fbpx
รางน้ำไวนิล

ติดตั้งหลังคาทั้งที แบบไหนคุ้มค่าและดีที่สุดสำหรับคุณ

การติดตั้งหลังคาเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับเจ้าของบ้าน หลายคนที่กำลังสร้างบ้านหรือต่อเติมบ้าน ต้องตัดสินใจเลือกติดตั้งหลังคา  ก็อาจจะกำลังเจอปัญหา ว่า เอ๊ะ! ต้องเลือกหลังคาอะไรดี แบบไหนถึงจะคุ้มค่าและดีที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าเราต่างก็รู้ ๆ กันอยู่ว่าหลังคาไม่ไช่สิ่งที่เปลี่ยนกันบ่อย ๆ นอกจากเรื่องราคาควรคำนึงถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจ ตามมา เช่น การเกิดสนิม อากาศร้อนอบอ้าว เสียงดังเวลาฝนตก ฯลฯ หลังคาจะอยู่กับเราไปอีกหลายสิบปี ติดตั้งหลังคาทั้งที ควรเลือกแบบที่ดี คุ้มค่า จ่ายครั้งเดียวจบ

 วันนี้ VG มาแนะนำวัสดุหลังคาที่คุ้มค่า และดีที่สุดสำหรับคุณเจ้าของบ้าน ก่อนจะติดตั้งหลังคา ต้องเลือกวัสดุที่เหมาะกับความต้องการ เลือกที่ใช่ จ่ายครั้งเดียวจบ

 

  • สังกะสี (Zinc sheet)

หลังคาสังกะสี (Zinc sheet) คือ หลังคาที่ทำมาจากแผ่นเหล็กเคลือบโลหะสังกะสีเกือบ 100% มีขั้นตอนการผลิตโดยนำแผ่นเหล็กไปชุบหรืออาบโลหะสังกะสีด้วยความร้อน ลักษณะผิวมีความมันเงา มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย มีหลายขนาด มีหลายสีให้เลือก ราคาจำหน่ายแตกต่างกันไปตามสีและคุณภาพของสังกะสี

เหมาะสำหรับ : สายงบน้อย ต้องการหลังคาใช้งานแบบกันแดด กันฝน ได้ทั่วไป ไม่สนใจเรื่องความสวยงาม ความทนทาน และไม่ซีเรียสเรื่องเสียงดังเวลาฝนตก

ข้อเสีย : เนื่องจากเป็นโลหะจึงเกิดสนิมได้ง่าย มีปัญหาเรื่องการเปราะ แตก และเป็นรู เกิดปัญหารั่วซึมได้ง่าย เสียงดังมากเวลาฝนตก ไม่ทนต่อแรงลม  ไม่สามารถทนทานต่อแรงกระแทกได้ (บริเวณจังหวัดใดที่มีลูกเห็บตกในช่วงฤดูฝนอยู่บ่อยครั้ง จึงไม่ควรติดตั้งหลังคาสังกะสี) มีปัญหาเรื่องความสวย ทันสมัย ไม่เข้ากับบ้านสไตล์โมเดิร์น และบ้านสมัยใหม่   

อายุการใช้งาน :  เฉลี่ยประมาณ  2 – 5 ปี (ไม่นานเพราะจะขึ้นสนิมเร็วทำให้ผุง่าย)

รู้หรือไม่… สังกะสีกับเมทัลชีทต่างกันแค่โลหะที่ใช้เคลือบเท่านั้น

  •  สังกะสี คือ แผ่นเหล็กเคลือบโลหะสังกะสีลักษณะผิวมีความมันเงา 
  • เมทัลชีท คือ แผ่นเหล็กเคลือบด้วยสารป้องกันสนิมนำมาขึ้นรูปลอน 

  • เมทัลชีท (Metal Sheet)

หลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet) คือ หลังคาที่ทำมาจากเหล็กที่ผ่านการรีดจนบาง  ก่อนจะขึ้นรูปเป็นลอนยาว มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่ายสามารถดัดองศาได้มากตามต้องการ อีกทั้งยังมีหลากหลายสีสันให้เลือก และมีราคาที่ไม่แพงมาก

เหมาะสำหรับ : สายประหยัด กันแดด กันฝนได้ทั่วไป ไม่สนใจเรื่องความสวยงามและความทนทานมากนัก

