fbpx
รางน้ำไวนิล

ขั้นตอนทาสีบ้านด้วยตัวเอง เปลี่ยนบ้านสุดโทรมให้ดูใหม่วิ๊ง!!!

การทาสีบ้าน คือวิธียอดฮิตที่สุดสำหรับการเปลี่ยนบ้านพัง ๆ ให้กลับมาใสวิ๊งดูใหม่เหมือนพึ่งสร้างบ้านเสร็จ หลายคนเลือกประหยัดค่าใช้จ่ายโดยการลงมือทาสีบ้านด้วยตัวเอง จะเสียค่าช่างไปทำไมในเมื่อขาลุยอย่างเรา ๆ สามารถทำได้เอง VG ขอแนะนำขั้นตอนทาสีบ้านด้วยตัวเอง มาจับแปรงเปลี่ยนโฉมให้บ้านสุดโทรมกลับมาดูใหม่อีกครั้ง ง่าย ๆ เพียง 6 ขั้นตอน 

 

1. เช็คสภาพผนังบ้านของคุณ

ก่อนจะเริ่มทาสีบ้าน ขั้นตอนสำคัญและจำเป็นมาก นั่นก็คือ การตรวจเช็คสภาพผนังบ้านของคุณ โดยต้องดูว่าสภาพพื้นผิวบ้านว่าเป็นแบบไหน เป็นผนังเก่า ผนังใหม่ ผนังภายนอกหรือผนังภายใน เพราะการทาสีบ้าน ผนังบ้านแต่ละแบบจะมีวิธีการเตรียมพื้นผิว การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ต่างกัน  เช่น สีภายนอกจะเน้นไปที่ประสิทธิภาพความทนทานต่อสภาพอากาศ สีภายในเน้นไปที่การทำความสะอาดง่าย รู้สภาพผิวผนังก่อน จะได้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ได้ถูกต้อง!

 

2. เตรียมอุปกรณ์ทาสีให้พร้อม

เช็คสภาพผนังเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไป ลุย! เตรียมอุปกรณ์ทาสีให้พร้อมสิคะ รอไร! โดยอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม มีดังต่อไปนี้

1) ลูกกลิ้งทาสี : เลือกใช้ลูกกลิ้งทาสี ขนาด 4 นิ้ว 7 นิ้ว และ 10 นิ้ว เพราะเป็นขนาดที่ได้รับความนิยมและเหมาะกับการใช้ทาพื้นที่วงกว้าง

2) ด้ามต่อลูกกลิ้ง : มีไว้ก็ดี เผื่อจะได้สะดวกในการทาสีจุดที่อยู่สูง ๆ เผื่อเอื้อมมือทาสีไม่ถึง 

3) แปรงทาสี : ซื้อชุดใหญ่จัดให้ครบ ตั้งแต่ขนาด 1 – 5 นิ้ว หรือใครกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย เลือกซื้อแปรงให้เหมาะกับงานทาสีที่ใช้แค่นั้นก็ได้ค่ะ 

4) ถังสี : ใช้สำหรับเเบ่งสีจากถังหลักออกมาใช้

5) ผ้าใบปูพื้น : เดี๋ยวเลอะมาจะลำบาก มีไว้สำหรับป้องกันสีหยดที่พื้น 

6) เทปกาว :   เพื่อป้องกันไม่ให้สีเลอะติดขอบประตู หน้าต่าง ติดเทปกาวเอาไว้จะดีมาก เลือกแบบที่ไม่ทิ้งลอยเอาไว้หลังจากลอกนะคะ

7) เกรียง : เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแซะปูนเก่า เกลี่ยรอยโป๊ว ขึ้นลายสี

8) กระดาษทราย : ใช้สำหรับขัดเตรียมพื้นผิวให้เรียบเนียนก่อนทาสีรองพื้น

 

