fbpx
รางน้ำไวนิล

Blog - เรื่องควรรู้ก่อนสร้างบ้านนอร์ดิก (Nordic House)

บ้านสไตล์นอร์ดิก

 

แบบบ้านสไตล์นอร์ดิก ได้แรงบันดาลใจจากนอร์ดิก มาประยุกต์ใช้กับการดีไซน์บ้าน ให้เข้ากับประเทศไทย ที่เกิดจากการไหลทางวัฒนธรรม จนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งและได้รับความนิยมจากนักออกแบบชาวไทย เพราะโดดเด่นในด้านความเรียบง่าย มีโทนสีที่สวยงามเป็นธรรมชาติ ที่สำคัญมีการจัดวางภายในที่สมส่วน เหมาะกับการตกแต่งทั้งบ้าน 

บ้านสไตล์นอร์ดิก มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในด้านการวางผังบ้านที่จะต้องโปร่ง โล่ง สบาย มีแสงลอดผ่านอย่างทั่วถึง ที่สำคัญจะมีมุมพักผ่อนอย่างเช่น ชานบ้าน ระเบียง ไม่มีการกั้นผนังแต่ละมุมห้อง เพื่อให้ทางเดินภายในตัวบ้านดูกว้างและสะดวกสบาย

“บ้านสไตล์นอร์ดิก” ที่โดดเด่นทั้งในเรื่องของดีไซน์ที่สวยงาม ความเรียบง่ายสบายตา ที่ตัดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นออก แต่ในขณะเดียวกันก็เน้นการใช้งานได้จริง รวมถึงให้ความสำคัญกับการอยู่อาศัย ด้วยการใช้แสงธรรมชาติ ให้เราสามารถใช้ชีวิตได้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้มากยิ่งขึ้น บ้านสไตล์นอร์ดิก จึงตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของผู้คนยุคใหม่ และสะท้อนตัวตนของผู้อาศัยที่ต้องการชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีได้อย่างลงตัว

แม้บ้านสไตล์นอร์ดิก จะมีดีไซน์ดูสวยงาม เรียบง่าย ปราศจากเส้นสายที่ให้ความรู้สึกรกรุงรัง แต่สำหรับในแง่ของการก่อสร้างนั้นกลับมีองค์ประกอบสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะเมื่อเราต้องการบ้านสไตล์นอร์ดิกที่สวยสมบูรณ์แบบ และสามารถอยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะตามมาภายหลัง  เจ้าของบ้านจำเป็นใส่ใจเป็นพิเศษในเรื่องของบ้านสไตล์นอร์ดิกให้ดีเสียก่อน วันนี้ VG มาแชร์ความรู้ เรื่องควรรู้ก่อนสร้างบ้านนอร์ดิก

 

 

เรื่องควรรู้ก่อนสร้างบ้านนอร์ดิก

1. บ้านนอร์ดิก กับปัญหาความร้อน

บ้านสไตล์นอร์ดิก ต้องเจอกับปัญหาความร้อน เพราะด้วยหลังคาทรงจั่วแบบไร้ชายคา และการใช้กระจกเป็นองค์ประกอบของบ้านค่อนข้างมาก ย่อมส่งผลให้บ้านได้รับความร้อนเข้าสู่ภายในได้มากขึ้น แต่หากวางแผนงานให้ดีตั้งแต่ต้น ปัญหานี้ สามารถแก้ไขได้ด้วยการออกแบบ อาทิ การเลือกทิศทางห้องแต่ละห้องให้เหมาะกับทิศทางแสงแดด อย่างห้องที่โดนแดดมากทางทิศใต้และทิศตะวันตก ควรมีช่องเปิดน้อย ส่วนห้องทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออก สามารถมีช่องกระจกบานใหญ่ได้ เนื่องจากโดนแดดน้อย บ้านที่เลี่ยงทิศทางเปิดไม่ได้ เพราะบังคับด้วยวิวหรือมุมหน้าบ้าน ให้ออกแบบอาคารลักษณะเว้าเข้าไป เพื่อให้จุดเว้าเป็นชายคาโดยอัตโนมัติ

