fbpx
รางน้ำไวนิล

ขั้นตอนการสร้างบ้าน ตั้งแต่ต้นจนสำเร็จ

บ้านหนึ่งหลัง กว่าจะเริ่มปลูกสร้างตั้งแต่ต้นจนสำเร็จสามารถเข้าไปพักอาศัยได้ ต้องใช้เวลานานเป็นปี ๆ แถมมีขั้นตอนเยอะแยะมากมาย ทำเอาหลายคนกุมขมับ พยายามทำความเข้าใจแต่ก็ยากแสนยากที่จะเข้าใจได้ วันนี้ VG เลยมาสรุปขั้นตอนการสร้างบ้าน ตั้งแต่ต้นจนสำเร็จแบบง่าย ๆ 10 ขั้นตอนที่คุณเจ้าของบ้าน อ่านแล้วเข้าใจได้ แม้จะไม่ใช่ช่างก็ตาม เพราะเรื่องบ้านเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ การรู้ขั้นตอนการสร้างบ้านจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่เจ้าของบ้านต้องรู้

 

1.ขั้นตอนเตรียมความพร้อมด้านเอกสารการขอปลูกสร้าง

การก่อสร้างบ้านหรืออาคารต้องได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างจากสำนักงานเขตท้องถิ่นก่อน จึงจะเริ่มขั้นตอนก่อสร้างได้ ซึ่งหลาย ๆ คนยังไม่รู้ ทำให้อาจประสบปัญหาตามมาทีหลัง ทั้งต้องเสียค่าปรับ ติดคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ หนักสุดถึงขั้นต้องทุบบ้านหรืออาคารทิ้งได้เลยทีเดียว 

เอกสารที่ต้องยื่นมีอะไรบ้าง

– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด

– สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด

– แบบก่อสร้างแผนผังและรายการประกอบแบบ อย่างละ 5 ชุด

– สำเนาโฉนดที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง จำนวน 1 ชุด (หรือเอกสารสิทธิ์อื่น ๆ)

– สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท วัตถุประสงค์ ผู้มีอำนาจลงชื่อแทน นิติบุคคล ที่ขออนุญาตที่

ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน

    หมายเหตุ: จำนวนชุดของเอกสาร จะต้องสอบถามข้อมูลอัปเดตจากสำนักงานเขตท้องถิ่นที่จะยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้าน

หลักฐานที่เกี่ยวข้องเฉพาะเรื่อง

– หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดิน (กรณีผู้ขออนุญาตไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน)

– หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดผนัง (กรณีใช้ผนังร่วมกัน)

– หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน (กรณีชิดเขตที่ดินข้างเคียง)

– สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียง

– สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียง

– หนังสือรับรองของสถาปนิกและใบควบคุมงานของสถาปนิก

– หนังสือรับรองของวิศวกรและใบควบคุมงานของวิศวกร

– รายการคำนวณ 1 ชุด (กรณีส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและทนไฟเป็นส่วนใหญ่ หรืออาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ)

ระยะเวลาในการพิจารณาในกรณีทั่วไป

  1. อาคารพักอาศัยไม่เกิน 2 ชั้น ใช้เวลาในการพิจารณาไม่เกิน 20 วัน ไม่รวมระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน
  2. อาคารพาณิชย์ อาคารขนาดใหญ่ อาคารประเภทควบคุมการใช้ ใช้เวลาในการพิจารณา 33 วัน (ไม่รวมระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน)

   ยกเว้นในกรณีที่มีข้อขัดข้อง จะใช้เวลาพิจารณาตามที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 

อ่านเรื่องใบอนุญาตก่อสร้าง เอกสารที่ต้องยื่นเพิ่มเติม (ฝังลิงก์blogก่อนหน้า)

 

2.ขั้นตอนเตรียมพื้นที่ เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มปลูกสร้างบ้าน

