fbpx
รางน้ำไวนิล

 ต่อเติมบ้าน 5 กรณี ไม่ต้องขออนุญาต ถูกต้องตามหลักกฎหมายแน่นอน

การต่อเติมบ้าน ต่อเติมหลังคาโรงรถ เป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านส่วนใหญ่มักจะทำหลังจากซื้อบ้านหรือสร้างบ้านเสร็จ โดยเฉพาะทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮมในกรุงเทพมหานคร เพราะหลายคนต้องการมีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น แต่การต่อเติมบ้านส่วนใหญ่กลับพบว่ามีการละเมิดต่อกฎหมาย ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ หลายคนไม่รู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการต่อเติมบ้าน VG ขอพูดถึงการต่อเติมบ้าน การต่อเติมบ้าน 5 กรณี ที่ไม่ต้องขออนุญาต เพราะถูกต้องตามหลักกฎหมาย ทำได้ชัวร์! เพื่อเป็นความรู้ให้กับคุณเจ้าของบ้านที่กำลังคิดจะต่อเติมบ้าน

 

การต่อเติมบ้าน 5 กรณี ไม่ต้องขออนุญาต ถูกต้องตามหลักกฎหมายไทย

การต่อเติมแบบที่ 1 :  การ “เพิ่ม” หรือ “ลด” เนื้อที่ของพื้นชั้นใดชั้นหนึ่งรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และไม่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคาน ซึ่งหมายความว่า หากเกินกว่า 5 ตารางเมตร ก็ต้องขออนุญาต ย้ำอีกครั้งนะครับ! หากเพิ่มหรือลดมากกว่า 5 ตารางเมตร ต้องทำเรื่องขออนุญาตก่อนเริ่มทำ

การต่อเติมแบบที่  2  :  การ “เพิ่ม” หรือ “ลด” เนื้อที่ของหลังคารวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และไม่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคาน หมายความว่า ถ้าเกินกว่า 5 ตารางเมตร ก็ต้องขออนุญาต

การต่อเติมแบบที่ 3 : การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร ด้วยการใช้วัสดุ ขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม ซึ่งหมายความว่า ถ้าเรามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเป็นวัสดุที่แตกต่างจากเดิม ต้องขออนุญาต

การต่อเติมแบบที่ 4 : การเปลี่ยนส่วนใด ๆ ภายในบ้านที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร ด้วยการใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม หรือวัสดุชนิดอื่นที่ไม่ได้เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมเกิน 10% ของน้ำหนักเดิม ซึ่งหมายความว่า ถ้าเรามีการเปลี่ยนแปลงส่วนใด ๆ ภายในบ้านด้วยวัสดุที่แตกต่างจากเดิม หรือเพิ่มน้ำหนักเกินกว่า 10% ของน้ำหนักเดิม ต้องขออนุญาต

การต่อเติมแบบที่ 5 :  การเปลี่ยน ต่อเติม เพิ่ม ลด เนื้อที่ส่วนใด ๆ ก็ตามในบ้านที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างอาคาร และไม่เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างเกิน 10% ของโครงสร้างอาคารเดิม ซึ่งหมายความว่า ถ้าเรามีการเปลี่ยน ต่อเติม เพิ่ม ลด เนื้อที่ในบ้านด้วยวัสดุที่แตกต่างจากเดิม หรือเพิ่มน้ำหนักเกินกว่า 10% ของน้ำหนักเดิม ต้องขออนุญาต

 

หากพิจารณาถึงการต่อเติม 5 กรณีที่ไม่ต้องขออนุญาต สามารถทำได้เลย เพราะถูกตามหลักกฎหมาย จะเห็นได้ว่าการต่อเติมที่ไม่ต้องขออนุญาต  คือ การต่อเติมที่ไม่เกิน 5 ตารางเมตร ซึ่งหมายความว่าหากเกินกว่านั้นต้องขออนุญาตก่อน จึงจะสามารถต่อเติมได้ แต่ที่เราเห็นในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ที่ต่อเติมกัน ล้วนเกิน 5 ตารางเมตร แต่ไม่มีการขออนุญาตก่อนต่อเติม ถือว่าผิดกฎหมายเต็ม ๆ ดังนั้น หากจะต่อเติมแบบถูกกฎหมาย แนะนำให้ขออนุญาตก่อนจะดีกว่าครับ เพราะหากต่อเติมบ้านโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือแบบต่อเติมบ้านผิดไปจากแบบแปลนที่ยื่นขอไว้ มีโทษหนักอยู่เหมือนกัน โดยจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

 ขั้นตอนการขออนุญาตก่อนต่อเติมบ้าน

  1. ติดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่บ้านของเราตั้งอยู่ เช่น ถ้าบ้านของเราอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ก็ดำเนินเรื่องผ่านสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครที่พื้นที่ที่บ้านเราตั้งอยู่ ส่วนถ้าเป็นต่างจังหวัด เราอยู่จังหวัดไหน เราก็แจ้งกับองค์การบริหารจัดการส่วนท้องถิ่นของจังหวัดนั้นๆ
  2. ยื่นแบบขออนุญาตก่อสร้างอาคาร, ดัดแปลงอาคาร, รื้อถอนอาคาร
  3. เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ก็ต้องมายื่นขอรับใบอนุญาตดังต่อไปนี้
    * ใบแจ้งการออกใบอนุญาตก่อสร้าง, ดัดแปลง, รื้อถอนอาคาร ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ขออนุญาต
    * หลังจากนั้น ให้ขอรับใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร, ดัดแปลงอาคารรื้อถอนอาคาร ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งออกใบอนุญาตไว้

