fbpx
รางน้ำไวนิล

รางน้ำไวนิล ติดตั้งเองอย่างไรให้ถูกต้องและรองรับน้ำฝนได้ชัวร์ๆ

หากพูดถึงรางน้ำที่โครงการบ้านยุคใหม่และเจ้าของบ้านสมัยใหม่มักใช้งานกันคงเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก รางน้ำไวนิล หรือ รางน้ำ PVC ที่มาพร้อมกับดีไซน์ที่หลากหลายเข้ากับบ้านหลายสไตล์ และยังมีหลากหลายสีให้เลือกอีกด้วย ทั้งยังมีราคาที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับอายุการใช้งานและรางน้ำวัสดุประเภทอื่นๆ จึงไม่ต้องแปลกใจเลยถ้าบ้านในยุคนี้นิยมใช้รางน้ำไวนิลกัน

อีกหนึ่งข้อได้เปรียบของรางน้ำชนิดนี้คือ “ติดตั้งง่าย” ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเยอะ ไม่ต้องมีความเชี่ยวชาญ เจ้าของบ้านที่พร้อมและต้องการประหยัดงบไปอีกขั้น ก็สามารถเลือกติดตั้งรางน้ำไวนิลเองได้เลย แต่ว่ามีวิธีติดตั้งรางน้ำไวนิลอย่างไรบ้าง เพื่อให้ติดตั้งได้เองอย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถใช้งานได้ไม่มีสะดุด? มาดูไปพร้อมกันกับ VG ในบทความนี้

เลือกรางน้ำไวนิลให้ดีก่อนติดตั้ง

สำหรับเจ้าของบ้านท่านใดที่เพิ่งเริ่มศึกษา ต้องบอกก่อนว่า ตัววัสดุของรางน้ำไวนิลนั้นทำมาจาก uPVC (พลาสติกแข็ง) หรือ PVC (พลาสติกอ่อน) ที่มีคุณสมบัติโดดเด่นคือ ไม่ขึ้นสนิม ทนต่อสภาพอากาศ มีดีไซน์หลากหลาย โดยอาจมีราคาระหว่าง 500 - 1,000 บาทต่อเมตร ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ ผู้ผลิต และผู้จัดจำหน่าย นอกจากนี้ยังมีอายุการใช้งานราวๆ 10 - 15 ปีขึ้นไป

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องรู้ไว้ก่อนซื้อคือ รางน้ำไวนิลเป็นรางน้ำสำเร็จรูปที่มีขนาดมาตรฐาน ฉะนั้นต้องไม่ลืมที่จะวัดขนาดของเชิงชายหลังคารอบบ้านด้วย เพื่อไม่ให้รางน้ำขาดหรือเกินมานั่นเอง

พอได้รู้แบบนี้แล้วก็อย่ารอช้านำรางน้ำไวนิลมาเตรียมติดตั้งได้เลย แต่ใครที่ยังไม่มีแบรนด์ในใจ VG พร้อมจัดจำหน่ายรางน้ำไวนิลที่มากับนวัตกรรม iR-uPVC สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ vg-cnp.com/gutter/

เริ่มต้นติดตั้งรางน้ำไวนิล

อันดับแรกก่อนที่จะมาเรียนรู้วิธีติดตั้งรางน้ำไวนิลต้องเตรียมชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมก่อน โดยเมื่อซื้อรางน้ำ ผู้จำหน่ายอาจให้คำปรึกษาพร้อมแนะนำชิ้นส่วนเสริมต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบของบ้าน อาทิ ตะขอแขวนรางหรือตะขอรับรางที่จำเป็นต่อการติดตั้ง ชุดตะปู ชุดปรับองศาในกรณีที่เชิงคานไม่ตรง ส่วนท่อน้ำทิ้ง ฝาปิดปลายราง และตะแกรงสำหรับป้องกันสิ่งสกปรกอุดตัน 

ต่อมา อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการติดตั้งรางน้ำที่ควรเตรียมไว้มีดังนี้

  • สว่านไฟฟ้า พร้อมดอกขันสกรู 
  • ตลับเมตร
  • ซิลิโคน
  • ที่วัดระดับน้ำ
  • นั่งร้านหรือบันได

