fbpx
รางน้ำไวนิล

รูปแบบรางน้ำฝน มีผลต่อการระบายน้ำมากน้อยแค่ไหน?

ในประเทศไทย พอถึงหน้าฝนเมื่อไหร่ หลายบ้านก็มักจะมีปัญหาน้ำฝนกระเซ็นโดนผนัง กำแพง หรือฝนตกหนัก ส่งผลให้น้ำที่ไหลจากหลังคาสร้างความเสียหายต่อหน้าดินและสวนโดยรอบ แต่เชื่อว่าหลายคนก็คงทราบกันดีแล้วว่ารางน้ำฝนสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ โดยการควบคุมทิศทางการสาดเทของน้ำฝน ไม่ให้กระเด็นกระดอน และเพิ่มความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้าน

ทั้งนี้ ในการติดตั้งรางน้ำฝนสวยๆ ให้เข้ากับดีไซน์ของบ้านก็ต้องคำนึงถึง “ความสามารถในการระบายน้ำ” ซึ่งแบบรางน้ำฝนส่งผลโดยตรงต่อเรื่องนี้ ดังนั้น มาดูกันว่ารูปแบบรางน้ำฝนนั้นมีผลต่อการระบายน้ำอย่างไรบ้าง


เพียงรางน้ำฝนสวยๆ อาจไม่พอ ต้องมีลักษณะเหมาะสมด้วย

สำหรับใครที่ได้ลองทำการค้นหารางน้ำฝนตามร้านค้าวัสดุหรือเว็บไซต์ต่างๆ คงอาจจะได้เห็นแล้วว่าทุกวันนี้มีรูปแบบรางน้ำฝนให้เลือกมากมาย โดยเฉพาะรางน้ำฝน PVC ที่ผลิตขึ้นแบบสำเร็จรูป ทำให้มีรูปทรงต่างๆ ที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม รางน้ำฝนที่ระบายน้ำฝนได้ดี ควรมีรูปร่างเป็นรูป “ป. ปลา” โดยขอบด้านหลังที่ติดกับเชิงชายควรสั้นกว่าด้านหน้า เพื่อให้สามารถรองรับน้ำที่ไหลจากหลังคาได้ เพราะถ้าขอบด้านหน้าตื้นเกินไป จะส่งผลให้น้ำล้นไหลย้อนเข้าเชิงชายและฝ้าเพดาน สร้างความเสียหายให้กับตัวบ้านได้ ซึ่งรางน้ำบางรุ่น ก็อาจมีขอบรางน้ำที่สูงเป็นพิเศษ ช่วยป้องกันน้ำฝนจากหลังคากระเด็นออกนอกรางน้ำ หรือบางรุ่นได้รับการออกแบบให้สามารถระบบน้ำได้รวดเร็วกว่า ตอบโจทย์บ้านที่อยู่ในพื้นที่ที่ฝนตกบ่อยๆ

เลือกใช้รางน้ำฝนที่มีขนาดเหมาะสมกับหลังคา

ขนาดของหลังคานั้นเป็นหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงมาสู่รางน้ำ ยิ่งหลังคามีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งมีน้ำไหลลงมามากขึ้นเท่านั้น พอทราบแบบนี้แล้ว ในการเลือกแบบรางน้ำฝน จึงควรเลือกให้สัมพันธ์กับขนาดของหลังคาบ้านด้วย เพื่อไม่ให้น้ำล้นออกมาจากรางนั่นเอง โดยขนาดที่เหมาะสมสามารถแบ่งได้ ดังนี้

  • หลังคาที่มีความยาวไม่เกิน 5 เมตร เหมาะสำหรับติดตั้งรางน้ำฝนขนาด 4 นิ้ว
  • หลังคาที่มีความยาวระหว่าง 5-15 เมตร เหมาะสำหรับติดตั้งรางน้ำฝนขนาด 5 นิ้ว
  • หลังคาที่มีความยาวมากกว่า 15 เมตรขึ้นไป เหมาะกับรางน้ำฝนขนาด 6 นิ้ว

ทั้งนี้ บ้านแต่ละหลังก็มีดีไซน์ที่ไม่ซ้ำกัน หากเจ้าของบ้านไม่แน่ใจว่าควรเลือกรางน้ำที่ขนาดเท่าไหร่ ก็สามารถปรึกษาผู้รับเหมาหรือช่างผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวัดขนาดหลังคาและเลือกรางน้ำฝนที่ใช่

นอกจากนี้ ต้องไม่ลืมที่จะคำนึงถึงจุดปล่อยน้ำด้วย ว่าต้องการระบายน้ำไปยังจุดใดของบ้าน ซึ่งหากเป็นสมัยก่อนเรานิยมติดรางน้ำฝนกัน เพื่อรองน้ำฝนมากักเก็บไว้ใช้ในอาการอุปโภค-บริโภค แต่ในปัจจุบัน ที่น้ำฝนมักมาพร้อมกับมลพิษในอากาศ เจ้าของบ้านอาจเลือกที่จะต่อท่อรางน้ำฝนลงสู่ท่อระบายน้ำแทน

