม่เกิดการผุกร่อนหรือแตกหักได้ง่าย ช่วยให้คงสภาพรางน้ำได้ตลอดการใช้งาน สามารถยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น

มั่นใจมากกว่าเดิมด้วยการผ่านการทดสอบ Weather Testing จากประเทศเยอรมัน รับรองว่าสามารถตอบโจทย์สภาพอากาศเมืองไทยที่ทั้งร้อนชื้น และมักเกิดพายุหรือฝนตกชุกอยู่บ่อยครั้ง ระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันผนังและสวนต้นไม้ไม่ให้เกิดความเสียหายจากน้ำฝนได้แน่นอน

โดยรางน้ำไวนิลจาก VG มีราคาเริ่มต้นที่ 650 บาทต่อเมตร ซึ่งถือว่าเป็นรางน้ำฝนราคาคุ้มค่าที่สุดกับคุณสมบัติและข้อดีที่ได้มา

สุดท้ายนี้ รางน้ำ VG ยังตอบโจทย์เรื่องดีไซน์ มีให้เลือกถึง 3 รุ่น 3 สไตล์ คือ รุ่น PRIMO รุ่น FIRST R2 และรุ่น EZY

หากสนใจรางน้ำ VG สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

สามารถสอบถามราคารางน้ำฝน และปรึกษา VG ผ่านช่องทางต่างๆ ด้านล่าง

โทร.: 087-654-7788, 080-744-7799, 063-271-7711 (ENG)

อีเมล: info@mycnpgroup.com

LINA OA: @vg-cnp

Facebook: VG รางน้ำและหลังคาไวนิล


บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

รางน้ำฝนแบบไหนทนสุด? เปรียบเทียบวัสดุ เลือกแบบไหนให้เหมาะกับบ้านคุณ

เมื่อพูดถึงการดูแลบ้าน หลายคนอาจมองข้ามความสำคัญของรางน้ำฝน แต่แท้จริงแล้ว รางระบายน้ำฝนเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยปกป้องบ้านของคุณจากความเสียหายที่อาจเกิดจากน้ำฝน
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

กันก่อนแก้! ติดตั้งรางน้ำฝนอย่างไร ไม่ให้มีปัญหากับเพื่อนบ้าน

อยากจะติดตั้งรางน้ำฝน แต่ก็เคยได้ยินว่าหลายคนมีปัญหากับเพื่อนบ้าน ควรติดตั้งรางน้ำฝนอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาขึ้น มาหาคำตอบกันในบทความนี้กับ VG
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

เลือกบริการติดตั้งรางน้ำฝนอย่างไร ให้ตอบโจทย์และคุ้มค่ามากที่สุด

“รางน้ำฝน” ถือเป็นอีกอุปกรณ์สำคัญที่ทุกบ้านควรทำการติดตั้งเพื่อสร้างเส้นทางน้ำไหลบนหลังคาในระหว่างที่ฝนกำลังตกให้ชัดเจน ไม่มีปัญหาความเดือดร้อนของทั้งตัวบ้าน พื้นดิน และเพื่อนบ้านโดยรอบ แต่เหนือสิ่งอื่นใดสำหรับคนที่ต้องการติดตั้งรางน้ำฝน ต้องเลือกผู้ให้บริการอย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มความมั่นใจถึงผลงานที่ออกมาเป็นไปตามคาดหวัง คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายออกไปทุกบาท ลองมาดูว่าวิธีช่วยเลือกบริการติดตั้งรางน้ำที่ดีเป็นอย่างไรบ้าง
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

ระบบกำจัดปลวกมีกี่แบบ มีข้อดี - ข้อเสีย อย่างไรบ้าง

ปลวก แมลงตัวเล็ก ๆ แต่สามารถสร้างบ้านปัญหาใหญ่ให้บ้านได้ ทั้งกัดกินเฟอร์นิเจอร์ ข้าวของต่าง ๆ ภายในบ้าน หนักสุดถึงขั้งทำรังอยู่ใต้บ้าน กัดกินบ้านได้ทั้งหลัง ทำให้บ้านเสียหาย ทรุดตัวได้ โดยเฉพาะส่วนไหนของบ้านที่เป็นไม้ ต้องระวังปลวกเอาไว้ให้ดี วันนี้ VG ขอพูดถึงระบบกำจัดปลวกที่นิยมใช้กันในประเทศไทย ว่ามีทั้งหมดกี่แบบ แต่ละแบบมีข้อดี ข้อเสีย อย่างไรบ้าง เพื่อให้คุณเจ้าของบ้านพิจารณาและเลือกใช้ได้อย่างตรงใจ
Inbox
Call
Line