สังกะสีกับเมทัลชีทอะไรได้รับความนิยมมากกว่ากันในปัจจุบัน
ในอดีตวัสดุหลังคาที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ สังกะสี เพราะมีราคาถูก ติดตั้งง่าย มีจำหน่ายทั่วไป ผู้คนจึงเลือกใช้หลังคาสังกะสีมาติดตั้งให้กับบ้าน แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป วิวัฒนาการ การผลิตวัสดุหลังคาก็พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ มีวัสดุหลังคาที่ออกแบบมาเพื่อความแข็งแรง ทนทาน แก้ปัญหาสนิม การรั่วซึม และอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ปัจจุบันหลังคาจึงมีตัวเลือกมากขึ้น ทั้งหลังคาเมทัลชีท, หลังคาไวนิล, โพลีคาร์บอเนต, อะคลิริก, ไฟเบอร์กลาส, หลังคา PVC, หลังคา APVC ฯลฯ
ในปัจจุบันเมทัลชีท เป็นที่นิยมมากกว่าสังกะสี และถือว่าเป็นวัสดุหลังคาที่ได้รับความนิยมเป็นลำดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ แต่ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว คนแทบจะไม่รู้จักหลังคาเมทัลชีทเลยด้วยซ้ำไป คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าหลังคาเมทัลชีทแตกต่างจากหลังคาสังกะสีมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว หลังคาเมทัลชีทต่างจากสังกะสี แค่ธาตุโลหะที่ใช้ในการเคลือบผิวเท่านั้นเอง
หลังคาสังกะสี (Zinc sheet)
หลังคาสังกะสี (Zinc sheet) คือ หลังคาที่ทำมาจากแผ่นเหล็กเคลือบโลหะสังกะสีเกือบ 100% มีกระบวนการผลิต โดยการนำแผ่นเหล็กไปชุบหรืออาบโลหะสังกะสีด้วยความร้อน ทำให้ผิวมีความันเงา
เมทัลชีท (Metal Sheet)
หลังคาเมทัลชีท (Metal sheet) หรือ แผ่นอลูซิงค์ (Aluzinc sheet) คือ หลังคาที่ทำมาจากแผ่นเหล็กเคลือบโลหะ สัดส่วนอะลูมิเนียม 55% กับสังกะสี 45% มีกระบวนการผลิตโดยนำแผ่นเหล็กไปชุบโลหะผสมด้วยความร้อนอย่างต่อเนื่อง ลักษณะผิวมีความด้านกว่าสังกะสี
📢ความแตกต่างของสังกะสีกับเมทัลชีท คือ โลหะที่ใช้ในการเคลือบเท่านั้น
สังกะสี (Zinc sheet)
เหมาะสำหรับ : สายงบน้อย ต้องการหลังคาใช้งานแบบกันแดด กันฝน ได้ทั่วไป ไม่สนใจเรื่องความสวยงาม ความทนทาน ไม่ซีเรียสเรื่องเสียงดังเวลาฝนตก และสามารถทนกับความร้อนของสังกะสีได้
ข้อดี : ราคาถูกกว่าวัสดุหลังคาแบบอื่น ๆ มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย มีหลายขนาด มีหลายสีให้เลือก ราคาจำหน่ายแตกต่างกันไป ตามสีและคุณภาพของสังกะสี
ข้อเสีย : เนื่องจากเป็นโลหะ จึงเกิดสนิมได้ง่าย มีปัญหาเรื่องการเปราะ แตก และเป็นรู เกิดปัญหารั่วซึมได้ง่าย เสียงดังมากเวลาฝนตก ไม่ทนต่อแรงลม ไม่สามารถทนทานต่อแรงกระแทกได้ (บริเวณจังหวัดใดที่มีลูกเห็บตกในช่วงฤดูฝนอยู่บ่อยครั้ง จึงไม่ควรติดตั้งหลังคาสังกะสี) ไม่สวย ไม่ทันสมัย ไม่เข้ากับบ้านสไตล์โมเดิร์น และบ้านสมัยใหม่