  ขั้นตอนต่อมาก่อนที่จะเริ่มสร้างบ้าน คือ การเตรียมพื้นที่ ตั้งแต่การปรับหน้าดินให้เสมอกัน ตรวจสอบความแข็งของดิน เคลียร์พื้นที่หน้างาน ขนย้ายเครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุที่จะใช้ในการสร้างบ้าน เตรียมสถานที่ ที่พักคนงาน เพราะการสร้างบ้านใช้ระยะเวลานาน หากคนงานไม่มีที่พักใกล้กับพื้นที่ก่อสร้าง จำเป็นต้องสร้างที่พักคนงาน และมีการขอน้ำขอไฟชั่วคราวเพื่อใช้งาน ซึ่งก็ต้องดำเนินการยื่นเอกสารขอน้ำ ขอไฟ ชั่วคราวให้เรียบร้อย หลังจากนั้นให้คุยกับผู้รับเหมาเรื่องผังอาคารสิ่งปลูกสร้าง ตำแหน่งการลงเสาเข็ม โดยต้องอ้างอิงจากแบบแปลน โดยสามารถเปลี่ยนแปลงได้หากเจอปัญหา เช่น แนวต้นไม้ใหญ่

 

3.ขั้นตอนขุดเจาะเสาเข็ม

การขุดเจาะเสาเข็ม เริ่มต้นจากการเลือกประเภทเสาเข็ม โดยทั่วไปส่วนใหญ่จะใช้เสาเข็มตอกหรือเสาเข็มเจาะ หากเลือกประเภทเสาเข็มแล้ว ให้ตรวจสอบคุณภาพของเสาเข็มว่าสามารถรับน้ำหนักได้ตามมาตรฐานหรือไม่ ส่วนการดำเนินการขุดเจาะเสาเข็มต้องเป็นไปตามผังตำแหน่งที่วางไว้ ในขั้นตอนนี้จะต้องมีผู้ควบคุม ตรวจสอบความแข็งแรงให้ตรงกับหลักวิศวกร เพื่อให้ได้มาตรฐาน สร้างความปลอดภัยให้ผู้อยู่อาศัย

 

รางน้ำฝน

 

4.ขั้นตอนวางโครงสร้างและฐานราก

การวางรากฐานเริ่มต้นตั้งแต่การขุดหลุมให้เป็นไปตามขนาดที่กำหนด ตัดหัวเสาเข็มเพื่อเตรียมฐานราก ซึ่งโครงสร้างฐานรากประกอบด้วย ฐานรากและเสาตอม่อ ขึ้นโครงสร้างฐานชั้นที่ 1 คานคอดิน เสา คาน พื้นชั้นล่าง หลังจากนั้นให้เตรียมขุดดิน เพื่อทำระบบสุขาภิบาลรอบบ้าน เช่น ท่อน้ำทิ้ง ท่อประปา

 

5.ขั้นตอนวางโครงสร้างชั้นบน

ดำเนินการขึ้นโครงสร้างชั้น 2 เริ่มจากโครงสร้างเสา คาน อเส โครงสร้างหลังคาทั้งหมด แล้วทำการขึ้นโครงสร้างงานสุขาภิบาล ติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย ถังเก็บน้ำใต้ดิน

 

6.ขั้นตอนมุงหลังคา สร้างบันได และหล่อชิ้นส่วนต่าง ๆ

ขั้นตอนนี้เป็นส่วนที่ทำให้บ้านเป็นรูปเป็นร่างขึ้นอย่างชัดเจน โดยการทำโครงสร้างบันได ให้คำนึงถึงความต้องการ ความสูง ความชันของบันได จำนวนขั้นกี่ขั้น นอกจากจะถามความต้องการของเจ้าของบ้านแล้ว มาตรฐานที่สร้างก็ต้องทำให้มีความปลอดภัย สะดวกต่อการใช้งานด้วย ส่วนชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ต้องหล่อขึ้นอย่าง บัว กันสาด ขอบปูน ตลอดจนการมุงหลังคาก็ต้องทำด้วยมาตรฐานความปลอดภัย เลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพ จะสามารถช่วยให้เกิดความแข็งแรงกับตัวบ้าน 

 

