fbpx
รางน้ำไวนิล

Blog - จะติดรางน้ำฝนให้บ้านทั้งที ต้องรู้ว่ามีวัสดุแบบไหนบ้าง

การติดรางน้ำฝนสักชุดให้กับบ้านที่เรารัก นอกเหนือจากเรื่องของความจำเป็นแล้ว มีสิ่งหนึ่งที่ต้องศึกษาให้รู้และเข้าใจ นั่นคือเรื่องประเภทของวัสดุ การรู้ข้อดี-ข้อเสียจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจเลือกวัสดุให้เหมาะกับงบประมาณและดีไซน์บ้านตัวเอง นอกจากนี้ยังช่วยเซฟเงินในอนาคตได้ด้วย ไม่ต้องคอย ซ่อมนู่น เปลี่ยนนั่น แก้นี่ จุกจิกไม่รู้จบ

แล้วรางน้ำฝนส่วนใหญ่มีวัสดุอยู่กี่ประเภท?

1. สังกะสี

ถือเป็นประเภทถูกใจสายประหยัด เพราะมีราคาถูก หาซื้อง่าย ติดตั้งง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้ช่างเฉพาะทาง เน้นการใช้งานไม่ได้สนใจเรื่องของความสวยงาม ข้อเสีย คือ เกิดสนิมได้ง่าย ผุง่าย ไม่ทนต่อการกัดกร่อน อายุการใช้งานสั้นกว่ารางน้ำฝนทุกประเภท

2. อลูมิเนียม

อลูมิเนียม สามารถออกแบบตัวรางน้ำฝนให้รับเข้ากับดีไซน์บ้านได้ น้ำหนักเบา เหมาะกับเจ้าของบ้านที่ต้องการรูปทรงแปลกๆและทำสีได้ ดูสวยงาม ไร้รอยต่อ ไม่ค่อยมีปัญหารั่วซึมตามขอบ ทนกว่าสังกะสี แต่ยังมีปัญหาเรื่องสนิม, การผุกร่อน และราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับอายุการใช้งาน

3. สแตนเลส

รางน้ำฝนสแตนเลสเกรด 304 จะเรียกว่ายอดนิยมก็ไม่ผิด ถึงแม้ราคาจะสูงกว่าวัสดุ 2 ประเภทแรก แต่แข็งแรงที่สุดในบรรดาวัสดุแบบโลหะ และมีน้ำหนักพอสมควร ข้อเสียเป็นเรื่องของสนิม และปัญหาเรื่องรูรั่วตามรอยเชื่อมในจุดต่างๆ ดังนั้นควรปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญที่รับงานติดตั้งสแตนเลสจะดีที่สุด

4. ไฟเบอร์กลาส

พบเห็นได้บ่อยตามอาคารในโซนอุตสาหกรรมเคมี มีความทนทานสูงมาก เพราะเนื้อวัสดุไม่ทำปฏิกิริยาด้านเคมี ทำให้ไม่เกิดการกัดกร่อน ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่จะสามารถผลิตรางน้ำฝนไฟเบอร์กลาสในเกรดที่ใช้กับบ้านเรือนได้แล้วก็ตาม ราคาก็ยังถือว่าสูงมาก เมื่อเทียบกับวัสดุประเภทอื่นๆ

5. ไวนิล

ไวนิล หรือ uPVC เป็นนวัตกรรมใหม่ที่กระแสความนิยมสูงมากในช่วงหลัง เนื้อเหนียว แข็งแรง น้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นสูง สามารถออกแบบรูปทรงให้รับเข้ากับดีไซน์บ้านสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี เช่น รางน้ำฝน VG iR-uPVC ที่มีอายุการใช้งานกว่า 15 ปีจากการทดสอบใช้งานจริง สำหรับคุณสมบัติพิเศษของไวนิล คือ ไม่เป็นสนิม, ไม่เป็นคราบ, ไม่ลามไฟ สามารถหาซื้อได้ง่ายและสะดวก  แม้ราคาจะค่อนข้างสูง แต่ถือว่าคุ้มเงินที่สุดเมื่อเทียบกับอายุการใช้งานที่ยาวนาน ส่วนที่ต้องระวัง คือ งานติดตั้ง หากช่างไม่ชำนาญ ติดตั้งไม่ดี อาจทำให้มีน้ำรั่วซึมตามขอบมุมต่างๆได้จะเห็นได้ว่าวัสดุแต่ละประเภท มีข้อดี ข้อเสีย รวมถึงคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกัน แน่นอนว่าเรื่องงบประมาณก็เป็นสิ่งสำคัญที่กำหนดให้เราเลือกใช้รางน้ำฝนประเภทไหน ได้ หรือไม่ได้ แต่หากจะมองเรื่องของความคุ้มค่าในระยะยาว โดยเน้นที่อายุการใช้งานเป็นหลัก วัสดุประเภทไวนิลตอบโจทย์ข้อนี้ได้ดีที่สุด แถมยังไม่ต้องบำรุงรักษาเยอะเท่าวัสดุประเภทโลหะด้วย


บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

ราคารางน้ำฝนไวนิลแพงไหม คุ้มรึเปล่าที่จะติดตั้งรางน้ำฝนชนิดนี้?

ราคารางน้ำฝนไวนิลแพงไหม? คงเป็นคำถามลำดับต้นๆ ที่หลายคนอยากรู้ โดยเฉพาะคนที่กำลังจะมีบ้านเป็นต้องตัวเอง มาหาคำตอบด้วยกันกับ VG ในบทความนี้
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

ขั้นตอนการสร้างบ้าน ตั้งแต่ต้นจนสำเร็จ

บ้านหนึ่งหลัง กว่าจะเริ่มปลูกสร้างตั้งแต่ต้นจนสำเร็จสามารถเข้าไปพักอาศัยได้ ต้องใช้เวลานานเป็นปี ๆ แถมมีขั้นตอนเยอะแยะมากมาย ทำเอาหลายคนกุมขมับ พยายามทำความเข้าใจแต่ก็ยากแสนยากที่จะเข้าใจได้ วันนี้ VG เลยมาสรุปขั้นตอนการสร้างบ้าน ตั้งแต่ต้นจนสำเร็จแบบง่าย ๆ 10 ขั้นตอนที่คุณเจ้าของบ้าน อ่านแล้วเข้าใจได้ แม้จะไม่ใช่ช่างก็ตาม เพราะเรื่องบ้านเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ การรู้ขั้นตอนการสร้างบ้านจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่เจ้าของบ้านต้องรู้
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

ต่อเติมหลังคาโรงรถ ต้องทำยังไงบ้าง!

การต่อเติมหลังคาโรงรถเป็นสิ่งสำคัญมาก   เพราะรถสุดรักสุดหวงของเราจะได้รับการปกป้องจากแสงแดด สายฝน มลภาวะต่าง ๆ  โดยจุดประสงค์หลักของการต่อเติมหลังคาก็เพื่อช่วยบำรุงรักษาอายุการใช้งานรถ ทั้งนี้ในการก่อสร้างควรคำนึงถึงวัสดุของหลังคาที่นำมาต่อเติม นอกจากนี้หลายคนยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี หากต้องการต่อเติมหลังคาโรงรถ ต้องเริ่มต้นจากจุดไหน วันนี้ VG จะมาแนะนำวิธีต่อเติมหลังคาโรงรถตั้งแต่ต้นจนจบ
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

ข้อดีและข้อเสียของการปลูกบ้านชั้นเดียว รู้ไว้ก่อนสร้างบ้าน

บ้านชั้นเดียว คือ บ้านที่มีเพียง 1 ชั้น มีฟังก์ชันการใช้งานทั้งหมดอยู่ชั้นเดียว บ้านชั้นเดียว ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะมีข้อดีหลายข้อ เช่น ราคาถูกกว่าบ้านสองชั้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีจำนวนสมาชิกครอบครัวไม่มาก ไม่มีบันไดขึ้นไปชั้น 2 ดีต่อครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ เป็นต้น วันนี้ VG เลยมาบอกเล่าข้อดีและข้อเสียของบ้านชั้นเดียว เพื่อเป็นปะโยชน์แก่คุณเจ้าของบ้าน รู้ไว้ก่อนสร้างบ้าน
Inbox
Call
Line