รางน้ำฝนคือหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของบ้านสมัยใหม่ที่ขาดไปไม่ได้ เพราะนอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งบ้านให้สวยงามแล้ว ยังมีประโยชน์ในด้านต่างๆ อย่างการช่วยให้น้ำฝนไหลลงในจุดที่เหมาะสม ป้องกันไม่ให้ดินรอบตัวบ้านทรุด ป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกที่มากับฝนกระเซ็นโดนผนังบ้าน หน้าต่าง หรือประตู และแน่นอนว่ารางน้ำฝน PVC กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย
ถึงอย่างนั้น ก็มีข้อควรระวังในการติดตั้งรางน้ำฝน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาในภายหลัง ดังนั้นมาดู 5 ข้อควรระวังในการติดตั้งรางน้ำไวนิลหรือ PVC ที่เจ้าของบ้านต้องรู้ไว้
5 ข้อควรระวังในการติดตั้งรางน้ำ
1. ปัญหารางน้ำฝนยื่นเข้าไปในเขตเพื่อนบ้าน
พอติดตั้งรางน้ำฝนแล้วแต่ตัวรางดันยื่นเข้าไปในเขตเพื่อนบ้าน ถือเป็นปัญหาคลาสสิกที่เจ้าของบ้านหลายๆ คนอาจพบเจอ นอกจากจะเป็นการสร้างความบาดหมางใจให้กันแล้ว รางน้ำฝนที่เลยออกมาอาจจะทำให้น้ำที่ล้นจากรางกระเซ็นเข้าไปในบ้านข้างๆ อีกด้วย
โดยตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2538) ข้อ 2 ได้ระบุเอาไว้ว่า “อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงต้องมีการระบายน้ำฝนออกจากอาคารที่เหมาะสมและเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่นหรือเกิดน้ำไหลนองไปยังที่ดินอื่นที่มีเขตติดต่อกับเขตที่ดินที่เป็นที่ตั้งของอาคารนั้น” หมายความว่าเราต้องระวังเรื่องการระบายน้ำฝน ไม่ให้ไปโดนเพื่อนบ้าน ไม่อย่างนั้นก็อาจเกิดการฟ้องร้องตามกฎหมายได้นั่นเอง
จริงๆ แล้ว การแก้ไขหรือป้องกันปัญหานี้ ก็สามารถทำได้ง่ายๆ โดยการสำรวจระยะห่างของบริเวณบ้านให้ดีก่อนจะติดตั้งรางน้ำฝน PVC หรือหากติดตั้งไปแล้วและคาดว่าอาจมีปัญหในอนาคตก็สามารถขอคำปรึกษาจากช่างเทคนิคผู้เชี่ยวชาญได้เช่นกัน
2. รางน้ำมีขนาดไม่พอดีกับปริมาณน้ำฝน
บางครั้งรางน้ำอาจจะมีขนาดไม่สัมพันธ์กับปริมาณน้ำฝน ทั้งความกว้าง-ลึกของรางน้ำฝน เป็นปัจจัยที่ทำให้รางไม่สามารถระบายน้ำฝนได้ทันจนน้ำล้นออกจากราง ทำให้พื้นที่รอบบ้านเกิดความเสียหายจากปริมาณน้ำฝนที่มากเกินไปในที่สุด โดยเฉพาะในช่วงที่มีฝนตกชุก ดังนั้นก่อนติดตั้งรางน้ำไวนิล เจ้าของบ้านต้องศึกษาปริมาณน้ำฝนในช่วงที่ตกหนักของท้องถิ่นที่อยู่อาศัยก่อน เพื่อมองหารางที่มีความกว้างและความลึกพอดี มีการออกแบบรูปทรงที่รองรับน้ำฝนได้เหมาะสมและไม่ตื้นจนเกินไป โดยปกติรางน้ำฝนจะมีความกว้างประมาณ 4 – 6 นิ้วและลึกประมาณ 3 นิ้ว ซึ่งต้องประเมินพร้อมกับความยาวของรางและจำนวนจุดระบายน้ำให้สัมพันธ์กับพื้นที่รับน้ำของหลังคาด้วยนั่นเอง
3. การติดตั้งตะขอแขวนรางน้ำ
เมื่อได้ลองวัดระยะห่างกับชายคาและแน่ใจแล้วว่ารางน้ำจะไม่ยื่นออกไปยังบ้านข้างๆ ข้อควรระวังอีกหนึ่งอย่างคือการติดตั้งตะขอแขวนรางที่จะต้องติดตั้งอย่างถูกต้อง เว้นระยะห่างเหมาะสม เพื่อให้รางน้ำสามารถกระจายน้ำหนักได้อย่างเหมาะสม เพราะหากมีจุดใดจุดหนึ่งรับน้ำหนักมากเกินไป ก็อาจส่งผลให้ตะขอหลุดร่วงหรือแตกหักได้
โดยการติดตั้งตะขอนั้น ก็ควรเว้นระยะห่างตามประเภทของรางน้ำฝน ซึ่งแต่ละรูปแบบมักมีความห่างที่เหมาะสมไม่เท่ากัน โดยทั่วไปมักจะเว้นระยะประมาณ 60 – 80 เซนติเมตร แต่ถ้าเป็นรางน้ำรางน้ำฝน PVC จาก VG เราก็ขอแนะนำให้ติดตั้งตะขอทุก 50 – 55 เซนติเมตร เพื่อให้รางน้ำรับน้ำหนักได้เต็มประสิทธิภาพที่สุด
