fbpx
รางน้ำไวนิล

Blog - วิธีกู้เงินสร้างบ้าน 2564 มีขั้นตอนอะไรบ้าง

การมีบ้านสักหลังเป็นของตัวเอง ถือเป็นความฝันของใครหลายคน แต่กว่าชีวิตจะเดินทางไปถึงจุดนั้นได้ บางคนต้องใช้เวลาเก็บเงินอยู่หลายสิบปี ทางลัดเพื่อไปถึงเป้าหมายนั้นที่หลายคนเลือกใช้เพื่อให้มีบ้านสักหลังเร็วขึ้น คือ การกู้ยืมเงินธนาคารเพื่อสร้างบ้าน ถึงแท้จะมาพร้อมกับหนี้ก้อนโตที่ต้องผ่อนจ่ายอยู่หลายปี แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าสำหรับการได้มีบ้านอาศัยอยู่กับครอบครัวเร็วขึ้น วันนี้ VG ขอพูดถึงวิธีกู้เงินสร้างบ้าน ว่ามีขั้นตอนรายละเอียดอย่างไรบ้าง ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมตัว ยื่นกู้เงินกับธนาคาร จนได้บ้านในฝันที่คุณต้องการ

รางน้ำฝน

 

วิธีกู้เงินสร้างบ้าน 2564 มีขั้นตอนอะไรบ้าง 

สำหรับขั้นตอนการสร้างบ้านโดยการกู้ยืมเงินธนาคาร ขออแบ่งเป็น 2 หัวข้อใหญ่ ๆ เพื่อความเข้าใจง่าย คือ ขั้นตอนเตรียมความพร้อมก่อนยื่นกู้เงิน และขั้นตอนเตรียมเอกสารเพื่อยื่นกู้เงิน

 

ขั้นตอนเตรียมความพร้อมก่อนยื่นกู้เงิน

1.มีที่ดินเป็นของตัวเอง

การสร้างบ้านโดยการกู้ยืมเงินจากธนาคาร มีความจำเป็นมากที่คุณต้องมีที่ดินเป็นของตัวเอง และที่สำคัญไปกว่านั้น คือ คุณต้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดินผืนนั้นด้วย พูดง่าย ๆ คือ คุณต้องเป็นเจ้าของที่ดินที่จะทำการปลูกสร้างบ้าน เพราะจะมีผลกับการขออนุญาตปลูกสร้าง และการพิจารณาสินเชื่อ กู้เงินได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าที่ดินที่กำลังจะปลูกสร้างบ้านเป็นชื่อของผู้อื่นถือกรรมสิทธิ์อยู่ ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง การขออนุญาติกู้เงิน จะมีความยุ่งยากเข้าไปอีกขั้น ทางที่ดีแนะนำให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นชื่อผู้ที่จะทำเรื่องกู้เงินสร้างบ้าน จะได้มีความง่ายต่อการยื่นกู้ และมีผลให้ธนาคารอนุมัติง่ายขึ้น

 

2.เลือกแบบบ้านที่ถูกใจ

แบบบ้านที่นำมาสร้างบ้าน มีทั้งแบบบ้านสำเร็จรูปที่ขายตามท้องตลาด ซึ่งมีอยู่หลายแบบหลายสไตล์สามารถเลือกซื้อได้ หรือจะเลือกแบบบ้านฟรีที่หน่วยงานราชการออกแบบให้ใช้ฟรี สามารถดาวน์โหลดผ่านออนไลน์ได้ แต่ถ้าคุณอยากได้แบบบ้านที่สวย ไม่ซ้ำใคร ก็สามารถให้สถาปนิก บริษัทรับออกแบบบ้านออกแบบขึ้นใหม่ก็ได้ ซึ่งก่อนจะเริ่มสร้างบ้านคุณต้องตัดสินใจเลือกแบบบ้านให้ได้ก่อน ขั้นตอนนี้เหมือนจะง่าย แต่บางคนใช้เวลาแรมปีกว่าจะตัดสินใจได้

 