อายุการใช้งาน : เฉลี่ยประมาณ 2 – 5 ปี (ไม่นานเพราะจะขึ้นสนิมเร็ว ทำให้ผุง่าย)
เมทัลชีท (Metal Sheet)
เหมาะสำหรับ : สายประหยัด กันแดด กันฝนได้ทั่วไป ไม่เน้นเรื่องความสวยงามและ ความทนทานมากนัก
ข้อดี : สะท้อนความร้อนได้ดีกว่าสังสะกี มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่ายสามารถดัดองศาได้มากตามต้องการ อีกทั้งยังมีหลากหลายสีสันให้เลือก และมีราคาที่ไม่แพงมาก
ข้อเสีย : สามารถกันแดดกันฝนได้ทั่วไป คนส่วนใหญ่มองว่าเมทัลชีทไม่เกิดสนิม แต่จริง ๆ แล้วสามารถเกิดสนิมได้จากรูที่ยึดสกรู และด้วยความที่เป็นเหล็ก จึงกักเก็บและแผ่รังสีความร้อนค่อนข้างเยอะกว่าวัสดุชนิดอื่น ทำให้บ้านร้อน (ปัจจุบันจึงมักติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติมด้วย) อีกทั้งยังมักจะเกิดเสียงดังมากเวลาฝนตก และความบางของเหล็ก เมื่อผ่านระยะเวลานาน ๆ จะเกิดการชำรุดและผิดรูปได้ง่ายครับ
อายุการใช้งาน : เฉลี่ยประมาณ 10-20 ปี (ขึ้นอยู่กับเกรดที่ใช้ ซึ่งเช็คยากมาก ดูไม่ออกด้วยตาเปล่า ซึ่งอายุอาจจะสั้นลงหากติดใกล้ทะเล เพราะไอเกลือจากทะเลกัดกร่อนวัสดุ อีกทั้งไอเค็มจะกัดกร่อนเหล็ก และโลหะจนขึ้นสนิมได้ง่าย)
หลังคาเมทัลชีทติดฉนวนกันความร้อน PE Foam ,PU Foam เป็นการติดตั้งหลังคาโดยใช้วัสดุหลังคาเมทัลชีท และมีการติดฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น PE Foam หรือ PU Foam โดยจะสามารถกันความร้อนได้ดีกว่าการติดหลังคาเมทัลชีทแบบเปล่า ๆ ในปัจจุบันการติดตั้งแบบนี้ ได้รับความนิยมมากพอสมควร สำหรับใครที่อยากอ่านเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของ PE Foam กับ PU Foam แบบเต็ม ๆ สามารถติดตามได้ในบทความถัดไปของทาง VG ได้เลยครับ
เป็นยังไงกันบ้างครับ พอจะตอบคำถาม คลายข้อสังสัยได้แล้วใช่ไหมละครับ ว่าสังกะสีกับเมทัลชีท ต่างกันอย่างไร เชื่อว่าวันนี้หลาย ๆ คนก็คงได้คำตอบกันแล้ว นอกจากสังกะสีกับเมทัลชีท ยังมีวัสดุหลังคาอีกหลากหลายประเภทในท้องตลาดนะครับ ไม่ว่าจะเป็นไวนิล (Vinyl),แผ่นโพลีคาร์บอเนต ลูกฟูก (Polycarbonate),อะคลิริก (Acrylic),ไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) ซึ่งแต่ละวัสดุก็มีความแตกต่างกันมากทีเดียว วัสดุแบบไหนจะเหมาะกับความต้องการของเจ้าของบ้านแบบคุณ สามารถดูข้อมูลเปรียบเทียบเพิ่มเติมได้ครับ (อ่านข้อมูลเปรียบเทียบวัสดุหลังคาเพิ่มเติม ใส่ hyperlink blogเปรียบเทียบหลังคา) สำหรับใครที่อ่านแล้วถูกใจ ฝากไปกดไลก์ กดแชร์เป็นกำลังใจให้ VG ได้ที่เพจ Facebook : VG รางน้ำและหลังคาไวนิล จะได้ติดตามคอนเทนต์ดี ๆ ข้อมูลปัง ๆ เคล็ดลับการดูแลรักษาบ้านกันนะครับ