fbpx
รางน้ำไวนิล

10 วิธี ทำแล้ว ประหยัดไฟได้แน่

ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิกฤติโควิดในขณะนี้ เปลี่ยนวิถีการชีวิตของใครหลายคนให้เข้าสู่โหมด New normal หนึ่งในนั้นคือเรื่องชีวิตการทำงานของพนักงานสายออฟฟิศ โดยมีการปรับเปลี่ยนการทำงานจากทำงานที่ออฟฟิศมา Work from Home ที่บ้านแทน เมื่อต้องทำงานที่บ้าน ค่าใช้จ่ายทั้งค่าน้ำและค่าไฟก็ขึ้นไปตามๆ กัน 

วันนี้ VG จึงนำเอา 10 ทริคประหยัดไฟช่วง Work from Home มาฝากกัน นอกจากทริคง่ายๆ อย่างปิดไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ใช้แล้ว ยังมีทริคอะไรอะไรอีกบ้างตามมาดูกันเลยครับ

 

  1. หามุมทำงานที่มีแสงสว่างเพียงพอ

หากนั่งทำงานในที่ที่มีแสงสว่างจากธรรมชาติมากพอ เช่น  นั่งทำงานริมหน้าต่าง หรือหามุมทำงานในสวน ก็ไม่ต้องเปิดไฟให้สิ้นเปลือง งานนี้นั่งทำงานพร้อมรับวิตามิน D ไปพร้อมๆ กัน ได้เลย หากอาศัยอยู่ในคอนโดหรือบ้านที่ไม่สามารถเข้าถึงแสงจากธรรมชาติได้ ก็สามารถใช้โคมไฟหลอด LED  แทนการเปิดไฟเพดาน และตั้งเวลาเวลาตามชั่วโมงทำงานเพื่อช่วยประหยัดพลังงานได้เช่นกัน

 

 

  1. ตั้ง Sleep Mode บนเครื่องมือที่ใช้

Sleep Mode คือตัวช่วยในการลดพลังงานที่ใช้ในการแสดงผลของหน้าจอโน้ตบุ๊ก หรือคอมพิวเตอร์ เมื่อเราเปิดเครื่องทิ้งไว้  นอกจากนี้การปรับแสงหน้าจอไม่ให้สว่างจนเกินไปในขณะใช้งาน หรือการตั้งค่าประหยัดพลังงานก็ช่วยประหยัดแบตเตอรี่ได้เช่นกัน

 

  1. อย่าลืมปิดอุปกรณ์ไร้สายเมื่อไม่มีการเชื่อมต่อ

หลายคนปล่อยปะละเลยอุปกรณ์เล็กๆ อย่างลำโพงหรือหูฟังไร้สาย บางทีถึงกับปล่อยทิ้งไว้จนแบตเตอรี่หมด ฉะนั้นเมื่อใช้งานเสร็จ จึงควรปิดทันทีเพื่อป้องกันการหลงลืม เพราะอุปกรณ์เหล่านี้จะยังคงทำงานอยู่ถึงไม่เสียบปลั๊กก็ตาม

 

  1. ถอดปลั๊กไฟหลังใช้งานทุกครั้ง

ลำพังแค่ปิดสวิตช์นั้นไม่พอ เพราะการเสียบปลั๊กค้างไว้จะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา จึงควรถอดปลั๊กออกทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน นอกจากจะช่วยประหยัดไฟแล้ว ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบ้านได้อีกด้วย นอกจากนี้การถอดปลั๊กอุปกรณ์อย่างโน้ตบุ๊ก ออกเมื่อแบตเตอรี่เต็ม ก็ช่วยลดการใช้กระแสไฟฟ้าได้เช่นกัน

 

 