นอกจากการออกแบบแล้ว วัสดุก็มีส่วนสำคัญมาก อย่างการเลือกทำผนังอิฐ 2 ชั้น, เลือกวัสดุมุงหลังคาที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน สะท้อน uv อย่างแผ่นหลังคาไวนิล VG ที่มาพร้อมกับฉนวนกันความร้อน หรือติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาเพิ่ม โดยเฉพาะจุดที่ต้องการทำฝ้าสูงโปร่งตามแนวจั่ว จะต้องเพิ่มคุณสมบัติกันความร้อนมากเป็นพิเศษ หรือหากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการหมุนเวียนอากาศด้วยกลไกธรรมชาติ สามารถใช้ระบบ Active Airflow ที่ติดตั้งบนหลังคาทรงจั่วได้ และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือ ต้นไม้ ช่วยให้บ้านสไตล์นอร์ดิก ดูมีชีวิตชีวา ลดอุณหภูมิร้อนทางสายตาได้เป็นอย่างดี

 

2. บ้านนอร์ดิก ฝนสาด ผนังชื้น

        เสน่ห์ของบ้านนอร์ดิก คือ เส้นสายของหลังคาแบบไร้ชายคา หากใส่กันสาดเข้าไป อาจทำให้เสน่ห์ของบ้านสไตล์นี้ลดลงไปได้ เจ้าของบ้านจึงต้องทำความเข้าใจ เพื่อออกแบบรับมือกับความชื้นบนผนังและฝนสาดให้ได้ตั้งแต่ต้น เช่น จุดพักผ่อนสำคัญอย่างห้องนั่งเล่น ให้ออกแบบด้วยวิธีการร่นผนังเว้าเข้าไป เพื่อให้หลังคาทำหน้าที่เป็นกันสาดไปในตัว ส่วนปัญหาฝนสาดบริเวณหน้าต่างฝั่งที่ไม่มีชายคา จำเป็นต้องเลือกบานหน้าต่างขอบอะลูมิเนียมหรือไวนิล จะช่วยป้องกันน้ำซึมได้ดีกว่าวงกบไม้ ส่วนปัญหาผนังชื้นสามารถป้องกันได้ด้วยการทาสีที่มีคุณสมบัติป้องกันความชื้น ป้องกันเชื้อรา กรณี ต้องการทำเฉลียงพักผ่อน ให้ออกแบบเฉลียงยื่นออกจากตัวบ้าน โดยเลือกใช้หลังคากล่องแบน จะช่วยให้ภาพรวมของบ้านดูเข้ากัน การมีเฉลียงจึงช่วยกันฝนสาดและกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้

 

3. หลังคารั่วซึม

จุดที่หลังคาและผนังเจอกัน เป็นที่อ่อนที่สุดของบ้าน และมีโอกาสรั่วซึมสูงสุดในบ้านสไตล์นี้ แม้ว่าบ้านนอร์ดิก จะมีจั่วสูง แต่ก็อาจเกิดปัญหารั่วซึมบนหลังคาได้ หากขาดการมุงหลังคาที่ดี การรับมือกับปัญหานี้สามารถทำได้ ด้วยการออกแบบความลาดเอียงของหลังคาให้เหมาะสมกับวัสดุหลังคานั้นๆ เช่น แผ่นหลังคาไวนิล VG มีระบบล็อคแน่นหนา และ รองรับองศาความลาดชันต่ำมากๆ จึงช่วยให้การระบายน้ำทำได้ดีขึ้น ควรออกแบบให้หลังคาให้มีความชันที่ 30-35 องศา จะช่วยลดปัญหารั่วซึมและปัญหาน้ำไหลย้อนได้

อีกจุดที่ต้องใส่ใจกับหลังคา คือ ปั้นลม ทำหน้าที่กันลมไม่ให้ปะทะกับหลังคาโดยตรง และช่วยกันน้ำฝนไม่ให้เข้าอาคาร วัสดุที่นิยมนำมาใช้เป็นปั้นลม มีทั้งไม้จริง ไม้สังเคราะห์

