รางน้ำฝนเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านในปัจจุบันอย่างมาก เพราะมีหน้าที่ในการรองรับน้ำฝนที่ไหลจากหลังคาลงไปยังท่อระบายน้ำ หรือตามจุดที่แต่ละบ้านกำหนดอย่างเป็นระเบียบ และมีข้อดีต่อบ้านอีกมากมาย ทั้งช่วยป้องกันสวนและต้นไม้จากน้ำฝน ป้องกันผนังและเฟอร์นิเจอร์นอกบ้าน ไม่ให้เปรอะเปื้อนจากน้ำและเศษดินที่กระเด็นจากแรงฝน
อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจเคยได้ยินกันมาบ้างว่าบางบ้านที่ติดตั้งรางน้ำฝนกลับมีปัญหากับเพื่อนบ้าน ทั้งเกิดการทะเลาะกัน จนบางครั้งถึงกับต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกันเลยทีเดียว
ทำไมติดตั้งรางน้ำฝนแล้ว ถึงเกิดปัญหากับเพื่อนบ้าน?
เชื่อว่าตามบ้านต่างๆ โดยเฉพาะโครงการหมู่บ้านที่มักจะมีการปลูกบ้านติดๆ กัน โดยใช้กำแพงคั่น ซึ่งทำให้มีพื้นที่ระหว่างบ้านไม่มากนัก เพื่อให้โครงการบ้านสามารถสร้างได้หลายหลังในโครงการเดียว หรือสำหรับบางคนที่มีที่ดินไม่มากนัก แต่ต้องการพื้นที่ใช้สอยในบ้านมากขึ้น จึงจำเป็นต้องปลูกบ้านติดๆ กับบ้านหลังอื่นนั่นเอง
โดยปกติแล้ว ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่รุกล้ำเข้าไปในอาณาเขตบ้านของอีกฝ่าย ก็ไม่เกิดปัญหา แต่ต้องไม่ลืมว่า รางน้ำฝนเป็นอุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งกับบริเวณเชิงชาย เพื่อรองรับน้ำที่ไหลลงมาจากด้านบน ส่งผลให้หลังคาที่ยื่นออกมาจากตัวบ้านอยู่แล้ว ยื่นเพิ่มออกไปอีก จนล้ำเข้าไปในขอบเขตของเพื่อนบ้าน ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่พอใจในที่สุด
อีกทั้ง ในบางกรณีที่น้ำล้นออกจากรางน้ำฝนอาจกระเด็นเข้าไปในบ้านข้างๆ สร้างคราบน้ำและสิ่งสกปรก เป็นสิ่งที่นำไปสู่การทะเลาะวิวาทกับเพื่อนบ้านที่พบเห็นกันได้บ่อยๆ
ไม่อยากให้เพื่อนบ้านเดือดร้อน ติดตั้งรางน้ำฝนอย่างไรดี?