  1. ติดตั้งม่านทึบเพื่อป้องกันความร้อน

หนึ่งในไอเทมที่จะช่วยป้องกันความร้อนระอุจากแสงแดดในเวลากลางวันได้ก็คือม่านทึบ ม่านทึบถือเป็นไอเทมพิเศษ ใช้ลดหรือเพิ่มแสงได้ตามใจ แค่รูดเปิดปิด แสนง่ายดาย วันไหนอากาศดีก็สามารถรูดเปิดเพื่อรับลมเย็นได้ วันไหนอากาศร้อนก็สามารถรูดปิดเพื่อช่วยลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศได้เช่นกัน หรือวันไหนที่ต้องการแสงสว่างในบ้านมาก ๆ ก็แค่เปิดม่านรับแสง ไม่ต้องเปิดโคมไฟ ประหยัดค่าไฟได้อีก

 

  1. เลือกใช้หลอดไฟ LED แทนหลอดไฟอื่น ๆ

หลอดไฟ LED จะช่วยประหยัดไฟได้มากกว่าหลอดไฟธรรมดา แม้ราคาจะสูงกว่าหลอดไฟทั่วไป แต่หากคิดในระยะยาวแล้วถือว่าคุ้มค่ากว่ามาก ที่สำคัญหลอด LED ยังให้ความสว่างได้มากกว่าหลอดไฟธรรมดา และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

 

  1. ปรับอุณหภูมิและลดการใช้เครื่องปรับอากาศ

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าเราควรปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้อยู่ในระดับ 25 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า เนื่องจากเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมกับร่างกาย แถมยังช่วยประหยัดไฟได้อีก แต่ก็ไม่วายละเลยกันซะส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามหากมีสติและลองทำตามสักนิด แค่นี้ก็สามารถลดการใช้พลังงานลงได้เยอะ

 

นอกจากนี้หากเพิ่งกลับมาจากธุระข้างนอกบ้านและต้องการให้เครื่องปรับอากาศเย็นเร็ว ยังสามารถใช้พัดลมเป็นตัวช่วย เปิดไปพร้อมกับเครื่องปรับอากาศ แค่นี้ก็ช่วยให้เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลงและทำให้เราเย็นเร็วขึ้นเป็นเท่าตัวอีกด้วย

 

  1. ล้างฟิลเตอร์เครื่องปรับอากาศและพัดลมฟอกอากาศเสมอ

นอกจากการปรับอุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียสแล้ว การถอดฟิลเตอร์เครื่องปรับอากาศออกมาล้างทำความสะอาดบ่อย ๆ ก็ช่วยลดการใช้พลังงานลงได้เช่นกัน เพราะถ้าปล่อยให้ฝุ่นละอองสะสมอยู่ในฟิลเตอร์ จะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักมากขึ้น ส่งผลให้เปลืองไฟโดยใช่เหตุ นอกจากนี้ยังควรถอดพัดลมฟอกอากาศมาล้างด้วยเช่นกัน ลมเย็น ๆ จะได้พัดผ่านเข้ามาในบ้านได้อย่างสะดวก

 

  1. เลี่ยงการใช้ความร้อนขณะเปิดเครื่องปรับอากาศ

อีกหนึ่งทริคดีๆ เกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศ คือการหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนในห้องเครื่องปรับอากาศ เช่น เตารีด กระติกน้ำร้อน ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้จะเพิ่มความร้อนภายในห้อง ส่งผลให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น และเมื่ออุณภูมิในห้องเย็นขึ้น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่สร้างความร้อน ก็จะใช้พลังงานในการสร้างความร้อนมากขึ้นเช่นกัน งานนี้เปลืองไฟไปเลย x2

 

 

  1. เปิดหน้าต่างรับลม-แสงธรรมชาติ

ในวันที่อากาศดี แทนที่จะเปิดเครื่องปรับอากาศทั้งวันทั้งคืน ลองหันมาเปิดพัดลมและหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทดู ทั้งได้รับความเย็นจากลมธรรมชาติ ทั้งรักโลก แถมประหยัดไฟไปในตัว อะไรจะดีขนาดนี้

 

เป็นยังไงกันบ้างกับ 10 ทริคประหยัดไฟช่วง Work from Home แต่ละทริค ทำได้ง่ายๆ ไม่ยาก แค่ทำเป็นกิจวัตรก็สามารถช่วยทั้งโลก ช่วยทั้งเรา ประหยัดเงินได้อีก มีแต่ได้กับได้ครับ

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

Pd.co.th/

Apelectric2005.com/

Home.kapook.com/

Scb.co.th/


บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

สร้างบ้านต้องรู้! ใบอนุญาตก่อสร้าง เอกสารที่ต้องยื่นมีอะไรบ้าง ?

