การติดตั้ง “รางน้ำฝน” ถือเป็นตัวช่วยที่ดี ในการรองรับน้ำฝนที่ไหลจากหลังคาลงไปยังท่อระบายน้ำป้องกันไม่ให้น้ำฝนไหลลงมาเลอะผนังบ้านและบริเวณรอบบ้าน สร้างความเสียหายให้กับหน้าดินและเกิดแอ่งน้ำขังขึ้น รวมไปถึงช่วยให้น้ำไหลลงในจุดที่เหมาะสม
ปัญหาที่มากับฝนอาจจะไม่ได้มีเพียงปัญหาภายในบ้านเท่านั้น โดยเฉพาะในชุมชนเมืองที่มีการอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่นหรือบ้านในโครงการต่างๆ ที่มีรั้วบ้านใกล้กัน เจ้าของบ้านมักต่อเติมพื้นที่ใช้สอยด้านข้างหรือด้านหลังของบ้าน จนมีระยะร่นเกินที่กฎหมายกำหนดไว้ อาจทำให้มีปัญหาเพื่อนบ้านตามมาทีหลังได้ เพราะฉะนั้นก่อนจะติดตั้งรางน้ำฝนเราจำเป็นต้องรู้สิ่งที่ควรทำก่อนจะติดตั้งด้วย
สิ่งที่ควรรู้ก่อนจะทำการติดตั้งรางน้ำฝน
- ความรู้พื้นฐานในการติดตั้ง
การติดตั้งรางน้ำฝน คือ การติดตั้งอุปกรณ์รองรับน้ำฝนที่ไหลลงจากหลังคาออกจากตัวบ้าน โดยปล่อยให้น้ำไหลลงสู่รางน้ำฝนซึ่งติดกับเชิงชายบ้าน โดยน้ำจะไหลไปสู่ท่อระบายน้ำ เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพและเรียบง่าย การวางระบบของรางน้ำฝนคือการเชื่อมต่อรางน้ำฝนทั้งหมดให้เป็นระบบเดียวกัน โดยวางรางน้ำฝนในจุดที่ต้องการแล้วต่อให้ไหลมารวมกันที่ท่อระบายน้ำ
- ข้อบังคับและใบอนุญาต
โดยทั่วไป ชุมชนส่วนใหญ่อาจไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตเพื่อติดตั้งรางน้ำฝน แต่เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและลดปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง ควรตรวจสอบกับสำนักงานหรือนิติที่ดูแลพื้นที่นั้นๆ ให้เรียบร้อย
- กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การติดตั้งรางน้ำฝนเป็นไปได้ด้วยดี ไม่มีปัญหาตามมาทีหลัง ควรรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการติดตั้งรางน้ำฝนไว้บ้าง โดยตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538) ข้อ 2 ระบุไว้ว่า “อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงต้องมีการระบายน้ำฝนออกจากอาคารที่เหมาะสมและเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น หรือเกิดน้ำไหลนองไปยังที่ดินอื่นที่มีเขตติดต่อกับเขตที่ดินที่เป็นที่ตั้งของอาคารนั้น”
และกฎหมายควบคุมอาคาร ข้อ 50 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ที่เขียนเอาไว้ว่า “กำหนดให้ แนวผนังอาคารต้องร่นจากเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 0.50 เมตร และเป็นผนังทึบ” สรุปคือผนังของตัวบ้านต้องไม่ติดกับรั้วหรือเขตบ้าน เพื่อไม่ให้เชิงชายหรือรางน้ำฝนยื่นล้ำออกไปบ้านข้างๆ
- การเตรียมการติดตั้ง
ปัญหาที่พบบ่อยเกี่ยวกับการติดตั้งรางน้ำฝน คือ สภาพของพังผืดรอบหลังคาบ้านซึ่งทำให้ยากต่อการติดตั้ง ส่วนใครที่มีรางน้ำฝนอยู่แล้ว และต้องการจะติดตั้งรางน้ำฝนใหม่ การลอกของเก่าออกอาจทำให้รางน้ำฝนเดิมปริแตกติดกับหลังคาได้ ควรเลือกใช้เครื่องมือที่ประหยัดเวลาในการลอก เพื่อลดเวลาในการทำงาน และไม่ส่งเสียงรบกวนเพื่อนบ้าน ควรทำในช่วงเช้าถึงบ่าย เพราะเป็นช่วงเวลาที่เพื่อนบ้าน ออกไปข้างนอก
- เมื่อไหร่ที่ควรติดตั้งรางน้ำฝน
สามารถติดตั้งรางน้ำฝนได้ทุกเมื่อแต่ดีที่สุดคือช่วงหน้าหนาว เพราะด้วยปัจจัยทางภูมิอากาศการปีนขึ้นไปติดรางน้ำฝนในฤดูที่มีฝนตกหนัก และแดดร้อนมากๆ ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก
- แจ้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะเพื่อนบ้าน ต้องแจ้งให้ทราบว่าจะทำการติดตั้งรางน้ำฝน เพื่อขอความร่วมมือขณะทำการติดตั้งรางน้ำฝน และยังเป็นการทำความเข้าใจระหว่างกันเบื้องต้น หากมีเสียงรบกวนจะได้ไม่เกิดการทะเลาะกับเพื่อนบ้าน
- พิจารณาความปลอดภัย
แน่นอนว่าการติดตั้งรางน้ำฝนเป็นการทำงานบนที่สูง ก่อนขึ้นทำการติดตั้ง ควรตรวจสอบบันไดที่ใช้ปีนขึ้นไปบนหลังคา ว่ามีความแข็งแรงพอในการรับน้ำหนักและยึดติดกับตัวหลังคาบ้านได้หรือไม่ นอกจากนี้ควรสวมอุปกรณ์เซฟตี้ทุกครั้ง ก่อนทำการติดตั้งรางน้ำฝน
สิ่งที่ต้องระวังในบางข้อจำเป็นจะต้องมีการคำนวณพื้นที่เผื่อเอาไว้ตั้งแต่ก่อนปลูกบ้านแล้ว แต่ใครที่ต้องการต่อเติมรางน้ำฝนหลังจากสร้างบ้านเสร็จแล้ว ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญให้ดีเสียก่อนเพื่อคำนวณระยะรางน้ำฝนที่เหมาะสมกับตัวบ้าน
วิธีการติดตั้งรางน้ำฝน
- เลือกรางน้ำฝน
รางน้ำฝนแต่ละประเภทมีวิธีการติดตั้งที่แตกต่างกัน ดังนั้นอันดับแรกต้องเลือกรางน้ำฝน หากต้องทำการติดตั้งรางน้ำด้วยตัวเอง ควรเลือกรางน้ำฝนที่ง่ายต่อการติดตั้ง โดยทั่วไปรางน้ำฝนจะติดตั้งกับเชิงชายหรือไม้ปีกนกโดยใช้ตะปูหรือนอตจึงอาจจะยุ่งยากในการติดตั้ง ส่วนรางน้ำฝนที่แนะนำให้ใช้คือ รางน้ำฝน uPVC หรือรางน้ำฝนไวนิล ที่เพียงแค่ยึดตะขอกับเชิงชายแล้วล็อกรางน้ำเข้ากับตะขอก็เรียบร้อยแล้ว
- สำรวจพื้นที่สำหรับติดตั้ง
นอกจากการตรวจเช็กความปลอดภัยก่อนจะทำการติดตั้งแล้ว ควรเช็กพื้นที่ที่ต้องการจะทำการติดตั้งด้วย ว่าแข็งแรงพอจะสามารถรับน้ำหนักรางน้ำฝนได้ไหม และจะมีผลต่อโครงสร้างหลังคาหรือไม่
- วัดระดับน้ำระหว่างหัวและท้ายรางน้ำ
วัดความลาดเอียงของรางน้ำฝน เมื่อวัดเสร็จเรียบร้อยให้ใช้เชือกตีแนว เพื่อสร้างแนวเส้นที่จะติดตั้งรางน้ำฝน ช่วยให้ติดตั้งสะดวกขึ้น
- ติดตั้งรางน้ำฝน
สามารถเริ่มติดตั้งรางน้ำฝนได้ ซึ่งขอแนะนำให้เจ้าของบ้านทำตามคู่มือหรือคำแนะนำของรางน้ำฝนชนิดต่างๆ ที่ต้องการติดตั้งให้กับบ้านของท่าน
- ทดลองใช้งาน
ทดสอบประสิทธิภาพของรางน้ำฝนด้วยการฉีดน้ำขึ้นไปบนหลังคา เพื่อดูว่าน้ำไหลลงเป็นปกติตามที่วางแนว รางน้ำฝนเอาไว้ ไม่มีรอยรั่วใดๆ ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการติดตั้ง
จบไปแล้วกับเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการทำการติดตั้งรางน้ำฝนเพียงเท่านี้เจ้าของบ้านก็สามารถที่จะติดตั้งรางน้ำฝนและหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ ได้แล้ว แต่สิ่งต่างๆ ที่ได้แนะนำไปในบทความนี้มีรายละเอียดย่อยอีกหลายประการ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาได้อย่างไม่ตั้งตัว ดังนั้นการจ้างบริษัทที่จัดจำหน่ายรางน้ำฝนและมีบริการติดตั้งจึงนับเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า
บริการติดตั้ง-ต่อเติม รางน้ำฝน VG โดยทีมช่างมืออาชีพ
ใครที่กำลังสนใจติดตั้งรางน้ำฝน ขอแนะนำรางน้ำฝนไวนิล VG ที่มีนวัตกรรมiR-uPVC ที่ยกระดับไวนิลให้เหนือกว่าไวนิลทั่วไป สร้างความแข็งแรง ทนทาน และพร้อมท้าชนทุกสภาพอากาศ รางน้ำฝนไวนิล VG มีเทคโนโลยีการปกป้อง ถึง 2 ชั้น หรือ Double Layers วีจี คิดค้นและตั้งใจออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับสภาพอากาศประเทศไทยโดยเฉพาะ พร้อมบริการติดตั้งโดยทีมช่างมืออาชีพ บริการครบ จบที่เดียว
สามารถสอบถามและปรึกษา VG ผ่านช่องทางต่างๆ ด้านล่าง
โทร. : 087-654-7788
อีเมล : info@mycnpgroup.com
Line OA : @vg-cnp
Facebook : VG รางน้ำและหลังคาไวนิล