4. ความลาดเอียงในการติดตั้ง
รางน้ำฝนต้องอาศัย “ความลาดเอียง” ในการระบายน้ำฝนไปสู่ท่อน้ำทิ้ง ความลาดเอียงจึงเป็นอีกหนึ่งสมการที่ต้องคำนึงไว้ก่อนติดตั้งรางน้ำฝนเสมอ เพราะถ้าหากความลาดเอียงไม่มากพอ ก็จะทำให้น้ำไหลได้ไม่สะดวก ส่งผลให้ระบายน้ำได้ไม่เต็มที่หรือน้ำล้น ซึ่งก็ควรสร้างแนวเส้นโดยใช้เชือกตีแนวก่อน เพื่อให้ได้ความลาดเอียงที่เหมาะสมมากที่สุด
5. ทดสอบประสิทธิภาพหลังติดตั้งเสร็จ
แม้จะติดตั้งรางน้ำฝนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าของบ้านก็ควรทำการทดสอบประสิทธิภาพกันก่อน ไม่จำเป็นต้องรอให้ฝนตกก่อนแล้วค่อยดูว่าใช้งานได้ดีหรือไม่ โดยอาจทำการฉีดน้ำลงบนหลังคาหรือบนรางน้ำ แล้วปล่อยให้น้ำไหลลงไปตามรางถ้าน้ำไหลลงสู่ท่อได้อย่างปกติก็ถือว่าเรียบร้อย อีกทั้งถ้าเกิดว่าสังเกตเห็นจุดรั่วซึมหรือน้ำไหลช้าเกินไป ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
ข้อควรระวังในการติดตั้งรางน้ำฝนทั้ง 5 ข้อนี้ก็เป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านมือใหม่ควรจดไว้ให้ดีก่อนเริ่มติดตั้งรางน้ำไวนิล ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมา ทั้งในการใช้งาน ปัญหากับเพื่อนบ้าน หรือข้อขัดข้องต่างๆ นอกจากนี้ ก็ควรเลือกซื้อรางน้ำที่มีคุณภาพจากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ อย่างรางน้ำ PVC จาก VG นี่เอง
รางน้ำฝนไวนิล VG นวัตกรรม iR-uPVC
VG ได้ยกระดับรางน้ำฝน PVC ไปอีกขั้นด้วยนวัตกรรมเฉพาะอย่าง iR-uPVC ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของเราเท่านั้น นวัตกรรมรางน้ำฝน iR-uPVC (Infrared Reflective Unplasticized Polyvinly Chloride) คือวัสดุที่เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของ VG ที่เราได้มุ่งมั่นพัฒนามานานกว่า 15 ปี โดยสาร Infrared Reflective นั้นสามารถ “สะท้อน” แสงและความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทนทานต่อสภาพอากาศได้ในระดับที่สูงกว่า นอกจากนี้ ยังมีการเสริมความแข็งแรงด้วยวัสดุคุณภาพสูงจากแบรนด์ชั้นนำระดับประเทศ มีผู้เชี่ยวชาญคอยควบคุมการผลิตในทุกขั้นตอน ยกระดับการป้องกันทั้งชั้นนอกและชั้นใน คือ
- Outer Layer – ผิวด้านนอกมีความมันเงา สูตรเฉพาะของ VG เคลือบถึง 2 ชั้น (Double Layer) ด้วยสีพิเศษ Dupont ซึ่งเป็นสีแบรนด์ดังระดับโลก ทำให้พื้นผิวเรียบเนียนสวยงาม มีคุณสมบัติ Infrared Reflective สามารถสะท้อนรังสียูวีจากแสงแดดได้มากกว่าถึง 3 เท่า เป็นฝ้าหลังคาไปในตัว ช่วยลดปัญหาอากาศร้อนบริเวณใต้ชายคาได้อีกด้วย
- Inner Layer – โครงสร้างชั้นในถูกขึ้นแบบออกมาให้มีความแข็งแรง ทนทาน และมีความยืดหยุ่นสูง ช่วยให้คงสภาพรางน้ำได้ตลอดการใช้งาน ไม่แตกหักง่ายเหมือนกับไวนิลทั่วไป
รางน้ำ iR-uPVC ผ่านการทดสอบ Weather Testing จากประเทศเยอรมัน มั่นใจได้ว่าตอบโจทย์การใช้งานในทุกสภาพอากาศอย่างแท้จริงเลยทีเดียว ทั้งยังมีหลากหลายรุ่นให้เลือกตามความชอบตามสไตล์ของบ้าน เป็นเครื่องตกแต่งที่ลงตัวอย่างแน่นอน
สามารถปรึกษา VG ได้ตามช่องทางต่างๆ ด้านล่าง
โทร.: 087-654-7788, 080-744-7799, 063-271-7711 (ENG)
อีเมล: info@mycnpgroup.com
LINA OA: @vg-cnp
Facebook: VG รางน้ำและหลังคาไวนิล