fbpx
รางน้ำไวนิล

เทคนิคการเลือกซื้อหลอดไฟในบ้านด้วยตัวเอง

แสงสว่าง เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตที่ทุกบ้านไม่สามารถขาดไปได้ ในเวลากลางวันบ้านจะมีแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ แต่ในเวลากลางคืนบ้านจะไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์ เราจึงมีการติดตั้งไฟฟ้า มาใช้เพื่อชดเชยแสงสว่าง สำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้ราบรื่นตลอดทั้งวัน

เมื่อหลอดไฟที่เคยส่องสว่างในบ้านเสื่อมคุณภาพ จนไม่สามารถใช้งานได้เหมือนเดิม ก็ถึงคราวที่ต้องหาซื้อหลอดไฟมาเปลี่ยนใหม่ แต่หลายครั้งที่การเลือกหลอดไฟในบ้านกลับกลายเป็นเรื่องยากต่อการตัดสินใจ จนไม่รู้ว่าจะเลือกใช้หลอดไฟแบบไหน ให้ตอบโจทย์การใช้งานที่สุด

ปัจจุบัน มีหลอดไฟให้เลือกใช้งานมากมายหลายชนิด มีทั้งชนิดที่เคยได้รับความนิยมในอดีต ชนิดที่ยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน และชนิดที่มีการผลิตขึ้นมาใหม่ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างลงตัวกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ สำหรับใครที่กำลังมองหาหลอดไฟไว้ใช้งานในบ้านแต่ยังไม่รู้ว่าควรเลือกหลอดไฟแบบไหนดี เรามีเทคนิคในการเลือกซื้อหลอดไฟแบบเข้าใจง่ายมาแนะนำกันค่ะ

 

เทคนิคการเลือกซื้อหลอดไฟในบ้านด้วยตัวเอง

1. การเลือกหลอดไฟจากโทนสีของแสงที่ต้องการ

ก่อนที่เราจะเลือกหลอดไฟ ไปติดตั้งในห้องใดห้องหนึ่ง อย่างแรกเลย เราต้องรู้ฟังก์ชันการใช้งานในห้องนั้น ๆ เสียก่อน เพราะสีไฟที่ต่างกัน ก็เหมาะกับการใช้งานที่ต่างกัน เช่น ห้องนอน ห้องรับแขก เหมาะกับไฟสีส้ม เพราะทำให้บรรยากาศดูอบอุ่น ผ่อนคลาย ส่วนไฟสีขาวนั้นเหมาะกับห้องทำงาน ห้องครัว เพราะเป็นพื้นที่ที่ต้องการสมาธิในการใช้งาน ไฟสีขาวจะช่วยทำให้สีในห้องไม่ผิดเพี้ยน และสามารถเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ได้ชัดเจน กว่าไฟสีส้ม ซึ่งโดยทั่วไปสีไฟที่นิยมใช้กันในบ้านก็มี สี warm white (แสงสีเหลือง ๆ อมส้ม) สี cool white (แสงสีฟ้าขาว) และสี Daylight White (แสงสีใกล้เคียงกับแสงอาทิตย์)

 

หลอดไฟ Warm White การเลือกหลอดไฟในบ้านประเภท Warm White ที่มีอุณหภูมิสีประมาณ 2,500 – 3,300 เคลวิน ให้แสงในโทนส้ม ทำให้รู้สึกถึงความอบอุ่น ผ่อนคลาย เป็นกันเอง โดยการเลือกหลอดไฟชนิดนี้ เหมาะนำไปใช้ในห้องนอน ห้องรับแขก ห้องน้ำ เพราะจะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับห้อง ข้อควรระวัง คือ การเลือกหลอดไฟที่ให้แสง Warm White จะทำให้สีที่สะท้อนกลับมาผิดไป ไม่ตรงตามความจริงได้ เช่น เห็นเสื้อสีขาวเป็นสีนวล หรือทำให้การแต่งหน้ามีสีที่ผิดเพี้ยนไปได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการนำไปติดตั้งในบริเวณสำหรับกิจกรรมที่ต้องการเห็นค่าสีของวัตถุตรงตามสีนั้นจริง ๆ 

 

 