การสั่งทำรางน้ำฝนแบบพิเศษ

ในบางกรณี รางน้ำฝนสำเร็จรูปอาจไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของบ้านบางหลัง เช่น บ้านที่มีการต่อเติมในภายหลัง ทำให้มีขนาดหลังคาที่ไม่ตรงกับมาตรฐาน หรือบางคนอาจมีบ้านที่ติดกับเพื่อนบ้านมากเกินไป การติดตั้งหลังคาเพิ่มเติมจึงอาจเป็นการรุกล้ำอนาเขตเพื่อนบ้าน จนเกิดการฟ้องร้องได้นั่นเอง

โดยรางน้ำฝนแบบสั่งทำพิเศษ อาจะเป็นรางน้ำฝนแบบซ่อนที่มักติดตั้งกับบ้านหรืออาคารที่มีขนาดใหญ่ เพื่อลดแรงเทจากความลาดชันของหลังคา โดยใช้วิธีการแบ่งหลังคาออกเป็น 2 ช่วง กั้นด้วยรางน้ำฝนที่ทำจากคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือรางน้ำสแตนเลส รวมถึงมีการทายาแนวกันซึม เพื่อไม่ให้น้ำฝนไหลเข้าไปภายในบ้านนั่นเอง

ส่วนใครที่มีบ้านติดกันกับเพื่อนบ้าน ก็ขอแนะนำให้ติดตั้ง “แผ่นปิดครอบหรือแฟลชชิ่ง (Flashing)” สำหรับปิดรอยต่อระหว่างหลังคากันสาดกับผนังบ้าน หรือลองขอความร่วมมือกับเพื่อนบ้าน ติดรางน้ำฝนตรงกลางระหว่างหลังคา 2 ฝั่ง ใช้รางน้ำฝนร่วมกันไปเลย

ตะแกรงรางน้ำ สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

Primo W H6 2

เมื่อได้ติดตั้งรางน้ำฝนที่มีขนาดสัมพันธ์กับหลังคาบ้าน ไม่เกิดปัญหากับเพื่อนบ้าน และระบายน้ำได้ตามต้องการแล้ว แต่อีกหนึ่งปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ก็คือ การอุดตัน จากสิ่งสกปรกที่มากับน้ำฝน รวมไปถึงเศษใบไม้ที่ร่วงหล่นลงมา ส่งผลให้รางน้ำระบายได้ช้าลงหรือหากท่อมีการอุดตันมาก ก็อาจไม่สามารถระบายน้ำได้เลย ซึ่งในช่วงแรกอาจไม่พบปัญหานี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ การอุดตันนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ ทำให้เจ้าของบ้านต้องปวดหัวอย่างแน่นอน

ดังนั้น ตะแกรงรางน้ำ จึงเป็นหนึ่งอุปกรณ์เสริมที่เจ้าของบ้านควรติดตั้งพร้อมกับรางน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เศษสิ่งสกปรกต่างๆ เข้าไปอุดตันรางน้ำ ป้องกันไม่ให้นกทำรังในราง และยังช่วยให้เจ้าของบ้านไม่ต้องทำความสะอาดรางน้ำบ่อยๆ ด้วย

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการระบายน้ำของรางน้ำ ที่เจ้าของบ้านคนไหนกำลังวางแผนติดตั้งรางน้ำใหม่ให้กับบ้านตัวเอง ต้องคำนึงเอาไว้ให้ดี เพื่อที่จะสามารถตามมารางน้ำที่ตอบโจทย์ที่สุด

สนใจรางน้ำไวนิล ต้องรางน้ำ VG

รางน้ำฝน VG คือ รางน้ำไวนิลที่ผลิตจากนวัตกรรม iR-uPVC พลาสติกคุณสมบัติพิเศษ จากการใช้ส่วนผสมเคมีภัณฑ์คุณภาพชั้นนำระดับโลก ที่เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของ VG และผ่านการผลิตโดยเครื่องจักรที่ทันสมัย ด้วยคุณสมบัติที่ตอบโจทย์การใช้งานในทุกด้าน ทั้งความทนทานต่อทุกสภาพอากาศ มีความยืดหยุ่นสูง ไม่แตกหักง่าย ไม่เกิดสนิม และึมีอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 15 ปี พร้อมด้วยคุณสมบัติการปกป้องวัสดุที่ให้มากกว่าถึง 2 ชั้น

  • ชั้นที่ 1 การปกป้องภายนอก (Outer Layer) ด้วยการเคลือบพิเศษด้วยสี Dupont สีจากแบรนด์ชั้นนำระดับโลก มีคุณสมบัติ Infrared Reflective ที่สามารถสะท้อนรังสี UV จากแสงแดดได้มากถึง 3 เท่า จึงไม่ทำให้เกิดสนิม ทั้งยังลดปัญหาอากาศร้อนบริเวณใต้ชายคาและช่วยลดความร้อนให้กับตัวบ้านได้อีกด้วย
  • ชั้นที่ 2 การปกป้องภายใน (Inner Layer) ด้วยคุณสมบัติที่เน้นความแข็งแรงทางโครงสร้าง ความทนทานและมีความยืดหยุ่นสูง เมื่อกระทบกับน้ำและสภาพอากาศต่างๆ อยู่ตลอดเวลา จึงไม่เกิดการผุกร่อนหรือแตกหักได้ง่าย ช่วยให้คงสภาพรางน้ำได้ตลอดการใช้งาน สามารถยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น