สำหรับการยื่นเรื่องขออนุญาตต่อเติมบ้าน อาจจะมีค่าใช้จ่ายเรื่องเอกสารและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตท้องถิ่นตามพื้นที่ที่บ้านเราตั้งอยู่ และอาจจะใช้เวลาในการขออนุญาตสักเล็กน้อย แต่เพื่อความถูกต้องตามหลักกฎหมายและเพื่อความปลอดภัย ทำให้ถูกต้องก่อนจะดีกว่าครับ

ก่อนต่อเติมบ้าน ควรบอกกล่าวเพื่อนบ้านด้วย (หากอยู่ในหมู่บ้านก็ควรแจ้งนิติ)

ก่อนจะเริ่มต่อเติมบ้าน ควรบอกกล่าวเพื่อนบ้านรอบข้างก่อน หากอยู่ในหมู่บ้านก็ควรแจ้งนิติเอาไว้ก่อน เป็นเรื่องที่ลืมไม่ได้โดยเด็ดขาด ต้องแจ้งว่าเราจะมีการต่อเติม รื้อถอน ตั้งแต่วันไหนถึงวันไหนบ้าง ช่วงเวลาใด อาจจะมีเสียงรบกวนและอาจทำให้เกิดความไม่สะดวกเล็กน้อยต้องขอโทษขออภัยด้วย  การบอกกล่าวแจ้งเตือนเพื่อนบ้านก็เหมือนกับการนึกถึงใจเขา ใจเรา บอกกล่าวกันไว้ก่อนจะได้ไม่มีปัญหาตามมาทีหลัง

ต่อเติมบ้าน 5 กรณี ไม่ต้องขออนุญาต ถูกต้องตามหลักกฎหมายแน่นอน เป็นเรื่องควรรู้ก่อนต่อเติมบ้านที่คุณเจ้าของบ้านควรรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับข้อกฎหมายเอาไว้ก่อน เมื่อคิดจะรื้อถอน ต่อเติม จึงจะสามารถทำให้ถูกขั้นตอนกระบวนการได้อย่างถูกต้อง

ขอบคุณข้อมูล :sanook.com

                         DDproperty.com

 


บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

หลังคากระเบื้องมีกี่ประเภท มีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง

หลังคา เป็นส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของบ้าน ทำหน้าที่ปกป้องดูแลบ้านจาก แดด ฝน ซึ่งในปัจจุบันวัสดุหลังคามีให้เลือกหลากหลายมาก หลังคากระเบื้องก็เป็นวัสดุหลังคาประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงมาก เนื่องจากมีความสวยงามเข้ากับบ้าน และสามารถป้องกันความร้อนได้ดี หลังคากระเบื้องมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันออกไป วันนี้ VG จะพามาเจาะลึกรายละเอียดของหลังคากระเบื้องแต่ละประเภท เพื่อเป็นประโยชน์กับคุณเจ้าของบ้านกันครับ
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

ดีกว่าแน่! แค่ใช้งานหลังคาไวนิล VG ตัวเลือกที่ตอบโจทย์ด้านคุณภาพ

เชื่อว่าเหตุผลส่วนใหญ่ที่หลายบ้านใช้งาน “หลังคาไวนิล” มาจากเหตุผลสำคัญในเรื่องคุณภาพที่ตอบโจทย์ความคุ้มค่า ลงทุนซื้อหลังคาไวนิลราคาแพงกว่าวัสดุประเภทอื่นอีกไม่เท่าไหร่ แต่ใช้งานกันยาวนานหลายปี ทว่าหากคุณได้รู้จักกับหลังคาไวนิล VG นี่คือตัวเลือกที่พร้อมสร้างความพึงพอใจด้านมาตรฐานอย่างดีที่สุด และยังผลิตจากวัสดุคุณภาพสูงมาก ช่วยให้บ้านหลังนี้มีระดับยิ่งกว่าเคย
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

รู้จักกับ iR-uPVC นวัตกรรมสุดล้ำของรางน้ำฝนไวนิลที่เหนือกว่าทุกด้าน

รางน้ำฝนไวนิลเป็นตัวเลือกยอดนิยมของหลายๆ บ้าน เพราะมีราคาที่ไม่แพง และมีดีไซน์หลากหลาย VG จึงได้พัฒนารางน้ำฝนไวนิลขึ้นไปอีกระดับด้วยนวัตกรรม iR-uPVC เพื่อสร้างรางน้ำฝนที่พิเศษและล้ำสมัยไม่ซ้ำใคร
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

เลือกใช้อิฐแบบไหนดี? ให้ดีที่สุดกับบ้านเรา

อิฐ ถือเป็นส่วนประกอบหลักพื้นฐานของการสร้างบ้าน รากฐานสำคัญที่ทำให้บ้านเป็นรูปเป็นร่าง อิฐมีหลายประเภทแตกต่างกันตามคุณสมบัติ ซึ่งล้วนมีผลต่อความแข็งแรง คงทน การระบายความร้อน ความชื้นของบ้าน การรับน้ำหนัก คุณสมบัติกันไฟ ตลอดจนเวลาในการก่อสร้าง 
Inbox
Call
Line