หลอดไฟ Cool White การเลือกหลอดไฟในบ้านประเภท Cool White ที่มีอุณหภูมิสี 4,000 เคลวิน อยู่ระหว่างแบบ Warm White และ Daylight White แสงที่ได้จะเป็นสีค่อนข้างขาว และเป็นสีโทนเย็น ซึ่งมองแล้วให้ความสบายตา หลอดไฟประเภทนี้นิยมใช้กันในร้านค้า เพื่อช่วยให้สีสันของสินค้าดูสดใสกว่าความเป็นจริง

 

หลอดไฟ Daylight White การเลือกหลอดไฟในบ้านประเภท Daylight White ที่มีอุณหภูมิสี 6,000 – 6,500 เคลวิน โทนสีนี้ ถือเป็นสีมาตรฐานที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะให้สีใกล้เคียงกับแสงอาทิตย์ จึงไม่ทำให้สีของวัตถุที่สะท้อนกลับมาผิดเพี้ยน แสง Daylight White ยังสามารถใช้ได้กับทุกที่ที่ต้องการความสว่างสดใส ถ้าหากเลือกไปใช้เป็นหลอดไฟในบ้าน ความสว่างสดในของโทนแสงจะสามารถช่วยกระตุ้นร่างกายให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าได้มากยิ่งขึ้น

การเลือกใช้งานหลอดไฟในบ้านของทั้ง 3 โทนสีนี้ยังสามารถผสมผสานรวมกัน เพื่อไม่ให้โทนสีใดสีหนึ่งเด่นเกินไปได้อีกด้วย เช่น การเลือกใช้หลอดไฟประเภท Warm White ผสานกับแบบ Cool White ในห้องทานข้าวจะช่วยให้บรรยากาศดูอ่อนโยน แต่ในขณะเดียวกันก็ยังส่งเสริมให้อาหารดูน่ารับประทานยิ่งขึ้น หรือการใช้หลอดไฟโทน Warm White เพื่อเน้นเฟอร์นิเจอร์ให้ดูโดดเด่นท่ามกลางแสง Daylight เป็นต้น

2. การเลือกขั้วหลอดไฟให้เหมาะสม 

ขั้วหลอด คือ ส่วนที่เป็นโลหะสีเงิน ๆ ด้านล่างหลอด มีหลายแบบและหลายขนาด ขึ้นอยู่กับประเภทของหลอดไฟ ขั้วของหลอดไฟ แตกต่างกันไปตามประเภทของหลอดไฟนั้น ๆ เมื่อถึงคราวต้องเปลี่ยนหลอดไฟ การตรวจดูประเภทของขั้วหลอดไฟ จึงเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญ เพราะการเลือกหลอดไฟที่มีขั้วไม่สอดคล้องกับโคมไฟ หรือรางหลอดไฟที่บ้าน อาจทำให้จะต้องเสียเงินเพื่อซื้อหลอดใหม่ได้ 

ประเภทของหลอดไฟ จะสัมพันธ์กับการใช้งานพื้นที่ต่าง ๆ ของบ้าน หลอดไฟที่ดีควรช่วยประหยัดไฟ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน สำหรับประเภทหลอดไฟที่นิยมใช้ในบ้านทุกวันนี้มี 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

 

หลอดไส้ เป็นหลอดไฟที่ปล่อยพลังงานไฟฟ้าผ่านขดลวด ให้เปล่งแสงออกมา ปัจจุบันมีการพัฒนาให้ดีขึ้น เพื่อยืดอายุการใช้งาน เหมาะกับเจ้าของบ้านที่มีความต้องการเน้นบรรยากาศในห้อง หรือบริเวณที่ต้องการความสว่างเป็นพิเศษ เช่น ใช้ในตู้โชว์ หรือส่องรูปภาพบนผนังให้โดดเด่น เป็นต้น

 

หลอดคอมแพ็กฟลูออเรสเซนซ์ หรือที่รู้จักกันในนามหลอดตะเกียบ หลอดไฟที่ส่งผ่านประจุจากขั้วลบไปยังขั้วบวก เพื่อเกิดแสงสว่าง เป็นหลอดที่นิยมใช้งาน เนื่องจากมีอายุการใช้งานยาวนาน ให้แสงสว่างสูง และประหยัดไฟได้ 75% – 80% ของหลอดไส้ ซึ่งเหมาะกับเจ้าของบ้านที่มีความต้องการติดตั้งไฟที่ต้องเปิดไฟทิ้งไว้นาน ๆ เช่น ประตูรั้วหน้าบ้าน

 