นอกจากนี้ ควรมีการคำนวณค่าต่างๆ ไว้ล่วงหน้า เช่น จุดน้ำลงที่ควรอยู่บริเวณมุมหลังคา ระยะห่างของแผ่นหลังคาและเชิงชายควรอยู่ที่ 10 ซม. และความยาวของท่อน้ำลง โดยนำความสูงของอาคารมาบวกด้วย 1 - 1.5 เมตร เพื่อคำนวณเผื่อระยะที่หลังคาลาดเอียงเข้าตัวบ้าน เป็นต้น

วิธีติดตั้งรางน้ำไวนิลด้วยตัวเอง

VGandHome SEO NOV C01 2

มาดูวิธีการติดตั้งรางน้ำไวนิลแบบง่ายๆ กันเลย

  1. ใช้สว่านไฟฟ้ายึดสกรูที่ตะขอแขวนราง โดยควรเว้นระยะห่างของตะขอให้เหมาะสม เพื่อให้รับน้ำหนักได้ดีที่สุด ควรยึดตะขอห่างกัน 50 - 55 ซม. และไม่ควรเกิน 60 ซม. ที่สำคัญควรติดตั้งตะขอให้ห่างจากรอยต่อของรางน้ำไม่เกิน 5 ซม. หรือใกล้กับรอยต่อที่สุด
  2. ล็อกรางน้ำเข้ากับตะขอ โดยตะขอและขอบรางน้ำจะมีร่องที่สามารถล็อกเข้าหากันได้ ดังนั้นการล็อกรางน้ำให้เข้าที่จึงไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ใดๆ เพียบแค่ดันรางน้ำไวนิลให้เข้าล็อกของตะขอก็เป็นอันเสร็จสิ้น
  3. ประกอบชิ้นส่วนอื่นๆ เช่น ส่วนท่อน้ำทิ้ง ฝาปิดปลายราง ซึ่งแนะนำให้ซีลโดยใช้ซิลิโคนสำหรับรางน้ำโดยเฉพาะ แนะนำให้มีความกว้าง 1 ซม. และหนา 5 มม. ใช้กาวแรงดันสำหรับส่วนท่อ และใช้กาวร้อนสำหรับติดชุดปรับองศา
  4. ทดสอบการใช้งาน โดยการฉีดน้ำบนหลังคาให้ไหลลงสู่รางน้ำ หากน้ำไหลเป็นปกติ ไม่มีการอุดตันหรือรั่วไหลในส่วนไหนก็เป็นอันเรียบร้อย

สามารถอ่านคู่มือการติดตั้งอย่างละเอียดได้ที่ vg-cnp.com/gutter/?tab=installation

ทั้ง 3 ขั้นตอนด้านบนนี้เป็นเพียงวิธีการติดตั้งรางนำไวนิลแบบง่ายๆ สำหรับบ้านหลังไหนที่มีโครงสร้างซับซ้อน อาจต้องอาศัยการคิดคำนวณและวิธีการติดตั้งที่แตกต่างออกไป แต่ถึงอย่างนั้นการติดตั้งรางน้ำ PVC ด้วยตัวเองก็ถือเป็นการประหยัดงบประมาณไปได้มาก เหมาะสำหรับเจ้าของบ้านที่ต้องการนำงบที่มีไปใช้กับส่วนอื่นๆ ของบ้านต่อไป

อย่างไรก็ตาม สำหรับเจ้าของบ้านท่านไหนที่ยังคงลังเลที่จะติดตั้งรางน้ำเอง แนะนำให้ใช้บริการจากทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ และมีอุปกรณ์เพียบพร้อม ซึ่งอาจเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์มากกว่านั่นเอง

สำหรับใครที่กำลังมองหารางน้ำคุณภาพ มีบริการให้คำปรึกษา และบริการติดตั้งทั่วไทย VG พร้อมให้บริการตั้งแต่ต้นจนจบ 

สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเรา ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้

โทร.: 087-654-7788, 080-744-7799, 063-271-7711 (ENG)