ข้อเสีย : สามารถกันแดดกันฝนได้ทั่วไป  คนส่วนใหญ่มองว่าเมทัลชีทไม่เกิดสนิม แต่จริง ๆ แล้วสามารถเกิดสนิมได้จากรูที่ยึดสกรู และด้วยความที่เป็นเหล็กจึงกักเก็บและแผ่รังสีความร้อนค่อนข้างเยอะกว่าวัสดุชนิดอื่น ทำให้บ้านร้อน (ปัจจุบันจึงมักติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติมด้วย) อีกทั้งยังมักจะเกิดเสียงดังมากเวลาฝนตก และความบางของเหล็กเมื่อผ่านระยะเวลานาน ๆ จะเกิดการชำรุดและผิดรูปได้ง่ายครับ

อายุการใช้งาน : เฉลี่ยประมาณ  10-20 ปี (ขึ้นอยู่กับเกรดที่ใช้ซึ่งเช็คยากมาก ดูไม่ออกซึ่งอายุอาจจะสั้นลงหากติดหรือใกล้ทะเลเพราะไอเกลือจากทะเลกัดกร่อนวัสดุ อีกทั้งไอเค็มจะกัดกร่อนเหล็กและโลหะจนขึ้นสนิมได้ง่าย)

 

  • เมทัลชีท (PE Foam ,PU Foam)

หลังคาเมทัลชีทติดฉนวนกันความร้อน PE Foam ,PU Foam  เป็นการติดตั้งหลังคาโดยใช้วัสดุหลังคาเมทัลชีท และมีการติดฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น PE Foam หรือ PU Foam โดยจะสามารถกันความร้อนได้ดีกว่าการติดหลังคาเมทัลชีทแบบเปล่า ๆ ในปัจจุบันการติดตั้งแบบนี้ ได้รับความนิยมมากพอสมควร

เหมาะสำหรับ : สายคุณภาพปานกลาง มีงบจำกัด กันความร้อนได้เบื้องต้น โฟมมีอายุการใช้งานของกาว

อายุการใช้งาน : เฉลี่ยประมาณ 10-20 ปี  (PE Foam 1-5  ปี , PU Foam 5-10 ปี)

ข้อเสีย : แม้จะติดฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติม แต่การกันความร้อนขึ้นอยู่กับความหนาของโฟม กันเสียงได้ระดับหนึ่ง ตัวโฟมมีอายุการใช้งานของกาว ซึ่งเมื่อใช้ไปสักระยะเวลาหนึ่งก็ต้องเปลี่ยนใหม่  PE Foam บางชนิดมีสารก่อมะเร็ง เมื่อหลุดร่อนแล้ว หากสูดดมทุกวันหรือละอองลอยปะปนไปในน้ำดื่มหรืออาหาร เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้

 

  • ไวนิล (Vinyl)

หลังคาไวนิล ทำมาจาก UPVC มีความยืดหยุ่นสูง รองรับแรงกระแทก ได้เป็นอย่างดีมีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย  กันรังสีUV กันความร้อนได้ดีเยี่ยม ใต้ชายคาไม่ร้อน ไม่สะสมความร้อน ไม่ต้องบุฉนวนเพิ่ม ไม่ลามไฟ ดูดซับเสียงได้ดี เวลาฝนตกเสียงไม่ดัง ไม่เกิดสนิมตลอดการใช้งาน

เหมาะสำหรับ : สายคุ้มค่า ดีไซน์ทันสมัยเข้ากับบ้าน ทนทาน ไม่เป็นสนิม ซับเสียงดี กันความร้อน บ้านเย็นสบาย

ข้อเสีย : ราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าวัสดุอื่นหน่อย เมื่อใช้งานไปในระยะเวลานาน ๆ สีของตัววัสดุอาจจะเปลี่ยนไป ไม่สดใสเหมือนเดิม

อายุการใช้งาน : เฉลี่ยประมาณ 10-20 ปี (ไวนิลมีหลายเกรด ขึ้นอยู่กับยี่ห้อที่เลือกใช้)

230750

 

  • แผ่นโพลีคาร์บอเนต ลูกฟูก (Polycarbonate)

