fbpx
รางน้ำไวนิล

แชร์ 4 เคล็ดลับ การดูแลหลังติดตั้งรางน้ำฝน ฝนแรงแค่ไหนก็เอาอยู่!

ประเทศไทยเข้าสู่หน้าฝนอย่างเต็มตัวแล้ว เชื่อว่าใครๆ คงปวดหัวกับการรับมือกับฝนตกหนัก แต่หลายคนอาจยังไม่รู้จักหนึ่งไอเท็มที่จะช่วยให้ไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำฝน คือ “รางน้ำฝน” นั่นเอง เพราะการติดตั้งรางน้ำฝนมีบทบาทสำคัญในช่วงฤดูฝนอย่างมาก

รางน้ำฝน คือ อุปกรณ์สำหรับรองรับน้ำฝนที่ไหลลงจากหลังคา เพื่อลำเลียงและระบายน้ำฝนลงสู่ท่อน้ำทิ้งหรือบริเวณที่กำหนด ป้องกันไม่ให้โครงสร้างพื้นฐานของบ้าน เช่น ฐานรากหรือผนังไม่ให้สัมผัสกับน้ำฝนโดยตรง หรือเกิดปัญหาน้ำฝนกระเด็นเข้าสู่ต้นไม้ หรือบริเวณพื้นที่ของเพื่อนบ้าน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม รับมือฤดูฝนนี้ และทุกเมื่อที่เกิดฝนตก

อย่างไรก็ตาม การติดตั้งรางน้ำให้กับตัวบ้านควรทำควบคู่ไปกับการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม ดังนั้น ในบทความนี้ VG ขอแนะนำวิธีดูแลบำรุงรักษารางน้ำฝนหลังการติดตั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าหลังการติดตั้งรางน้ำฝนแล้ว รางน้ำฝนจะสามารถอยู่คู่บ้านไปอีกนาน จะมีวิธีอะไรบ้าง อ่านต่อกันเลย!

แชร์ 4 เคล็ดลับ ดูแลรักษาหลังติดตั้งรางน้ำฝน

1. การทำความสะอาดสม่ำเสมอ

สิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการบำรุงรักษารางน้ำ คือ การทำความสะอาดรางน้ำฝนอย่างสม่ำเสมอ เพราะเมื่อเวลาผ่านไป ใบไม้ กิ่งไม้ และเศษขยะต่างๆ จะสะสมอยู่ในรางน้ำ ส่งผลให้เกิดการอุดตันและขัดขวางการระบายของน้ำฝน ซึ่งพอรางน้ำล้นอาจทำให้มีน้ำซึมเข้าไปในบริเวณในเชิงชายและฝ้า ทำให้บ้านเสียหาย หรืออาจจะกระเซ็นไปโดนบ้านข้างๆ ก็จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องเสียทั้งเงินและเวลาในการแก้ไขปัญหา ดังนั้น การเริ่มต้นวางแผนทำความสะอาดรางน้ำให้เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงที่ต้นไม้ในบ้านมีการผลัดใบ ก็เป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่ควรจดเอาไว้ให้แม่น หากต้องการดูแลรักษารางน้ำของบ้านให้ใช้งานได้ไปนานๆ 

2. ทดสอบประสิทธิภาพหลังการติดตั้งรางน้ำฝนทันที

ข้อควรระวังสำคัญอย่างของคนที่กำลังวางแผนติดตั้งรางน้ำฝน คือ หลังการติดตั้งแล้ว ต้องไม่ลืมที่จะทดสอบประสิทธิภาพของรางน้ำฝน ว่าสามารถใช้งานได้ดีหรือไม่ อาจจะทดลองฉีดน้ำด้วยความแรง เพื่อดูว่ามีรอยรั่วซึมเกิดขึ้นหรือไม่ รวมไปถึงประสิทธิภาพการระบายน้ำ เพื่อเป็นการป้องกันก่อนและแก้ไขอย่างทันท่วงทีหากมีปัญหาเกิดขึ้น