 

เทคนิคการเลือกหลังคาบ้านสไตล์นอร์ดิก

การเลือกแผ่นหลังคาของบ้านสไตล์นอร์ดิก ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก หากเลือกแผ่นหลังคาที่ไม่เหมาะสมกับบ้านสไตล์นี้ จะส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา อาทิ ปัญหาความร้อน และปัญหาการรั่วซึม หากเราใส่ใจเลือกวัสดุที่ดีตั้งแต่แรก เราจะไม่เจอกับปัญหาเหล่านี้ อย่างเช่น การเลือกใช้วัสดุหลังคาไวนิลหรือแผ่นหลังคาไวนิล VG ที่มีคุณสมบัติที่ครบครัน และมาพร้อม ระบบปกป้อง 3 ชั้น 

ชั้นบน : ผิวมันเงา เคลือบพิเศษด้วยสี Dupont (สีอันดับ 1 ของโลก) และเพิ่มการป้องกัน UV ถึง 3 เท่า ซึ่งช่วยระบายความร้อนได้อย่างดี

ชั้นโครงสร้าง : เน้นเรื่องความแข็งแรง คงทน ช่วยซับเสียง และเป็นฉนวนระบายความร้อน

ชั้นเสริม : ผิวเรียบ สวย เป็นฝ้าในตัว เคลือบพิเศษด้วยสี Dupont (สีอันดับ 1 ของโลก)  และเพิ่มการป้องกัน UV ถึง 3 เท่า ซึ่งช่วยระบายความร้อนใต้ชายคาได้อย่างดี

นอกจากนี้ยังออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพอากาศของเมืองไทย ใช้ Calcium Zinc ในการผลิตแทนสารตะกั่ว เพื่อความปลอดภัย และได้รับผลการทดสอบความคงทนต่อสภาพอากาศ Weathering Test จาก Germany ว่าทนทานยาวนานเกิน 15 ปี 

 

บ้านสไตล์นอร์ดิกนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดดเด่นเรื่องความเรียบง่ายและฟังก์ชันที่ใช้งานได้จริง แต่ไม่ได้หมายความว่า การออกแบบและสร้างบ้านสไตล์นอร์ดิก จะสามารถสร้างโดยขาดความใส่ใจในรายละเอียด ดังนั้น เมื่อคิดจะสร้างบ้านสไตล์นอร์ดิกให้ออกมาเป็นแบบที่ตั้งใจไว้ จึงไม่ควรลืมใส่รายละเอียดเรื่องการวางทิศทางบ้าน ช่องเปิด และการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม โดยเฉพาะงานหลังคา ที่ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญแรกที่เราจะเห็นได้จากภายนอก 

เจ้าของบ้านที่กำลังวางแผนจะสร้างบ้านสไตล์นอร์ดิก และกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญด้านหลังคาที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้ เพื่อดูแลหลังคา VG มีบริการติดตั้ง รวมถึงแนะนำ เรื่องวัสดุที่มีคุณภาพ เพื่อให้คุณได้อาศัยอยู่ในบ้านสไตล์นอร์ดิกที่มีหลังคาสวยสมบูรณ์แบบ และใช้งานได้ปราศจากปัญหากวนใจ VG มีบริการจากช่างมืออาชีพ พร้อมบริการให้คำปรึกษาฟรี ตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะบ้านคุณก็เหมือนบ้านเรา VG Extra บริการครบ จบงานไว ประทับใจ งบไม่บานปลาย!