3.เตรียมเอกสารขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน

เอกสารที่ต้องยื่นมีอะไรบ้าง

– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด

– สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด

– แบบก่อสร้างแผนผังและรายการประกอบแบบ อย่างละ 5 ชุด

– สำเนาโฉนดที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง จำนวน 1 ชุด (หรือเอกสารสิทธิ์อื่น ๆ)

– สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท วัตถุประสงค์ ผู้มีอำนาจลงชื่อแทน นิติบุคคล ที่ขออนุญาตที่

ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน

    หมายเหตุ: จำนวนชุดของเอกสาร จะต้องสอบถามข้อมูลอัปเดตจากสำนักงานเขตท้องถิ่นที่จะยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้าน

 

หลักฐานที่เกี่ยวข้องเฉพาะเรื่อง

– หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดิน (กรณีผู้ขออนุญาตไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน)

– หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดผนัง (กรณีใช้ผนังร่วมกัน)

– หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน (กรณีชิดเขตที่ดินข้างเคียง)

– สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียง

– สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียง

– หนังสือรับรองของสถาปนิกและใบควบคุมงานของสถาปนิก

– หนังสือรับรองของวิศวกรและใบควบคุมงานของวิศวกร

– รายการคำนวณ 1 ชุด (กรณีส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและทนไฟเป็นส่วนใหญ่ หรืออาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ)

 

ระยะเวลาในการพิจารณาในกรณีทั่วไป

  1. อาคารพักอาศัยไม่เกิน 2 ชั้น ใช้เวลาในการพิจารณาไม่เกิน 20 วัน ไม่รวมระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน
  2. อาคารพาณิชย์ อาคารขนาดใหญ่ อาคารประเภทควบคุมการใช้ ใช้เวลาในการพิจารณา 33 วัน (ไม่รวม

ระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน)

   ยกเว้นในกรณีที่มีข้อขัดข้อง จะใช้เวลาพิจารณาตามที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 

 

4.เลือกผู้รับเหมา

การตัดสินใจเลือกผู้รับเหมาสร้างบ้าน ต้องใช้เวลาไตร่ตรองนานพอสมควร เพราะกว่าจะเจอผู้รับเหมาถูกใจ ก็ต้องใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลผู้รับเหมาหลายรายที่เราสนใจ เปรียบเทียบทั้งราคา วัสดุที่เลือกใช้ ระยะเวลาในการก่อสร้าง ผลงานการก่อสร้างที่ผ่านมา ถ้าจะให้ละเอียดเข้าไปอีก ลองติดต่อไปพูดคุยกับเจ้าของบ้านที่เคยว่าจ้างผู้รับเหมาแต่ละราย ที่สำคัญขั้นตอนนี้ผู้รับเหมาจะมีการส่งใบเสนอราคา รายการวัสดุที่จะใช้ให้กับผู้ว่าจ้าง อย่ารีบร้อนเซ็นสัญญา เพราะถ้าคุณเซ็นสัญญาไปแล้ว แต่ธนาคารไม่อนุมัติสินเชื่อ กู้เงินไม่ผ่าน คุณอาจจะเสียเงินไปเปล่า ๆ ต้องรอให้ธนาคารอนุมัติเงินกู้ก่อน จึงค่อยเซ็นสัญญากับผู้รับเหมา

5.มีงบประมาณสำหรับสร้างบ้านก้อนแรก

แม้ว่าคุณจะทำเรื่องกู้ยืมเงินกับธนาคารเพื่อสร้างบ้าน แต่ก็มีความจำเป็นมากที่จะต้องมีงบประมาณ หรือพูดภาษาชาวบ้าน คือ ต้องมีเงินก้อนแรกประมาณ  20-30% ของมูลค่าบ้านที่จะก่อสร้าง เพราะบางทีผู้รับเหมาอาจมีการขอเบิกเงินก่อนล่วงหน้าเพื่อนำไปใช้ในการซื้ออุปกรณ์ ปรับพื้นที่ หรือสร้างแคมป์คนงาน ต้องบอกว่าธนาคารไม่มีการจ่ายเงินให้เราก่อนล่วงหน้าทุกกรณี การจ่ายเงินของธนาคารจะจ่ายเงินเป็นงวด ๆ เพื่อป้องกันการนำเงินไปใช้กับส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