3. ติดตั้ง Gutter Guard ป้องกันเศษใบไม้ และสิ่งอุดตันการระบายน้ำ

การติดตั้ง Gutter Guard หรือ Leaf Guard หรือเรียกง่ายๆ ว่า “ตะแกรงกันใบไม้” เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ทางเลือก ที่มีส่วนช่วยในการบำรุงรักษารางน้ำฝนได้อย่างดี เนื่องจาก ตาข่ายดักจับใบไม้เหล่านี้มีไว้ครอบรางน้ำฝน ป้องกันเศษใบไม้และเศษขยะอื่นๆ ไม่ให้ร่วงหล่นเข้ามาภายในราง ที่อาจจะปิดกั้นการระบายรางน้ำได้ นอกจากนี้ ตะแกรงกันใบไม้สามารถติดตั้งได้สะดวก รวดเร็ว แถมมีราคาเข้าถึงง่าย จึงเป็นหนึ่งองค์ประกอบของรางน้ำที่เจ้าของบ้านไม่ควรพลาด

4. ตรวจสอบรางน้ำฝนเป็นประจำ

การหมั่นตรวจสอบสภาพการใช้งานรางน้ำฝนเป็นเคล็ดลับง่ายๆ ที่หลายคนมักมองข้าม เพราะถึงแม้จะทำความสะอาดรางน้ำฝนสม่ำเสมอ แต่รางน้ำก็ยังมีโอกาสรั่วซึมหรือเกิดความเสียหายขึ้นอย่างไม่คาดฝันได้เช่นกัน โดยเฉพาะตามแนวข้อต่อหรือตะขอรางน้ำ ที่อาจส่งผลให้กระเบื้องเชิงชายหลุดออกมาจากหลังคา หากพบรอยรั่วหรือรอยแตกร้าว เจ้าของบ้านสามารถอุดรอยรั่วชั่วคราวด้วยน้ำยาประสานท่อหรือซิลิโคนเบื้องต้นเอาไว้ก่อน จากนั้นจึงติดต่อช่างที่มีประสบการณ์ให้เข้ามาช่วยตรวจสอบและซ่อมแซมต่อไป

เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับเคล็ดลับที่ได้นำมาฝากกันในครั้งนี้ ในการดูแลรักษารางน้ำ ทำความสะอาด และหมั่นตรวจสอบสภาพการใช้งานเป็นประจำนั้นสำคัญมากๆ  เพราะอย่างที่รู้กันดีว่าสภาพอากาศประเทศไทยนั้นเอาแน่เอานอนไม่ได้ วันก่อนหน้าฝนแล้ง แต่วันนี้อาจจะฟ้าฝนถล่มทลายลงมาก็ได้ ดังนั้นการติดตั้งรางน้ำฝนที่มีคุณภาพและคอยดูแลรักษาให้ใช้งานได้ดีอยู่เสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของบ้านทุกคนควรคำนึงไว้

รางน้ำฝนไวนิล iR-uPVC เทคโนโลยีเฉพาะของ VG

นวัตกรรม iR-uPVC คือ พลาสติกคุณสมบัติพิเศษ จากการใช้ส่วนผสมเคมีภัณฑ์คุณภาพชั้นนำระดับโลก โดยเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของ VG และผ่านการผลิตจากเครื่องจักรที่ทันสมัย ด้วยคุณสมบัติที่ตอบโจทย์การใช้งานในทุกด้าน ทั้งความทนทานต่อทุกสภาพอากาศ มีความยืดหยุ่นสูง ไม่แตกหักง่าย ไม่เกิดสนิม และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 15 ปี พร้อมด้วยคุณสมบัติการปกป้องวัสดุที่ให้มากกว่าถึง 2 ชั้น