แผ่นโพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate) ทำมาจากเม็ดพลาสติก ลักษณะเป็นลอนฟูก มีคุณสมบัติโปร่งแสง น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย มีความยืดหยุ่นสูง แผ่นดัดโค้งได้ตามต้องการ จึงมักนิยมใช้กับหลังคาหรือกันสาดที่มีรูปทรงโค้ง มีราคาถูก และมีสีสันให้เลือกเยอะ 

เหมาะสำหรับ : สายรักธรรมชาติ ชอบแสงแดด ดีไซน์โปร่ง เพิ่มแสงสว่าง ไม่เน้นความทนทาน

ข้อเสีย : เมื่อใช้ไปสักระยะหนึ่งอาจมีการเปราะแตกเป็นรูเล็กๆ ทำให้น้ำขัง และฝุ่นเข้าไปทำให้เป็นคราบดำ ตะไคร่น้ำ ไม่ค่อยทนทาน แผ่นกรอบแตกหักได้ง่าย มีเสียงดังเวลาฝนตก

อายุการใช้งาน : เฉลี่ยประมาณ 5-10  ปี

  • อะคลิริก (Acrylic)

หลังคาอะคลิลิก มีน้ำหนักมาก ทนต่อรังสี UV ได้ดีและกันรังสีอินฟาเรต ลดความร้อนใต้หลังคาได้ประมาณ 5องศา ทำให้ไม่ร้อนกันความร้อนได้ดีกว่าแผ่นโปร่งแสงแบบอื่นๆ มีความคงทน มีความทันสมัย

เหมาะสำหรับ : สายรักความสว่างไสว ชอบแสงแดด โปร่งแสงความใสเท่ากระจก

ข้อเสีย : ปัญหาใหญ่สุดคือมีราคาที่สูงมากๆกว่าวัสดุทั่วไป แผ่นมีความยืดหยุ่นน้อย ทนแรงกระแทกได้น้อยกว่าวัสดุอื่นๆ การซับเสียงขึ้นอยู่กับความหนา มีอัตราการขยายตัวมากจึงทำให้ต้องเว้นระยะการติดตั้งให้ดี ต้องติดตั้งกับผู้ที่ผ่านมาตรฐานรับรอง 

อายุการใช้งาน : เฉลี่ยประมาณ 10 ปีขึ้นไป

  • ไฟเบอร์กลาส (Fiberglass)

ไฟเบอร์กลาส (Fiberglass)  ผลิตมาจากเส้นใยแก้ว มีน้ำหนักเบา ขึ้นรูปดัดโค้งได้ สะดวกต่อการขนย้าย ติดตั้งง่าย ยืดหยุ่นได้ดี ป้องกันรังสี UV ทนต่อความร้อน ไม่ลามไฟ ทนทุกสภาวะสิ่งแวดล้อม คงรูปเดิมได้ดี ไม่มีการหดตัว ไม่เน่าเปื่อยหรือผุกร่อน มีสีสันให้เลือกหลากหลาย

เหมาะสำหรับ : สายชอบความสวย โล่ง โปร่ง ดูสบายตา

ข้อเสีย : มีราคาค่อนข้างสูง อาจจะเกิดปัญหารั่วซึมตามรอยสกรูในระยะยาว สีมีการซีดเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลาจนสามารถมองเห็นเส้นไฟเบอร์ได้ค่อนข้างชัดเจน เสียงยังถือว่าดัง แต่ไม่ดังเท่าเมทัลชีท

อายุการใช้งาน : เฉลี่ยประมาณ 10 ปี

 

  • หลังคา PVC, APVC

 PVC, APVC หลังคาชนิดนี้มีลักษณะคล้ายเมทัลชีท ตัวแผ่นมีทั้งแผ่นใสและแผ่นสี วัสดุแผ่นมีความหนา 3  ชั้น บุฉนวนกันความร้อนเป็นไส้ตรงกลาง ราคาสูงกว่าเมทัลชีท เสียงไม่ดังเท่าเมทัลชีท ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบา มีสีให้เลือกเยอะ  

เหมาะสำหรับ :  สายต้องการคุณภาพกลาง ๆ กันเสียงได้ดีระดับนึง แต่ยังกันความร้อนได้ไม่ดีมากนัก