 

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก

https://www.trinnityblog.com/2020/07/blog-post_17.html

https://dsignsomething.com/2021/03/03/4-tips-for-nordic-house-style/

– shorturl.asia/0GtBf

– shorturl.asia/P4mUy

https://www.youtube.com/watch?v=2_NAYUspjWo


บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

แค่ติดตั้งรางน้ำฝนไวนิล ก็ช่วยยืดอายุของบ้านได้อีกนานหลายปี

สำหรับใครที่กำลังปลูกสร้างบ้านแล้วยังลังเลใจว่าจะติดตั้งรางน้ำฝนดีหรือไม่ รวมถึงคนที่มีบ้านอยู่แล้วแต่เคยรู้สึกว่าการมีรางน้ำเป็นเรื่องสิ้นเปลือง ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม อยากให้ลองนำข้อมูลที่จะพูดถึงต่อไปนี้ไปลองพิจารณากันดู เพราะแท้จริงอุปกรณ์ดังกล่าวไม่ได้มีดีแค่การรองรับน้ำฝน แต่ยังช่วยปกป้องบ้านของคุณพร้อมยืดอายุให้อยู่ได้ยาวนานกว่าเดิม ไม่ต้องเสียเงินซ่อมแซมใหม่ให้สิ้นเปลืองด้วย
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

วิธีเลือกสีทาบ้านภายนอก เลือกยังไงให้สวย ตรงใจ ไม่ต้องเสียเงินแก้ใหม่

การเลือกสีภายนอกหรือสีทาบ้าน ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมาก เนื่องจากสีทาบ้านภายนอกเป็นเหมือนตัวตน หน้าตาของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน เป็นสิ่งที่เราพบเห็นก่อนเป็นลำดับแรก ซึ่งสีทาบ้านภายนอกในปัจจุบันมีหลายเฉดสีให้เลือก คุณเจ้าของบ้านหลายคนอาจจะถึงขั้นหนักอกหนักใจเลือกสีที่ใช่ไม่ได้สักที บางคนก็มีสีในใจแต่พอเจอสีใหม่ก็เกิดความรู้สึกลังเลขึ้นมาซะอย่างงั้น แล้วการเลือกสีทาบ้านภายนอกแบบไหน เลือยังไงดี ให้สวย ตรงใจ ไม่ต้องเสียเงินทาใหม่ วันนี้ VG ขอเสนอเหตุผลช่วยให้คุณเจ้าของบ้านเลือกสีทาบ้านภายนอกแบบทาครั้งเดียวจบ ไม่ต้องแก้หลายรอบกันครับ
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

เสาเข็มมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีข้อดีอย่างไรบ้าง

เสาเข็ม องค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นสำหรับตัวบ้าน มีหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักทั้งหมดของตัวบ้าน ถ้าไม่มีเสาเข็ม บ้านก็คงตั้งตระหง่านอยู่ไม่ได้ คงทรุดลงไปกองกับพื้นดิน วันนี้ VG เลยพามาทำความรู้จักว่า เสาเข็ม คืออะไร มีกี่ประเภท แต่ประเภทมีข้อดีอย่างไรบ้าง เสาเข็ม คืออะไร ? วัสดุอย่างหนึ่งที่ใช้ในงานก่อสร้าง ทำหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักทั้งหมดของโครงสร้างบ้านหรืออาคาร และทำหน้าที่ถ่ายเท กระจายน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างลงสู่ชั้นดิน ทำให้โครงสร้างมีความมั่นคง แข็งแรง ไม่ทรุดลงเรื่อย ๆ เสาเข็มถือได้ว่าเป็นเหมือนศูนย์กลางและมีความสำคัญต่อบ้าน อาคาร สิ่งปลูกสร้างมากที่สุด การให้ความสำคัญในการเลือกเสาเข็มจึงมีความสำคัญมากเช่นกัน
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

เลือกใช้อิฐแบบไหนดี? ให้ดีที่สุดกับบ้านเรา

อิฐ ถือเป็นส่วนประกอบหลักพื้นฐานของการสร้างบ้าน รากฐานสำคัญที่ทำให้บ้านเป็นรูปเป็นร่าง อิฐมีหลายประเภทแตกต่างกันตามคุณสมบัติ ซึ่งล้วนมีผลต่อความแข็งแรง คงทน การระบายความร้อน ความชื้นของบ้าน การรับน้ำหนัก คุณสมบัติกันไฟ ตลอดจนเวลาในการก่อสร้าง 
Inbox
Call
Line