  • ชั้นที่ 1 การปกป้องภายนอก (Outer Layer) ด้วยการเคลือบพิเศษด้วยสี Dupont สีจากแบรนด์ชั้นนำระดับโลก มีคุณสมบัติ Infrared Reflective ที่สามารถสะท้อนรังสี UV จากแสงแดดได้มากถึง 3 เท่า จึงไม่ทำให้เกิดสนิม ทั้งยังลดปัญหาอากาศร้อนบริเวณใต้ชายคาและช่วยลดความร้อนให้กับตัวบ้านได้อีกด้วย
  • ชั้นที่ 2 การปกป้องภายใน (Inner Layer) ด้วยคุณสมบัติที่เน้นความแข็งแรงทางโครงสร้าง ความทนทานและมีความยืดหยุ่นสูง เมื่อกระทบกับน้ำและสภาพอากาศต่างๆ อยู่ตลอดเวลา จึงไม่เกิดการผุกร่อนหรือแตกหักได้ง่าย ช่วยให้คงสภาพรางน้ำได้ตลอดการใช้งาน สามารถยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น

มั่นใจมากกว่าเดิมด้วยการผ่านการทดสอบ Weather Testing จากประเทศเยอรมัน รับรองว่าสามารถตอบโจทย์สภาพอากาศเมืองไทยที่ทั้งร้อนชื้น และมักเกิดพายุหรือฝนตกชุกอยู่บ่อยครั้ง ระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันผนังและสวนต้นไม้ไม่ให้เกิดความเสียหายจากน้ำฝนได้แน่นอน

โดยรางน้ำฝนไวนิลจาก VG มีราคาเริ่มต้นที่ 650 บาทต่อเมตร ซึ่งถือว่าเป็นรางน้ำฝนราคาคุ้มค่าที่สุดกับคุณสมบัติและข้อดีที่ได้มา

สุดท้ายนี้ รางน้ำฝน VG ยังตอบโจทย์เรื่องดีไซน์ มีให้เลือกถึง 4 รุ่น 4 สไตล์ คือ EZY, PRIMO, FIRST R2 และรุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง COSMO XL ให้เลือกกันตามการใช้งานและตามความชอบ

หากสนใจรางน้ำ VG สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

สามารถสอบถามราคารางน้ำฝน และปรึกษา VG ผ่านช่องทางต่างๆ ด้านล่าง

โทร.: 087-654-7788

อีเมล: info@mycnpgroup.com

LINA OA: @vg-cnp

Facebook: VG รางน้ำและหลังคาไวนิล


บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

Blog - ฤกษ์สร้างบ้าน 2565 สร้างบ้านเดือนไหนดี VG มีคำตอบ

ฤกษ์สร้างบ้านปี 2565 สร้างบ้านเดือนไหนดี VG มีคำตอบให้คุณเจ้าของบ้าน แบบครบทั้ง 12 เดือน เลือกวันที่ใช่ เอาเวลาที่สะดวก ดูฤกษ์สร้างบ้านไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะได้เตรียมตัวถูก เพราะเรื่องของฤกษ์มีผลต่อโชคชะตา เลือกฤกษ์ดีชีวิตมีแต่คำว่า เฮง เฮง เฮง ตลอดปี 2565 ไปเลยครับ
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

บ้านสมัยใหม่ ทำไมต้องรางน้ำไวนิล? เพราะ 3 เหตุผลนี้ไง!

บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

หลังคาไวนิลยี่ห้อไหนดี ? ควรเลือกแบบไหนที่เหมาะกับบ้านคุณ

การเลือกหลังคาบ้านเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่เพียงเพิ่มความสวยงามให้กับบ้าน แต่ยังมีผลต่อความคงทนปลอดภัย การป้องกันการรั่วซึมของน้ำฝน และการประหยัดพลังงานของบ้านอีกด้วย
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

หลังคากระเบื้องมีกี่ประเภท มีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง

หลังคา เป็นส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของบ้าน ทำหน้าที่ปกป้องดูแลบ้านจาก แดด ฝน ซึ่งในปัจจุบันวัสดุหลังคามีให้เลือกหลากหลายมาก หลังคากระเบื้องก็เป็นวัสดุหลังคาประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงมาก เนื่องจากมีความสวยงามเข้ากับบ้าน และสามารถป้องกันความร้อนได้ดี หลังคากระเบื้องมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันออกไป วันนี้ VG จะพามาเจาะลึกรายละเอียดของหลังคากระเบื้องแต่ละประเภท เพื่อเป็นประโยชน์กับคุณเจ้าของบ้านกันครับ
Inbox
Call
Line