ก่อนจะพูดถึงการติดตั้งรางน้ำฝน ระยะรางน้ำฝนที่เหมาะสม เรามาดูกันว่ามีข้อกฎหมายอย่างไรบ้าง โดยตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538) ข้อ 2 ระบุไว้ว่า "อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงต้องมีการระบายน้ำฝนออกจากอาคารที่เหมาะสมและเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่นหรือเกิดน้ำไหลนองไปยังที่ดินอื่นที่มีเขตติดต่อกับเขตที่ดินที่เป็นที่ตั้งของอาคารนั้น"
ตามด้วยกฎหมายควบคุมอาคาร ข้อ 50 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ที่เขียนเอาไว้ว่า "กำหนดให้ แนวผนังอาคารต้องร่นจากเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 0.50 เมตร และเป็นผนังทึบ" พูดง่ายๆ ว่าผนังของตัวบ้านจะต้องไม่ติดกับรั้วหรือเขตบ้าน เพื่อไม่ให้เชิงชายหรือรางน้ำฝนยื่นล้ำออกไปบ้านข้างๆ
วิธีป้องกันปัญหาที่ดีที่สุดคือ คำนวณพื้นที่เผื่อเอาไว้ตั้งแต่ก่อนปลูกบ้าน โดยทั่วไป ระยะยื่นปลายกระเบื้องหลังคาและระยะรางน้ำฝนจะใช้พื้นที่ประมาณ 15-20 เซนติเมตร ยกเว้นกรณีรางน้ำมีความกว้างพิเศษ หรือเลือกทำรางคอนกรีตที่กำหนดขนาดเอง สำหรับใครที่กำลังปลูกบ้านอยู่ ต้องไม่ลืมที่จะเว้นพื้นที่เผื่อเอาไว้ด้วย
ส่วนใครต้องการต่อเติมรางน้ำฝนหลังจากสร้างบ้านเสร็จแล้ว ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อคำนวณหาขนาดรางน้ำที่เหมาะสม หรือค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เหลื่อมล้ำเข้าไปในเขตเพื่อนบ้าน เช่น การติดตั้งแผ่นปิดครอบหรือแฟลชชิ่ง (Flashing) ที่ใช้ปิดรอยต่อระหว่างหลังคากันสาดกับผนังบ้าน หรือ อาจจะร่วมมือกับเพื่อนบ้าน เพื่อติดรางน้ำฝนตรงกลางระหว่างหลังคา 2 ฝั่ง ที่สามารถใช้ร่วมกันได้ เป็นต้น
ถ้าอยากติดตั้งรางน้ำฝนด้วยตัวเอง ต้องเริ่มต้นอย่างไร?
สำหรับเจ้าของบ้านท่านใดที่อยากซื้อรางน้ำฝน นำมาติดตั้งเอง ก็ต้องบอกว่าไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เพียงแต่ต้องเตรียมการเบื้องต้นให้พร้อม โดยเริ่มจาก….
1. เลือกประเภทรางน้ำฝนให้ถูกต้อง
รางน้ำฝนแต่ละประเภทนั้นมีวิธีการติดตั้งที่แตกต่างกันไป ดังนั้นอันดับแรก หากต้องการติดตั้งรางน้ำเองแบบง่ายๆ ก็ควรเลือกรางน้ำฝนที่สามารถติดตั้งได้ง่ายด้วย โดยทั่วไปรางน้ำฝนจะติดตั้งกับเชิงชายหรือไม้ปีกนกโดยการใช้ตะปูหรือน็อต ส่วนรางน้ำฝนบางประเภท อย่างรางน้ำฝนสังกะสีจะใช้การแขวนกับจันทัน หรือรางน้ำไฟเบอร์กลาส ต้องอาศัยช่างเฉพาะทางมาติดตั้งให้
รางน้ำอีกหนึ่งประเภทที่เป็นที่แนะนำในตอนนี้ก็คือ รางน้ำ PVC หรือ รางน้ำฝนไวนิล ที่สามารถติดตั้งได้ง่าย เพราะเป็นรางน้ำแบบสำเร็จรูป เพียงแค่ยึดตะขอกับเชิงชาย แล้วล็อกรางน้ำเข้ากับตะขอเท่านั้น
2. สำรวจพื้นที่ที่จะติดตั้งรางน้ำฝน
ต่อมาคือการตรวจสอบความแข็งแรงของบริเวณที่จะติดตั้ง ซึ่งก็คือความแข็งแรงของบริเวณเชิงชาย หรือปีกนกหลังคา ว่าสามารถรับน้ำหนักของรางน้ำได้ไหม และจะมีผลอะไรต่อโครงสร้างหลังคาหรือเปล่า
3. วัดระดับน้ำระหว่างหัวท้ายของรางน้ำ
ทั้งนี้ก็เพื่อวัดความลาดเอียงของรางน้ำ เมื่อวัดระดับเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้เชือกตีแนว เพื่อสร้างแนวเส้นที่จะติดตั้งรางน้ำ ช่วยให้การติดตั้งสะดวกขึ้น
4. ติดตั้งรางน้ำฝน
เมื่อวัดระดับและสำรวจพื้นที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเริ่มติดตั้งรางน้ำได้ ซึ่งขอแนะนำให้เจ้าของบ้านทำตามคู่มือหรือคำแนะนำของรางน้ำชนิดนั้นๆ
(อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการติดตั้งรางน้ำฝนไวนิล)
5. ทดสอบการใช้งาน
สุดท้ายนี้ ต้องไม่ลืมที่จะทดสอบประสิทธิภาพของรางน้ำฝน โดยให้ฉีดน้ำบนหลังคา เพื่อดูว่าน้ำไหลลงเป็นปกติ ไม่มีรอยรั้วใดๆ ก็เป็นอันเสร็จสิ้น
จบไปแล้วกับการติดตั้งรางน้ำฝน โดยไม่ให้เกิดผลกระทบกับเพื่อนบ้าน ที่พอเจ้าของบ้านรู้แล้ว รับรองว่าจะติดตั้งได้แบบหมดกังวล ส่วนท่านใดที่กำลังมองหารางน้ำฝนไวนิล หรือต้องการสอบถามว่ารางน้ำฝนราคาเท่าไหร่บ้าง สามารถติดต่อ VG ได้แล้ววันนี้!