3. เตรียมพื้นผิวก่อนลงมือทาสี

การเตรียมพื้นผิวก่อนลงมือทาสี มีข้อควรรู้ตรงที่การเตรียมผิวผนัง ดังนี้

  1. ผนังใหม่ให้ตรวจเช็คค่าความชื้นก่อน โดยการใช้เครื่องวัดความชื้น Protimeter ค่าที่เหมาะสมในการทาสีต่อ คือ 14-16%
  2. ผนังเก่า ต้องจัดการปัญหาต่าง ๆ ให้เรียบร้อย  หากสีเก่าหลุดร่อน ต้องใช้เกรียงแซะลอกออกให้หมด หากมีรอยแตกร้าว ต้องอุดโป๊วรอยร้าวพร้อมขัดด้วยกระดาษทรายให้ผิวเรียบเนียน หากมีเชื้อรา ตะไคร่น้ำ คราบสกปรก ตั้งทำความสะอาด ขัดล้าง แล้วปล่อยให้ผิวแห้งอย่างน้อย ๆ 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นใช้น้ำยากำจัดเชื้อราตะไคร่น้ำทาผนัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำเดิมอีก

 

4. ทาสีรองพื้น (Primer)

 

blog 31 3

 

ขั้นตอนต่อมา คือ ทาสีรองพื้น ก่อนที่จะทาสีทับอีกครั้ง โดยขั้นตอนทาสีรองพื้นนี้ควรปูผ้าใบรองเพื่อป้องกันสีหยดลงพื้น พร้อมกันนั้นให้ใช้เทปกาวติดป้องกันมุมต่าง ๆ ด้วย การทาสีรองพื้นจะช่วยป้องกันปัญหา เช่น เชื้อรา สีหลุดร่อน ช่วยให้สีติดแน่น สีสดใหม่อยู่ได้นานกว่าเดิม โดยมีหลักในการทาสีรองพื้น ดังนี้ 

  1. ทาสีรองพื้น คำนึงถึงสภาพปูนของบ้าน
  • บ้านปูนเก่าอายุ 5 ปีขึ้นไป :  เลือกสีรองพื้นปูนเก่า
  • บ้านปูนใหม่อายุ 1 – 2 เดือน : เลือกสีรองพื้นปูนใหม่
  • บ้านปูนสดเพิ่งฉาบเสร็จ 2 – 5 วัน : เลือกสีรองพื้น Quick Primer สามารถรองบนพื้นผิวที่มีความชื้นสูงกว่ามาตรฐานได้เป็นอย่างดี
  1. สูตรสีรองพื้น
  • สีรองพื้นสูตรน้ำ : เหมาะกับผนังภายใน แห้งเร็ว กลิ่นไม่แรง ใช้งานง่าย ทาสีทับหน้าได้เร็ว
  • สีรองพื้นสูตรน้ำมัน : เหมาะกับผนังภายนอก กลิ่นฉุน มีคุณภาพดี
  • สีรองพื้นแบบสีใส : เหมาะกับพื้นผิวสีที่เก่าไม่มีปัญหาอะไร
  • สีรองพื้นแบบสีขาว : เหมาะกับพื้นผิวที่ต้องกลบรอยปัญหาจากพื้นผิวเดิม

 

5. ทาสีทับหน้า

มาถึงขั้นตอนสำคัญ นั่นก็คือ การทาสีทับหน้า  โดยต้องตัดสินใจเลือกสีทาบ้านที่คุณเจ้าของบ้านถูกใจ โดยคำนึงถึงปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ก่อนตัดสินใจเลือกสีทาบ้าน เช่น ความชอบ อายุการใช้งานของสี เป็นต้น  หากต้องการให้สีทาบ้านออกมาสวย สีชัด ควรทาสีทับหน้า 2 ครั้ง โดยเมื่อทาสีรองพื้นเสร็จแล้วให้ทิ้งไว้ 4 – 6 ชั่วโมง แล้วทาสีทับหน้า 1 ครั้ง ปล่อยทิ้งไว้อีก 2 -3 ชั่วโมง แล้วค่อยทาสีทับหน้าครั้งที่ 2 ทับลงไปอีก

 

6. ตรวจสอบความเรียบร้อบ เก็บรายละเอียดงาน

หลังจากที่ทำทุกขั้นตอนอย่างละเอียด คุณก็จะได้สีทาบ้านที่บ่งบอกถึงตัวตนความเป็นคุณ เปลี่ยนบ้านโทรม ๆ ให้กลับมาใหม่อีกครั้ง เมื่อสีทับหน้าแห้งสนิท ให้แกะเทปกาวออก ทาสีเก็บมุมขอบต่าง ๆ ให้เรียบร้อย  เก็บรายละเอียดการทาสีว่ามีจุดไหนที่เลอะเปรอะเปื้อ สีไม่สวยไม่สม่ำเสมอ ก็ทำการเก็บรายละเอียดให้สวยงาม ถือเป็นอันเสร็จสิ้นทุกกระบวนการ