อีเมล: info@mycnpgroup.com

LINA OA: @vg-cnp

Facebook: VG รางน้ำและหลังคาไวนิล


บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

วิธีเลือกสีทาบ้านภายนอก เลือกยังไงให้สวย ตรงใจ ไม่ต้องเสียเงินแก้ใหม่

การเลือกสีภายนอกหรือสีทาบ้าน ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมาก เนื่องจากสีทาบ้านภายนอกเป็นเหมือนตัวตน หน้าตาของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน เป็นสิ่งที่เราพบเห็นก่อนเป็นลำดับแรก ซึ่งสีทาบ้านภายนอกในปัจจุบันมีหลายเฉดสีให้เลือก คุณเจ้าของบ้านหลายคนอาจจะถึงขั้นหนักอกหนักใจเลือกสีที่ใช่ไม่ได้สักที บางคนก็มีสีในใจแต่พอเจอสีใหม่ก็เกิดความรู้สึกลังเลขึ้นมาซะอย่างงั้น แล้วการเลือกสีทาบ้านภายนอกแบบไหน เลือยังไงดี ให้สวย ตรงใจ ไม่ต้องเสียเงินทาใหม่ วันนี้ VG ขอเสนอเหตุผลช่วยให้คุณเจ้าของบ้านเลือกสีทาบ้านภายนอกแบบทาครั้งเดียวจบ ไม่ต้องแก้หลายรอบกันครับ
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

วิธีทำความสะอาดรางน้ำฝน อุปกรณ์ปกป้องบ้าน

รางน้ำฝนเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งคู่บ้านเอาไว้ มีหน้าที่ในการปกป้องบ้าน ป้องกันปัญหาต่าง ๆ ตั้งแต่การป้องกันไม่ให้บ้านทรุด ป้องกันผนังบ้านสกปรก ผนังเป็นเชื้อรา ป้องกันปัญหากับเพื่อนบ้าน ป้องกันสวนหรือต้นไม้  และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงบ้าน ฯลฯ คนส่วนใหญ่มักจะทำความสะอาดรางน้ำฝนก่อนหน้าฝนจะเข้ามาเยือน  เพราะเมื่อไหร่ที่หน้าฝนมา นั่นหมายความว่าอุปกรณ์อย่างรางน้ำฝนก็จะได้ทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่ วันนี้ VG มาบอกเล่าวิธีทำความสะอาดรางน้ำฝน อุปกรณ์ปกป้องบ้าน  เพื่อเป็นแนวทางให้กับคุณเจ้าของบ้านนำเอาไปใช้กันได้ครับ
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

10 วิธีปรับฮวงจุ้ยในบ้านง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเอง

วันนี้ VG มีเกร็ดความรู้ เรื่อง วิธีปรับฮวงจุ้ยในบ้านง่าย ๆ ทำได้ด้วยตัวเอง ที่ช่วยเสริมเรื่องการเงิน การงาน โชคลาภ ค้าขาย และอีกมากมาย มาฝากเพื่อน ๆ กัน เพราะบางครั้งการตกแต่งบ้าน ให้สวยตรงใจเจ้าของบ้าน ก็อาจจะผิดหลักฮวงจุ้ย และส่งผลต่อการใช้ชีวิตได้เหมือนกัน เอาเป็นว่าหากเชื่อเรื่องนี้เอาไว้บ้าง ก็ไม่เสียหาย จะได้เกิดความรู้สึกสบายใจ และยิ่งคุณเป็นคนรักการแต่งบ้านด้วยแล้วล่ะก็ การทำให้บ้านสวย สะอาด ตามหลักฮวงจุ้ย ก็จะยิ่งเพิ่มเสน่ห์มากขึ้น ไปดูกันดีกว่าว่า มีเคล็ดลับอะไรบ้าง?
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

Blog - จะติดรางน้ำฝนให้บ้านทั้งที ต้องรู้ว่ามีวัสดุแบบไหนบ้าง

การติดรางน้ำฝนสักชุดให้กับบ้านที่เรารัก นอกเหนือจากเรื่องของความจำเป็นแล้ว มีสิ่งหนึ่งที่ต้องศึกษาให้รู้และเข้าใจ นั่นคือเรื่องประเภทของวัสดุ การรู้ข้อดี-ข้อเสียจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจเลือกวัสดุให้เหมาะกับงบประมาณและดีไซน์บ้านตัวเอง นอกจากนี้ยังช่วยเซฟเงินในอนาคตได้ด้วย ไม่ต้องคอย ซ่อมนู่น เปลี่ยนนั่น แก้นี่ จุกจิกไม่รู้จบ
Inbox
Call
Line