รางน้ำฝนไวนิลจาก VG กับเทคโนโลยี iR-uPVC
หากคุณกำลังมองหารางน้ำไวนิลดีๆ ไม่ต้องมองที่ไหนไกล เพราะรางน้ำฝน VG ผลิตจากนวัตกรรม iR-uPVC พลาสติกคุณสมบัติพิเศษ จากการใช้ส่วนผสมเคมีภัณฑ์คุณภาพชั้นนำระดับโลก ที่เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของ VG และผ่านการผลิตโดยเครื่องจักรที่ทันสมัย ด้วยคุณสมบัติที่ตอบโจทย์การใช้งานในทุกด้าน ทั้งความทนทานต่อทุกสภาพอากาศ มีความยืดหยุ่นสูง ไม่แตกหักง่าย ไม่เกิดสนิม และึมีอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 15 ปี พร้อมด้วยคุณสมบัติการปกป้องวัสดุที่ให้มากกว่าถึง 2 ชั้น
- ชั้นที่ 1 การปกป้องภายนอก (Outer Layer) ด้วยการเคลือบพิเศษด้วยสี Dupont สีจากแบรนด์ชั้นนำระดับโลก มีคุณสมบัติ Infrared Reflective ที่สามารถสะท้อนรังสี UV จากแสงแดดได้มากถึง 3 เท่า จึงไม่ทำให้เกิดสนิม ทั้งยังลดปัญหาอากาศร้อนบริเวณใต้ชายคาและช่วยลดความร้อนให้กับตัวบ้านได้อีกด้วย
- ชั้นที่ 2 การปกป้องภายใน (Inner Layer) ด้วยคุณสมบัติที่เน้นความแข็งแรงทางโครงสร้าง ความทนทานและมีความยืดหยุ่นสูง เมื่อกระทบกับน้ำและสภาพอากาศต่างๆ อยู่ตลอดเวลา จึงไม่เกิดการผุกร่อนหรือแตกหักได้ง่าย ช่วยให้คงสภาพรางน้ำได้ตลอดการใช้งาน สามารถยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น
มั่นใจมากกว่าเดิมด้วยการผ่านการทดสอบ Weather Testing จากประเทศเยอรมัน และยังตอบโจทย์เรื่องดีไซน์เพราะรางน้ำ VG มีให้เลือกถึง 3 รุ่น 3 สไตล์ คือ รุ่น PRIMO รุ่น FIRST R2 และรุ่น EZY หากสนใจรางน้ำ VG สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
สามารถสอบถามราคารางน้ำฝน และปรึกษา VG ผ่านช่องทางต่างๆ ด้านล่าง
โทร.: 087-654-7788, 080-744-7799, 063-271-7711 (ENG)
อีเมล: info@mycnpgroup.com
LINA OA: @vg-cnp
Facebook: VG รางน้ำและหลังคาไวนิล