มั่นใจมากกว่าเดิมด้วยการผ่านการทดสอบ Weather Testing จากประเทศเยอรมัน และยังตอบโจทย์เรื่องดีไซน์เพราะรางน้ำ VG มีให้เลือกถึง 3 รุ่น 3 สไตล์ คือ รุ่น PRIMO รุ่น FIRST R2 และรุ่น EZY หากสนใจรางน้ำ VG สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

สามารถสอบถามราคารางน้ำฝน และปรึกษา VG ผ่านช่องทางต่างๆ ด้านล่าง

โทร.: 087-654-7788, 080-744-7799, 063-271-7711 (ENG)

อีเมล: info@mycnpgroup.com

LINA OA: @vg-cnp

Facebook: VG รางน้ำและหลังคาไวนิล


บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

รู้จักรางน้ำฝนไวนิล Cosmo XL 350 รางน้ำฝนขนาดใหญ่ ไม่หวั่นแม้ฝนตกหนัก

พาทุกท่านมาทำความรู้จัก รางน้ำฝนไวนิล Cosmo XL รางน้ำฝนขนาดใหญ่ไซส์โรงงาน ที่ไม่ว่าฝนจะตกหนักแค่ไหนก็เอาอยู่ จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง? มาดูกันเลย
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

รางน้ำฝนราคาต่างกัน เพราะ 3 เหตุนี้! พร้อมวิธีเลือกรางน้ำให้ตอบโจทย์

สาเหตุที่รางน้ำฝนราคาต่างกันเป็นเพราะอะไรบ้าง? แล้วถ้ากำลังมองหารางน้ำดีๆ ต้องเลือกอย่างไรให้เหมาะสมที่สุด? VG จะพามาหาคำตอบ!
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

Blog - วิธีดูแลรักษาบ้าน หลังน้ำลด เมื่อน้ำท่วมผ่านไป ทำอะไรก่อน - หลัง ?

น้ำท่วมไทยปีนี้หนักเอาการอยู่เหมือนกัน คนไทยได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมไปหลายจังหวัด บ้านสุดรักสุดหวงของหลายคน จมอยู่ในสายน้ำเป็นเดือน ๆ ที่เขาว่ากันว่าโจรขึ้นบ้านสิบหน ยังไม่เท่าน้ำท่วมบ้านครั้งเดียวเห็นจะจริง มูลค่าความเสียหายคงเกินจะประเมินค่าได้ คุณเจ้าของบ้านได้แต่กุมขมับไปตาม ๆ กันเลยทีเดียว ตอนน้ำท่วมว่าทำใจยากแล้ว พอน้ำแห้งยิ่งทำใจยากกว่า เพราะการได้เห็นสภาพบ้านหลังจากที่น้ำเหือดแห้งไป หลายคนก็คงแทบล้มทั้งยืน แต่จะทำยังไงได้ น้ำมาแล้วมันก็ไป ทำได้แค่ทำใจ แล้วตั้งสติว่าเราจะจัดการกับบ้านหลังน้ำลดยังไงดี วันนี้ VG มาบอกเล่า วิธีดูแลรักษาบ้านหลังน้ำลด เพื่อช่วยเป็นแนวทางให้คุณเจ้าของบ้านที่พึ่งผ่านมรสุมน้ำท่วมมาได้
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

เลือกดินแบบไหนดี ถมที่ก่อนสร้างบ้าน

สิ่งสำคัญที่สุดก่อนเริ่มสร้างบ้าน คือ ดิน ดินเป็นรากฐานสำคัญ เพราะต้องรองรับน้ำหนักทุกส่วนของตัวบ้าน ดังนั้น ก่อนจะเริ่มสร้างบ้านต้องมีการสำรวจที่ดินว่าสามารถสร้างบ้านได้เลยหรือไม่ หรือต้องทำการถมที่ก่อนจึงจะเหมาะกับการสร้างบ้านเป็นลำดับต่อไป การถมที่ดินมีความจำเป็นมากและการเลือกดินให้เหมาะสมก็สำคัญมากเช่นกัน หากเลือกดินไม่เหมาะสมหรือไม่ได้คุณภาพ ก็อาจมีส่วนส่งผลต่อตัวบ้าน บ้านพัง! บ้านทรุด! ซึ่งทำให้เกิดปัญหาใหญ่ วันนี้เราจะมาแนะนำดินที่ใช้ในการถมที่ว่ามีกี่ประเภท แล้วแต่ละประเภทเหมาะสำหรับการนำมาถมที่หรือไม่
Inbox
Call
Line