รางน้ำฝน

 

7.ขั้นตอน ผนัง และเตรียมระบบไฟฟ้า

ขั้นตอนนี้ต้องทำอย่างถูกมาตรฐาน  เช่น อิฐและคอนกรีตต้องทำให้ชื้นก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้อิฐดูดน้ำจากปูนก่อเร็วเกินไป การก่อผนัง หล่อเสาเอ็น คานเสาเอ็น ขึ้นอยู่กับเจ้าของบ้านว่าจะเลือกใช้ผนังแบบใด แต่ต้องก่อให้ได้แนวดิ่งและแนวฉากที่ถูกต้อง 

  • การก่อชนผนัง เสา ผนัง หรือแผงคอนกรีตเสริมเหล็ก ต้องเสียบเหล็กยื่นออกมาไม่น้อยกว่า 25 ซม. และฝังอยู่ในเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก 10 ซม.
  • หากผนังมีความยาว หรือสูงกว่า 3 ม. ต้องมีเสาเอ็น หรือทับหลังคอนกรีตเสริมเหล็ก

หลังจากนั้นจะเป็นการเดินท่อระบบไฟฟ้า – ประปา หากต้องการซ่อนในส่วนของสายไฟหรือท่อ ให้ดำเนินการวางท่อของระบบทั้ง ไฟฟ้า ประปา เครื่องปรับอากาศ และระบบสื่อสารต่าง ๆ ในขั้นตอนของงานผนังไปด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากภายหลัง (สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน,2563)

 

8. ขั้นตอนฉาบผนังและติดตั้งเพดาน

ฉาบผนังให้เรียบเนียนสวย สม่ำเสมอ  โดยผู้รับเหมาหรือช่างแต่ละคนก็จะมีเทคนิคเฉพาะตัวในการฉาบผนังให้เรียบสวยต่างกันไป ผนังเบาต้องฉาบเก็บรอยระหว่างแผ่นผนังให้เรียบเนียนเช่นกัน หลังจากนั้นให้กำหนดความสูงของฝ้า เพดาน ทั้งในส่วนของภายนอกภายใน และใต้ชายคา จากนั้นจึงดำเนินการฉาบปูนตามมาตรฐาน โดยติดตั้งโครงฝ้าและปิดด้วยวัสดุฝ้าเพดาน รวมถึงติดตั้งระบบไฟฟ้า โคมไฟ และช่องเซอร์วิสไปพร้อมกัน

 

9.ขั้นตอนติดตั้งประตู หน้าต่าง ตกแต่งพื้น ผนัง ทาสี

สำหรับขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนท้าย ๆ แล้ว นั่นก็คือการติดตั้งประตู หน้าต่าง ตกแต่งพื้น ผนัง ทาสี ระบบแสงสว่างภายในบ้าน ซึ่งวัสดุในการติดตั้ง ตกแต่งก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของบ้าน สามารถเลือกได้ตามงบประมาณ ความต้องการ และสไตล์ที่ทุกคนต้องการได้เลย หากติดตั้งเสร็จแล้วไม่ค่อยชอบใจนัก ก็สามารถเปลี่ยนได้ ขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของบ้านเป็นหลัก

 

รางน้ำฝน

 

10.ขั้นตอนเช็กความเรียบร้อย ทำความสะอาด เตรียมเข้าอยู่

ขั้นตอนสุดท้ายคือการเช็กความเรียบร้อย ก่อนที่จะมีการส่งมอบบ้านให้กับเจ้าของบ้าน โดยการเช็กความเรียบร้อยนี้สามารถทำด้วยตนเองได้ แต่หากต้องการความละเอียด ตรวจเช็กแบบถี่ถ้วน ดูมาตรฐานการติดตั้ง การก่อสร้างบ้านได้แบบถี่ถ้วน สามารถติดต่อบริษัทที่รับตรวจเช็กบ้านก่อนส่งมอบได้ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลายบริษัทให้เลือกเยอะแยะมากมาย ราคาก็ไม่ได้แพงมากนัก แต่หากมั่นใจในการตรวจเช็กของตนเองก็สามารถทำได้เช่นกัน เมื่อตรวจเช็กเสร็จแล้วก็ถึงคราวต้องทำความสะอาดบ้าน เตรียมเข้าอยู่ได้เลยครับ