ข้อเสีย : ทนความร้อนได้ไม่ดีนัก ความร้อนใต้ชายคายังมีการสะสมอยู่บ้าง เสียงค่อนข้างดังเวลาฝนตก เมื่อใช้ไปนาน ๆ แผ่นอาจขยายตัว สีอาจซีดจาง

อายุการใช้งาน : เฉลี่ยประมาณ 10 – 15 ปี

 

การศึกษาข้อมูล ข้อดี ข้อเสีย ของวัสดุหลังคาก่อนตัดสินใจเลือกซื้อเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ วันนี้ VG ได้เสิร์ฟข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับวัสดุหลังคาแต่ละประเภท เพื่อช่วยให้คุณเจ้าของบ้านตัดสินใจง่ายขึ้นว่าต้องการหลังคาแบบไหนใช้ติดตั้งคู่บ้าน ซึ่งการเลือหลังคาที่ดีคือต้องเลือกวัสดุหลังคาที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณเจ้าของบ้าน เลือกให้ดีก่อนตัดสินใจ คำนึงถึงราคา การนำไปใช้งาน และความคุ้มค่า หากเลือกผิด อาจต้องซ่อมหรือเปลี่ยนจนงบานปลาย ดังนั้น ติดตั้งหลังคาทั้งที เลือกวัสดุหลังคาที่ดี คุ้มค่า หมดปัญหาตามมาในภายหลังอย่างแน่นอนครับ

 

 

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก

| MThai.com 

BP rungruang

SCG HOME 

(condonewb.com)


บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

ทำความรู้จักกับ “รางน้ำฝน” หนึ่งในส่วนสำคัญที่ช่วยปกป้องบ้าน

รางน้ำเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่คอยช่วยปกป้องบ้านจากน้ำฝนที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายอันน่าสะเทือนใจ ในปัจจุบันมีรางน้ำให้เลือกหลากหลาย ซึ่งแต่ละแบบก็มีคุณสมบัติต่างกันไป การเลือกรางน้ำให้บ้านจึงต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมของวัสดุกับการใช้งาน รวมไปถึงความชอบที่ผู้อยู่อาศัยพึงพอใจด้วย
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

เรื่องควรรู้ ก่อนเริ่มสร้างบ้าน

เรื่องควรรู้ ก่อนเริ่มสร้างบ้าน เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากที่คุณเจ้าของบ้านต้องทำความเข้าใจ และทำความรู้จักกับเรื่องบางเรื่อง หรือบางเรื่องที่คิดว่าไม่สำคัญ แต่พอเอาเข้าจริงแล้วก็จำเป็นต้องรู้อยู่เหมือนกัน คุณเจ้าของบ้านจึงควรศึกษาหาความรู้ไว้ ตั้งแต่เรื่องทำเลที่ตั้ง กฎหมายเกี่ยวกับบ้าน การถมที่ดิน ทิศทางแดด - ลม แบบบ้านที่จะใช้ในการสร้างบ้าน จำนวนสมาชิกในครอบครัว งบประมาณในการใช้สร้างบ้าน เอกสารขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน การเลือกระหว่างบริษัทสร้างบ้าน ผู้รับเหมาหรือช่าง และที่สำคัญคือต้องรู้ขั้นตอนการสร้างบ้านแบบคร่าว ๆ เรื่องเหล่านี้ต้องทำความเข้าใจไว้ก่อนนะครับ
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

รางน้ำฝนราคาต่างกัน เพราะ 3 เหตุนี้! พร้อมวิธีเลือกรางน้ำให้ตอบโจทย์

สาเหตุที่รางน้ำฝนราคาต่างกันเป็นเพราะอะไรบ้าง? แล้วถ้ากำลังมองหารางน้ำดีๆ ต้องเลือกอย่างไรให้เหมาะสมที่สุด? VG จะพามาหาคำตอบ!
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

แชร์ 4 เคล็ดลับ การดูแลหลังติดตั้งรางน้ำฝน ฝนแรงแค่ไหนก็เอาอยู่!

บอกต่อเคล็ดไม่ลับดีๆ ในการดูแลรักษาหลังการติดตั้งรางน้ำฝน เจ้าของบ้านทุกคนต้องจดเอาไว้ ยืดอายุรางน้ำฝน ใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น
Inbox
Call
Line