fbpx
รางน้ำไวนิล

สร้างบ้านต้องรู้! ใบอนุญาตก่อสร้าง เอกสารที่ต้องยื่นมีอะไรบ้าง ?

    การก่อสร้างบ้านหรืออาคารต้องได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างจากสำนักงานเขตท้องถิ่นก่อน จึงจะเริ่มขั้นตอนก่อสร้างได้ ซึ่งหลาย ๆคนยังไม่รู้ ทำให้อาจประสบปัญหาตามมาทีหลัง ทั้งต้องเสียค่าปรับ ติดคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ หนักสุดถึงขั้นต้องทุบบ้านหรืออาคารทิ้งได้เลยทีเดียว วันนี้ VG เลยมาบอกเล่าเรื่องราวขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้านหรืออาคารว่ามีเอกสาร ขั้นตอนการยื่นเรื่องอย่างไรบ้าง

ใบขออนุญาตก่อสร้างอาคารคืออะไร?

เอกสาร หลักฐานต่าง ๆ ที่ต้องยื่นก่อนก่อสร้างบ้าน อาคาร เพื่อขออนุญาตก่อสร้างบ้านโดยต้องถูกหลักกฎหมายที่บัญญัติไว้ ซึ่งการก่อสร้างบ้าน อาคาร มีกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนจึงต้องยื่นเรื่องเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานความแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร ระยะห่างจากถนน ระยะห่างจากตัวบ้านของเพื่อนบ้าน รวมถึงการเว้นระยะห่างจากชุมชนรอบข้าง  เพื่อความปลอดภัยของเจ้าของบ้านและเพื่อนบ้านละแวกข้าง หากไม่ยื่นขออนุญาตก่อนก่อสร้างจะถือว่าผิดกฎหมาย และอาจมีปัญหาใหญ่โตตามมาทีหลังได้

ทำไมต้องยื่นใบขออนุญาต

เพื่อความปลอดภัยของเจ้าของบ้านและผู้อื่นที่อาศัยอยู่ละแวกรอบข้าง ลองนึกภาพดูว่าหากปล่อยให้ทุกคนสร้างบ้านตามอำเภอใจ ใครอยากสร้างแบบไหนก็สร้าง ทำอะไรก็ทำ ใช้อะไรสร้างก็ได้ ออกแบบตามใจชอบ โดยไม่มีการตรวจสอบใด ๆ เลย ปัญหาที่ตามมาคือความไม่ปลอดภัยในชีวิต อันตรายจากสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงการปลูกสร้างบ้านและอาคารที่รุกล้ำพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ของเพื่อนบ้านก็จะทำให้เกิดปัญหาข้อพิพาทกันใหญ่โตตามมาทีหลัง

 

 

  ถ้าไม่ยื่นใบขออนุญาตก่อสร้าง จะเกิดอะไรขึ้น ?

         หากไม่ยื่นใบขออนุญาตก่อสร้าง ก่อนสร้างบ้านหรืออาคาร จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายแห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522  โดยต้องรับโทษตั้งแต่ปรับเงิน จำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ แล้วแต่กรณี เช่น ใครที่ฝ่าฝืนทำการก่อสร้างหรือใช้อาคารหรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีโทษโดยต้องจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   

      นอกจากนี้ยังต้องระวางโทษปรับรายวันอีก วันละไม่เกิน 1 หมื่นบาท ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน จนกว่าจะทำให้ถูกหลักกฎหมาย และหากอาคารที่ฝ่าฝืนเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา การสาธารณสุข ฯลฯ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่า

ขั้นตอนการยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้าน

  1. ขั้นตอนแรก เริ่มต้นจากการยื่นคำร้องขออนุญาตก่อสร้างบ้านหรืออาคารที่สำนักงานเขตท้องถิ่นพื้นที่ที่ตนอาศัยอยู่ เช่น สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สำนักงานเขตห้วยขวาง สำนักงานเขตวัฒนา สำนักงานเขตวังทองหลาง เป็นต้น ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ของจังหวัดนั้น ๆ
  2. จ้าพนักงานประจำสำนักงานเขตท้องถิ่น จะตรวจสอบแบบแปลน โดยเฉพาะในเขตที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมืองบ้านหรืออาคาร สิ่งปลูกสร้างทุกประเภทจะต้องได้รับอนุญาตก่อสร้างบ้านก่อน และจะต้องก่อสร้างตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต
  3. เมื่อมีการตรวจสอบคำร้อง แบบแปลน และเอกสารต่าง ๆ แล้ว จะได้รับหนังสืออนุญาตให้ก่อสร้าง กรณีที่ไม่ได้รับอนุญาต อาจจะมีการตกหล่นของเอกสารหรือให้แก้ไขรายละเอียดบางอย่าง ก็ต้องดำเนินการแก้ไข แล้วยื่นเอกสารขออนุญาตใหม่อีกครั้ง
  4. เมื่อได้รับใบอนุญาตก่อสร้างแล้ว นอกจากเอกสารฉบับจริงก็ควรทำสำเนาเก็บไว้ที่ตัวเอง ให้สถาปนิก วิศวกร หรือบริษัทรับสร้างบ้าน และเผื่อไว้ในกรณีสูญหาย เอกสารชำรุด แล้วจึงดำเนินการก่อสร้างบ้านเป็นลำดับต่อไป

เอกสารที่ต้องยื่นมีอะไรบ้าง

– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด

– สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด

– แบบก่อสร้างแผนผังและรายการประกอบแบบ อย่างละ 5 ชุด

– สำเนาโฉนดที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง จำนวน 1 ชุด (หรือเอกสารสิทธิ์อื่น ๆ)

– สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท วัตถุประสงค์ ผู้มีอำนาจลงชื่อแทน นิติบุคคล ที่ขออนุญาตที่

ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน

    หมายเหตุ: จำนวนชุดของเอกสาร จะต้องสอบถามข้อมูลอัปเดตจากสำนักงานเขตท้องถิ่นที่จะยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้าน

 

 

หลักฐานที่เกี่ยวข้องเฉพาะเรื่อง

หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดิน (กรณีผู้ขออนุญาตไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน)

– หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดผนัง (กรณีใช้ผนังร่วมกัน)

– หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน (กรณีชิดเขตที่ดินข้างเคียง)

– สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียง

– สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียง

– หนังสือรับรองของสถาปนิกและใบควบคุมงานของสถาปนิก

– หนังสือรับรองของวิศวกรและใบควบคุมงานของวิศวกร

– รายการคำนวณ 1 ชุด (กรณีส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและทนไฟเป็นส่วนใหญ่ หรืออาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ)

ระยะเวลาในการพิจารณาในกรณีทั่วไป

  1. อาคารพักอาศัยไม่เกิน 2 ชั้น ใช้เวลาในการพิจารณาไม่เกิน 20 วัน ไม่รวมระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน
  2. อาคารพาณิชย์ อาคารขนาดใหญ่ อาคารประเภทควบคุมการใช้ ใช้เวลาในการพิจารณา 33 วัน (ไม่รวม

ระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน)

   ยกเว้นในกรณีที่มีข้อขัดข้อง จะใช้เวลาพิจารณาตามที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 

ใบอนุญาตก่อสร้างบ้านถือได้ว่าเป็นเอกสารที่สำคัญมาก ๆ เลยนะครับ ถ้าไม่ยื่นใบขออนุญาตจะไม่สามารถเริ่มปลูกสร้างบ้านได้ เพราะถือว่าผิดกฎหมาย ดังนั้นคุณเจ้าของบ้านควรจะดำเนินเรื่องตามขั้นตอนให้เรียบร้อยก่อน เพื่อป้องกันปัญหาตามมาทีหลัง กันไว้ดีกว่าแก้ เดี๋ยวแย่แล้วจะแก้ไม่ทันกันนะครับ สำหรับใครที่กำลังสร้างบ้านอยู่ ถ้ายังหาหลังคาดี ๆ ติดตั้งให้บ้าน แก้ปัญหาบ้านร้อน เสียงดัง ไร้ปัญหารั่วซึม แนะนำหลังคาไวนิล VG ติดตั้งหลังวันนี้มีหลังคาดี ๆ ใช้ยาวนานถึง 15 ปี สนใจติดตั้งหลังคาไวนิล รางน้ำไวนิล ระแนงไวนิล ติดต่อ VG นะครับ

 

อ้างอิงข้อมูล

ขออนุญาตก่อสร้างบ้าน 4 ขั้นตอน และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง| DDproperty.com

ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร เอกสารที่เจ้าของบ้านต้องรู้ (baania.com)

การยื่นขออณุญาตก่อสร้างต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? ทำอย่างไรบ้าง? – CEALECT ซีเล็ค

 


บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

มาแชร์ เทคนิคซ่อนรางน้ำฝน 3 รูปแบบ แนบเนียนไปกับหลังคาบ้าน

อยากติดตั้งรางน้ำฝน แต่กลัวว่าบ้านจะไม่สวยหรือดูโดดเด่นเกินไป วันนี้ VG จะมาแนะนำให้รู้จักกับเทคนิคซ่อนรางน้ำฝนไวนิลแบบต่างๆ ให้นำไปพิจารณาใช้งานกัน
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

5 ข้อได้เปรียบที่ทำให้ยิ้มได้ เมื่อติดตั้งรางน้ำไวนิล!

บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

Blog - จะติดรางน้ำฝนให้บ้านทั้งที ต้องรู้ว่ามีวัสดุแบบไหนบ้าง

การติดรางน้ำฝนสักชุดให้กับบ้านที่เรารัก นอกเหนือจากเรื่องของความจำเป็นแล้ว มีสิ่งหนึ่งที่ต้องศึกษาให้รู้และเข้าใจ นั่นคือเรื่องประเภทของวัสดุ การรู้ข้อดี-ข้อเสียจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจเลือกวัสดุให้เหมาะกับงบประมาณและดีไซน์บ้านตัวเอง นอกจากนี้ยังช่วยเซฟเงินในอนาคตได้ด้วย ไม่ต้องคอย ซ่อมนู่น เปลี่ยนนั่น แก้นี่ จุกจิกไม่รู้จบ
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

7 สาเหตุของปัญหาหลังคารั่ว เกิดจากอะไร วิธีแก้ไขปัญหา

ปัญหาหลังคารั่วซึมเป็นปัญหากวนใจ ที่บ้านไหนพบเจอจะรู้สึกหงุดหงิด กระวนกระวายใจ อยู่ไม่เป็นสุข ยิ่งเวลาฝนตก น้ำหยดลงมาภายในตัวบ้านยิ่งน่ารำคาญเข้าไปใหญ่ นอกจากความน่ารำคาญแล้ว การที่หลังคารั่วแล้วน้ำหยดลงมาไม่หยุดสามารถสร้างความเสียหายทั้งแก่ตัวบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในบ้าน หากเจอปัญหาหลังคารั่วควรรีบแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด ก่อนที่ปัญหาที่ดูธรรมดา จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่ธรรมดาอีกต่อไป
Inbox
Call
Line