    การก่อสร้างบ้านหรืออาคารต้องได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างจากสำนักงานเขตท้องถิ่นก่อน จึงจะเริ่มขั้นตอนก่อสร้างได้ ซึ่งหลาย ๆคนยังไม่รู้ ทำให้อาจประสบปัญหาตามมาทีหลัง ทั้งต้องเสียค่าปรับ ติดคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ หนักสุดถึงขั้นต้องทุบบ้านหรืออาคารทิ้งได้เลยทีเดียว วันนี้ VG เลยมาบอกเล่าเรื่องราวขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้านหรืออาคารว่ามีเอกสาร ขั้นตอนการยื่นเรื่องอย่างไรบ้าง
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

ย้ำกันให้ชัด ตอบให้ชัวร์ ทำไมควรเลือกใช้รางน้ำฝนไวนิลจาก VG

การเลือกใช้งานรางน้ำฝนไวนิล ไม่ใช่แค่ยี่ห้อไหน แบบใดก็ได้ แต่เมื่อต้องลงทุนทั้งทีควรเลือกสิ่งดีที่สุดให้กับบ้านของตนเองเพื่อการอยู่อาศัยอย่างมีความสุข ไม่ต้องซ่อมแซมให้สิ้นเปลืองเงินบ่อยครั้ง อีกทั้งวัสดุประเภทนี้ยังใช้งานได้กับบ้านทุกสไตล์ ดังนั้นใครที่วางแผนจะติดตั้งรางน้ำอยู่จึงอยากแนะนำให้ลองติดตั้งรางน้ำฝนไวนิล VG ตัวเลือกดี ๆ ให้ความคุ้มค่ายิ่งกว่าเคย
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

ต้องพิจารณาในด้านไหนบ้าง? ก่อนตัดสินใจติดตั้งรางน้ำฝนไวนิล

ขอแนะนำให้รู้จักกับรางน้ำฝน VG โดดเด่นด้วยนวัตกรรม iR-uPVC ปกป้อง 2 ชั้น แม้โดนแดดนานก็ไม่กรอบแตก ด้วยภายนอกมีการเคลือบด้วยสี Dupont สีคุณภาพระดับโลก ลดความร้อน ช่วยสะท้อนรังสียูวี 3 เท่า เป็นฉนวนกันความร้อนให้กับบ้านได้อย่างดี ไม่ต้องกังวลใจเรื่องสนิม ชั้นภายในจะเพิ่มความแข็งแรง ทนทาน ยืดหยุ่น สามารถใช้ได้ยาวนานกว่า 15 ปี เสียงเบา มีการสร้างสรรค์ดีไซน์เฉพาะตัวเพื่อให้เกิดความทันสมัยต่อผู้ใช้งานมากที่สุด
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

ฝ้าเพดานมีกี่แบบ เลือกแบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ

ฝ้าเพดานเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่มีความสำคัญต่อบ้านและอาคาร โดยหน้าที่หลัก ๆ ของฝ้าเพดาน คือ ปิดบังท่องานระบบ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่รกรุงรังไม่สวยงามน่าดู ซ่อนงานระบบต่าง ๆ ใต้พื้นชั้นบนเหนือฝ้าเพดานให้สวยงาม เรียบร้อย แถมยังช่วยป้องกันแมลง  ฝุ่น ควบคุมอุณหภูมิภายในห้องอีกด้วย วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักฝ้าเพดานว่ามีทั้งหมดกี่แบบ แล้วแบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ
Inbox
Call
Line