 

ขั้นตอนเตรียมเอกสารเพื่อยื่นกู้เงิน

1.ยื่นคำขอสินเชื่อที่ธนาคาร

เมื่อตัดสินใจว่าจะกู้เงินสร้างบ้าน คุณสามารถยื่นคำขอสินเชื่อ โดยพนักงานจะทำการพิจารณาสินเชื่อเบื้องต้นจากการสัมภาษณ์ และเอกสาร ซึ่งคุณต้องเตรียมเอกสาร ดังต่อไปนี้

  • เอกสารส่วนบุคคล
  1. บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ / บัตรรัฐวิสาหกิจ
  2. สำเนาทะเบียนสมรส / ใบหย่า / ใบมรณะบัตร (ถ้ามี)
  3. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)
  4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี)
  5. เอกสารทางการเงิน
  • พนักงานประจำ
  1. ใบรับรองเงินเดือน
  2. สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
  3. สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน
  • ผู้ประกอบอาชีพอิสระ
  1. สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน / หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมเอกสารฉบับจริง)
  2. สำเนาทะเบียนการค้า / ทะเบียนบริษัท / ห้างหุ้นส่วน
  3. หลักฐานการเสียภาษีเงินได้
  4. รูปถ่ายกิจการ
  5. สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
  • เอกสารหลักประกัน
  1. สำเนาโฉนดที่ดิน / นส.3ก ทุกหน้า
  2. หลักฐานการยื่นขอใบอนุญาตปลูกสร้าง / สำเนาใบอนุญาตปลูกสร้าง
  3. แบบแปลน
  4. ใบประมาณการปลูกสร้าง / สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง

 

2.รอธนาคารอนุมัติ

เมื่อคุณส่งเอกสารในการขอสินเชื่อกับธนาคารครบแล้ว ธนาคารจะพิจารณาว่าคุณมีความสามารถในการผ่อนชำระเงินงวดได้ ตามวงเงินที่คุณขอสินเชื่อไว้หรือไม่ หากคุณผ่านการพิจารณาขั้นเบื้องต้นแล้ว พนักงานจะส่งเรื่องต่อให้งานประเมินหลักทรัพย์ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อเพื่อนัดหมายเข้าไปประเมินมูลค่าหลักประกัน หลังจากนั้นพนักงานธนาคารสาขาที่คุณขอกู้จะบันทึกข้อมูลลงในระบบสัมภาษณ์ พร้อมทั้งเอกสารต่าง ๆ ที่คุณส่งมา เกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อส่วนใหญ่ พิจารณาจาก

  1. วัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ เช่น ซื้อที่ดินอาคาร ,ซื้อห้องชุด ,ไถ่ถอนจำนอง ฯลฯ
  2. คุณสมบัติผู้ขอกู้ เช่น สถานภาพ, การศึกษา, อาชีพ ฯลฯ
  3. ความสามารถในการผ่อนชำระสินเชื่อ
  4. ประเภทและมูลค่าของหลักประกัน

 

3.แจ้งผลการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ

การพิจารณาสินเชื่อจะใช้เวลาไม่เกิน 7 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่คุณยื่นใบคำขอสินเชื่อ พร้อมกับเอกสารที่ครบถ้วน โดยธนาคารจะติดต่อเพื่อแจ้งผลพิจารณาว่าผ่านหรือไม่ผ่าน หากผ่านการพิจารณาจะมีการนัดทำสัญญาเป็นลำดับต่อไป

 

4.ทำสัญญากู้เงิน และสัญญาจดจำนอง 

เมื่อผ่านการพิจารณาให้กู้ยืมเงินสร้างบ้านได้ ธนาคารจะนัดหมายให้คุณเข้าไปทำสัญญากู้ยืมเงินที่สาขาที่คุณยื่นคำขอกู้เงิน และจะนัดวันทำนิติกรรม ณ กรมที่ดิน ที่หลักประกันหรือโฉนดที่ดิน จดทะเบียนไว้ หากมีผู้กู้ยืมร่วมหรือมีคู่สมรส คุณจะต้องนัดหมายกับบุคคลเหล่านั้นเพื่อเข้ามาเซ็นสัญญาด้วย