 

กว่าจะสร้างบ้าน 1 หลังได้ ต้องใช้เวลาเก็บเงินนานพอสมควร เมื่อเริ่มก่อสร้างก็ใช้เวลาเป็นปี ๆ กว่าจะสร้างเสร็จ สร้างบ้านทั้งทีคุณเจ้าของบ้านจึงควรเข้าใจหลักการขั้นตอนการสร้างบ้านอยู่บ้าง จะได้รู้ถึงความคืบหน้าของงานก่อสร้างเป็นระยะ ๆ หวังว่าวันนี้ VG จะทำให้คุณเจ้าของบ้านเข้าใจขั้นตอนการสร้างบ้านมากขึ้นไม่มากก็น้อย ขอให้มีความสุขกับบ้านหลังใหม่ที่กำลังเริ่มก่อสร้างกันนะครับ

 

 

ขอบคุณข้อมูล :

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน

STEEL EXPERT BY LEKKLA                       

MANGO GROW YOUR SUCCESS

7 ขั้นตอนสำคัญ สร้างบ้านให้สำเร็จ – สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน Home Builder Association (hba-th.org)

สร้างบ้านเอง วิธีการสร้างบ้านโดยละเอียด เข้าใจง่ายใครๆก็ทำได้ – steelexpert (lekkla.com)

10 ขั้นตอนพื้นฐานสร้างบ้านให้สำเร็จ (mangoconsultant.com)


บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

เลือกบริการติดตั้งรางน้ำฝนอย่างไร? ให้ได้บริการคุณภาพ จบในที่เดียว

การหาผู้ให้บริการติดตั้งรางน้ำฝนอาจไม่ใช่เรื่องยาก แต่การหาช่างผู้เชี่ยวชาญ สามารถตอบโจทย์การติดตั้งได้อย่ารอบด้านนั้นต้องพิจารณาปัจจัยด้านใดบ้าง?
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

แชร์ 5 ไอเดียติดตั้งรางน้ำฝนไวนิลทั้งสวย ทั้งระบายน้ำฝนได้ดี

ใครกำลังวางแผนติดตั้งรางน้ำไวนิลบ้าง ถ้ายัง ในบทความนี้ VG จะพาว่าที่เจ้าของบ้านมาชมไอเดียติดตั้งรางน้ำที่ทั้งสวยและใช้งานได้จริง
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

มาแชร์ เทคนิคซ่อนรางน้ำฝน 3 รูปแบบ แนบเนียนไปกับหลังคาบ้าน

อยากติดตั้งรางน้ำฝน แต่กลัวว่าบ้านจะไม่สวยหรือดูโดดเด่นเกินไป วันนี้ VG จะมาแนะนำให้รู้จักกับเทคนิคซ่อนรางน้ำฝนไวนิลแบบต่างๆ ให้นำไปพิจารณาใช้งานกัน
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

Blog - ฤกษ์ลงเสาเอก ของที่ใช้ในพิธี ขั้นตอนการทำวิธี รู้ไว้ก่อนเริ่มสร้างบ้าน

ใกล้จะเข้าสู่ปีใหม่ 2565 แล้ว หลายคนที่วางแผนสร้างบ้านในปีหน้าฟ้าใหม่ คงกำลังมองหาฤกษ์ลงเสาเอกในปี 2565 นี้  หรือบางคนที่กำลังสร้างบ้านอาจจะยังไม่รู้ว่าการลงเสาเอกคืออะไร ของที่ใช้ในพิธีมีอะไรบ้าง มีลำดับขั้นตอนการประกอบพิธีลงเสาเอกอย่างไร ไม่ต้องห่วงไปครับ วันนี้ VG มีคำตอบให้คุณเจ้าของบ้านทุกท่านครับ
Inbox
Call
Line