หลอดไฟ LED ในบ้าน  เป็นหลอดไฟขนาดเล็กที่สุด แต่ให้แสงสว่างได้ดี แถมยังไม่แผ่ความร้อน จึงช่วยยืดอายุการใช้งานของหลอดยาวนานขึ้น หลอดไฟในบ้านประเภทนี้ สามารถเปิด-ปิดได้บ่อยครั้ง โดยไม่เสื่อมสภาพไปตามจำนวนการกดสวิตช์ นอกจากนี้หลอดไฟ LED ยังไม่มีการปล่อยรังสียูวี ที่ทำร้ายผิว และสายตาของเราด้วย ซึ่งเหมาะกับเจ้าของบ้านที่มีความต้องการใช้หลอดไฟ LED ในทุก ๆ จุดของบ้าน เพราะมีราคาถูกลง จับต้องได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย

 

 

3. การเลือกหลอดไฟ ให้ระดับความสว่างเหมาะกับพื้นที่ 

ความสว่างที่ไม่เหมาะสม นอกจากจะทำให้ mood and tone ของบ้านไม่เป็นไปดั่งใจแล้ว ยังอาจส่งผลเสียที่ใหญ่กว่านั้น เช่น การอ่านหนังสือในบ้านที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ สามารถทำลายสายตาของเราได้ หรือแสงสว่างที่มากเกินไปก็จะทำให้ห้องที่มีไว้สำหรับพักผ่อนดูแข็งกระด้าง เป็นต้น นอกจากจะเลือกหลอดไฟจากโทนสีของแสงที่ต้องการแล้ว ระดับความสว่างที่เหมาะสมจึงเป็นอีกหนึ่งข้อที่ควรคำนึงถึง

 

 

4. การเลือกหลอดไฟ ให้เหมาะสมกับจำนวนวัตต์

วัตต์ (Watt หรือ W) คือ หน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่เป็นตัวบอกอัตราการกินไฟของหลอดไฟ เช่น หลอดไฟ 100 วัตต์ หมายความว่า หลอดกินไฟ 100 วัตต์ต่อชั่วโมง อธิบายง่าย ๆ คือ ยิ่งวัตต์มากก็ให้แสงที่สว่างมาก และผลที่ตามมาก็คือกินไฟมากเช่นกัน ดังนั้น จึงมีการคิดค้นหลอดประหยัดไฟขึ้นมา เช่น หลอด LED ถึงแม้จะมีราคาแพง แต่ถ้าเทียบกับค่าไฟในระยะยาวก็ถือว่าคุ้ม เพราะกินไฟน้อยกว่าไส้หลายเท่าตัว แต่ให้ความสว่างได้เท่ากับหลอดไฟที่มีกำลังวัตต์มาก แถมอายุการใช้งานยังยาวนานกว่าอีกด้วย ดังนั้น เวลาเลือกหลอดไฟทั่วไป ก็ดูที่วัตต์มากก็สว่างมาก ส่วนหลอด LED ก็จะเขียนว่าวัตต์เท่านี้ เทียบเท่าความสว่างของหลอดไส้ทั่วไปกี่วัตต์

 

5. การเลือกรูปทรงของหลอดไฟในบ้าน

  หลอดไฟ เป็นส่วนประกอบนึงที่ไม่สามารถขาดไปจากห้องได้ รูปทรงของหลอดไฟจึงเหมือนเป็นองค์ประกอบอีกหนึ่งอย่าง ที่สามารถตกแต่งห้องให้น่าสนใจขึ้นได้ อีกทั้งรูปทรงของหลอดไฟ ยังมีผลต่อการใช้งานด้วย การเลือกรูปทรงหลอดไฟที่ไม่เหมาะสมจะทำให้แสงกระจายได้ไม่เพียงพอ และส่งผลเสียต่อพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างสม่ำเสมอ เช่น ห้องครัว หรือห้องทำงาน เราจึงควรเลือกรูปทรงของหลอดไฟที่สามารถกระจายแสงให้พื้นที่ได้อย่างทั่วถึงด้วย

 

6. การเลือกหลอดไฟที่ปรับการใช้งานได้ตามความต้องการ เช่น หรี่ไฟ ปรับโทนสี

  การเลือกหลอดไฟที่มีฟังก์ชันการใช้งานหลากหลาย เช่น สามารถปรับระดับความสว่างของไฟ หรือสามารถปรับโทนสีของแสงได้ ย่อมให้ความคุ้มค่าสูงสุด เพราะห้อง ๆ นึงสามารถเป็นได้ทั้งห้องสำหรับพักผ่อน หรือทำงานที่ต้องใช้สมาธิได้เมื่อต้องการ ทำให้เราสามารถใช้งานห้องนั้น ๆ ได้อย่างคุ้มค่าอีกด้วย