 

5.ดำเนินการปลูกสร้างบ้าน

เมื่อทำสัญญากู้ยืมเงินเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถเซ็นสัญญากับผู้รับเหมา และเริ่มกระบวนการก่อสร้างบ้านได้เลยครับ 

 

วิธีกู้เงินสร้างบ้าน 2564 มีขั้นตอนอะไรบ้าง หลายคนที่อ่านบทความนี้ของทาง VG หวังว่าจะเป็นตัวช่วยที่ดีให้คนมีความฝันอยากมีบ้านสักหลังเป็นของตัวเอง ขั้นตอนการกู้เงินจากธนาคารก็ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนอะไรมากนัก ถ้าอยากมีบ้านเป็นของตัวเองเร็ว ๆ ก็ต้องใช้ทางลัดกันสักหน่อย ถึงแม้จะมาพร้อมกับหนี้ก้อนโต แต่เชื่อว่าทุกคนก็พร้อมจะสู้เพื่อนบ้านของตัวเองใช่ไหมละครับ

 

ขอบคุณข้อมูลGH Bank Blog

                          Ghbank.co.th

                          Ttmconstruction.com

                          Scb.co.th


บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

รางน้ำฝนราคาต่างกัน เพราะ 3 เหตุนี้! พร้อมวิธีเลือกรางน้ำให้ตอบโจทย์

สาเหตุที่รางน้ำฝนราคาต่างกันเป็นเพราะอะไรบ้าง? แล้วถ้ากำลังมองหารางน้ำดีๆ ต้องเลือกอย่างไรให้เหมาะสมที่สุด? VG จะพามาหาคำตอบ!
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

แชร์ 5 ไอเดียติดตั้งรางน้ำฝนไวนิลทั้งสวย ทั้งระบายน้ำฝนได้ดี

ใครกำลังวางแผนติดตั้งรางน้ำไวนิลบ้าง ถ้ายัง ในบทความนี้ VG จะพาว่าที่เจ้าของบ้านมาชมไอเดียติดตั้งรางน้ำที่ทั้งสวยและใช้งานได้จริง
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

ข้อดีและข้อเสียของการปลูกบ้านชั้นเดียว รู้ไว้ก่อนสร้างบ้าน

บ้านชั้นเดียว คือ บ้านที่มีเพียง 1 ชั้น มีฟังก์ชันการใช้งานทั้งหมดอยู่ชั้นเดียว บ้านชั้นเดียว ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะมีข้อดีหลายข้อ เช่น ราคาถูกกว่าบ้านสองชั้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีจำนวนสมาชิกครอบครัวไม่มาก ไม่มีบันไดขึ้นไปชั้น 2 ดีต่อครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ เป็นต้น วันนี้ VG เลยมาบอกเล่าข้อดีและข้อเสียของบ้านชั้นเดียว เพื่อเป็นปะโยชน์แก่คุณเจ้าของบ้าน รู้ไว้ก่อนสร้างบ้าน
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

Blog – เทคนิคเลือกบ้านที่ใช่! ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ชีวิต

ปัจจุบันหลายคน กำลังมองหาบ้านพัก คอนโดมิเนียม หรือที่อยู่อาศัยอื่น ๆ หลายครั้งมักจะเกิดคำถามว่าควรเลือกที่อยู่อาศัยอย่างไร? ให้สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตมากที่สุด โดยเฉพาะในยุคสมัยที่มีที่อยู่อาศัยให้เลือกสรรอย่างหลากหลาย ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ที่ออกแบบมาอย่างลงตัว ทั้งพื้นที่ใช้สอย สิ่งอำนวยความสะดวก การเดินทาง และงบประมาณที่มีอยู่
Inbox
Call
Line