การทาสีบ้านด้วยตัวเอง เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ง่าย ๆ แค่เพียงเข้าใจขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ ได้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่จำเป็นต้องจ้างช่างทาสีให้เสียตังค์ และถือเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อาจจะทาสีบ้านช่วยกันทั้งครอบครัว เป็นกิจกรรมครอบครัวไปในตัว สนุกสนาน อบอุ่นเลยทีเดียว  เพียงทำตามขั้นตอนทาสีบ้านของ VG ก็จะได้บ้านหลังใหม่ที่ใสวิ๊งกว่าเดิมเลยค่ะ

 

 

ขอบคุณข้อมูล : 24FIX

(beger.co.th)


บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

Blog - 4 สเต็ปเริ่มต้น ก่อนตัดสินใจติดรางน้ำฝนให้บ้าน

ติดรางน้ำฝน คือหนึ่งในแผนต่อเติมบ้านยอดฮิตช่วงหน้าฝน ไม่ว่าจะปัญหาน้ำรั่วซึม, สวนพัง, เสียงดัง หรือบ้านทรุด รางน้ำฝนสามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ แต่พออยากจะติดตั้งเข้าจริงๆ ก็ไม่รู้จะเริ่มจากอะไรก่อนดี งั้นลองมาเริ่มด้วย 4 สเต็ปเริ่มต้นฉบับมือใหม่ ก่อนตัดสินใจติดรางน้ำฝนให้บ้านกันเถอะ
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

วิธีทำความสะอาดรางน้ำฝน อุปกรณ์ปกป้องบ้าน

รางน้ำฝนเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งคู่บ้านเอาไว้ มีหน้าที่ในการปกป้องบ้าน ป้องกันปัญหาต่าง ๆ ตั้งแต่การป้องกันไม่ให้บ้านทรุด ป้องกันผนังบ้านสกปรก ผนังเป็นเชื้อรา ป้องกันปัญหากับเพื่อนบ้าน ป้องกันสวนหรือต้นไม้  และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงบ้าน ฯลฯ คนส่วนใหญ่มักจะทำความสะอาดรางน้ำฝนก่อนหน้าฝนจะเข้ามาเยือน  เพราะเมื่อไหร่ที่หน้าฝนมา นั่นหมายความว่าอุปกรณ์อย่างรางน้ำฝนก็จะได้ทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่ วันนี้ VG มาบอกเล่าวิธีทำความสะอาดรางน้ำฝน อุปกรณ์ปกป้องบ้าน  เพื่อเป็นแนวทางให้กับคุณเจ้าของบ้านนำเอาไปใช้กันได้ครับ
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

เลือกใช้อิฐแบบไหนดี? ให้ดีที่สุดกับบ้านเรา

อิฐ ถือเป็นส่วนประกอบหลักพื้นฐานของการสร้างบ้าน รากฐานสำคัญที่ทำให้บ้านเป็นรูปเป็นร่าง อิฐมีหลายประเภทแตกต่างกันตามคุณสมบัติ ซึ่งล้วนมีผลต่อความแข็งแรง คงทน การระบายความร้อน ความชื้นของบ้าน การรับน้ำหนัก คุณสมบัติกันไฟ ตลอดจนเวลาในการก่อสร้าง 
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

Blog – เทคนิคเลือกบ้านที่ใช่! ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ชีวิต

ปัจจุบันหลายคน กำลังมองหาบ้านพัก คอนโดมิเนียม หรือที่อยู่อาศัยอื่น ๆ หลายครั้งมักจะเกิดคำถามว่าควรเลือกที่อยู่อาศัยอย่างไร? ให้สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตมากที่สุด โดยเฉพาะในยุคสมัยที่มีที่อยู่อาศัยให้เลือกสรรอย่างหลากหลาย ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ที่ออกแบบมาอย่างลงตัว ทั้งพื้นที่ใช้สอย สิ่งอำนวยความสะดวก การเดินทาง และงบประมาณที่มีอยู่
Inbox
Call
Line