 

เป็นยังไงกันบ้างค่ะ กับเทคนิคการเลือกหลอดไฟฉบับ VG คุณเจ้าของบ้านสามารถนำไปใช้เลือกหลอดไฟได้ด้วยตัวเอง พียงแค่รู้จักหลอดไฟแต่ละชนิด และสามารถเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม ก็สามารถเลือกซื้อหลอดไฟในบ้านด้วยตนเองได้แล้วค่ะ 

 

 

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก

– ขอบคุณรูปภาพจาก dsignsomething และ Nirvana

– shorturl.asia/ZTqMl

– shorturl.asia/IskgL

https://www.sanook.com/home/27361/

https://houzzmate.com/topic/1808110708185056?matching=dHJ1ZQ%3D%3D


บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

5 ปัญหาหลังคา มีอะไรบ้าง มีวิธีป้องกันอย่างไร?

หลังคาเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับบ้าน เนื่องจากหลังคาเป็นตัวช่วยในการปกป้องบ้าน จากแสงแดด ลม ฝน พายุต่าง ๆ ถ้าบ้านไม่มีหลังคาก็คงอยู่อาศัยไม่ได้แน่นอน ปัจจุบันหลังคามีหลายแบบ หลายวัสดุให้เลือกใช้ แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป หลังคาใช้แล้วก็มีการเสื่อมสภาพลงตามอายุการใช้งาน เกิดปัญหาหลังคาตามมาหลายปัญหา วันนี้ VG มาพูดถึงปัญหาหลังคาว่ามีปัญหาอะไรบ้าง และมีวิธีป้องกันปัญหาอย่างไรบ้าง
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

5 เคล็ด(ไม่)ลับ รับมือหน้าฝน (ฉบับคนรักบ้าน)

“ว่ากันว่าสายฝนทำให้คนเหงา แต่น่าเศร้ากว่า ถ้าบ้านสุดรักค่อย ๆ พังจากฝนฟ้าพายุ” หมดปัญหาเมื่อเข้าหน้าฝน บ้านไม่ทน พังเยินไม่เป็นท่า อย่ามัวกุมขมับรับความเสียหายปล่อยให้บ้านค่อย ๆ พังจากฝนฟ้าพายุ วันนี้ VG มาบอกเล่าเคล็ดลับดี ๆ ในการดูแลบ้านช่วงหน้าฝนให้คุณเจ้าของบ้านนำไปใช้กันครับ เป็นทริคง่าย ๆ ที่ทำตามกันได้แน่นอน
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

เลือกใช้อิฐแบบไหนดี? ให้ดีที่สุดกับบ้านเรา

อิฐ ถือเป็นส่วนประกอบหลักพื้นฐานของการสร้างบ้าน รากฐานสำคัญที่ทำให้บ้านเป็นรูปเป็นร่าง อิฐมีหลายประเภทแตกต่างกันตามคุณสมบัติ ซึ่งล้วนมีผลต่อความแข็งแรง คงทน การระบายความร้อน ความชื้นของบ้าน การรับน้ำหนัก คุณสมบัติกันไฟ ตลอดจนเวลาในการก่อสร้าง 
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

7 สาเหตุของปัญหาหลังคารั่ว เกิดจากอะไร วิธีแก้ไขปัญหา

ปัญหาหลังคารั่วซึมเป็นปัญหากวนใจ ที่บ้านไหนพบเจอจะรู้สึกหงุดหงิด กระวนกระวายใจ อยู่ไม่เป็นสุข ยิ่งเวลาฝนตก น้ำหยดลงมาภายในตัวบ้านยิ่งน่ารำคาญเข้าไปใหญ่ นอกจากความน่ารำคาญแล้ว การที่หลังคารั่วแล้วน้ำหยดลงมาไม่หยุดสามารถสร้างความเสียหายทั้งแก่ตัวบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในบ้าน หากเจอปัญหาหลังคารั่วควรรีบแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด ก่อนที่ปัญหาที่ดูธรรมดา จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่ธรรมดาอีกต่อไป
Inbox
Call
Line