fbpx
รางน้ำไวนิล

รูปทรงหลังคามีกี่แบบ แต่ละรูปทรงมีลักษณะอย่างไรบ้าง

หลังคา เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการปกป้องดูแลบ้านจากแดด ลม ฝน และหน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การทำให้บ้านมีเอกลักษณ์ บ่งบอกตัวตนของเจ้าของบ้าน ปัจจุบันทรงหลังคามีให้เลือกมากมายหลากหลายแบบ หลายสไตล์ สามารถเลือกทรงหลังคาตามสไตล์ที่เจ้าของบ้านชื่นชอบได้เลยครับ โดยหลัก ๆ แล้วรูปทรงหลาคายอดฮิตในปัจจุบันที่คนเลือกใช้มากที่สุด มีทั้งหมด 11 แบบ ดังนี้

 

  1. หลังคาทรงจั่ว(Gable Roof)

หลังคาทรงจั่ว (Gable Roof) ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน เป็นหลังคารูปทรงเรียบง่าย ลักษณะของหลังคาประเภทนี้ เป็นหน้าจั่วสามเหลี่ยมทอดยาวลงมาตลอดตัวหลังคา หลังคาทั้งสองด้านจะลาดเอียงสโลบลงไปคนละฝั่ง แต่ปลายสุดของหลังคาด้านบนจะชนกันเป็นทรงสามเหลี่ยม หลังคาประเภทนี้เหมาะกับบ้านสไตล์โมเดิร์น บ้านสไตล์ร่วมสมัย ข้อดีคือลดปัญหาการรั่วซึมได้ดี เพราะมีมุมองศาลาดเอียงพิเศษ ระบายความร้อนใต้ชายคาได้ดี ช่วยลดความร้อนภายในตัวบ้าน  ส่วนข้อเสียของหลังคาทรงจั่ว หากฝนตกในทิศทางลมที่หันเข้าสู่จั่วบ้าน อาจจะทำให้น้ำฝนกระเด็นเข้ามาภายในบ้านได้ การป้องกันปัญหานี้ไว้ตั้งแต่ต้น ทำได้โดยการติดตั้งกันสาด

 

  1. หลังคาแบน (Flat Roof)

หลังคาทรงแบบ (Flat Roof)  หรือคนนิยมเรียกกันติดปากว่า หลังคาเปลือย ลักษณะของหลังคาทรงนี้มีลักษณะแบนราบเป็นระนาบเดียวกับพื้น มีความโมเดิร์นและทันสมัย  เหมาะกับบ้านสมัยใหม่ โดยเฉพาะบ้านสไตล์โมเดิร์นและทรอปิคอลโมเดิร์น ในปัจจุบันนิยมใช้กับบ้านที่เป็นทาวน์โฮม ทาวน์เฮาส์ ข้อดีของหลังคาแบน คือ มีดีไซน์โดดเด่น ทันสมัย สามารถใช้บริเวณพื้นหลังคาเป็นดาดฟ้า มุมพักผ่อน พื้นที่รับลมเย็น ๆ ส่วนข้อเสียคือเป็นทรงหลังคาที่มีโอกาสรั่วซึม หากทำกันซึมไม่ได้มาตรฐานหรือปรับพื้นให้ลาดเอียงเพื่อระบายน้ำได้ไม่ดี

 

  1. หลังคาทรงปั้นหยา

หลังคาทรงปั้นหยา (Hip Roof) อีกหนึ่งทรงหลังคาที่ได้รับความนิยมสูงมากในประเทศไทย  เพราะเป็นทรงหลังคาที่ดูเรียบง่าย ลักษณะของทรงหลังคาชนิดนี้คือ ผืนหลังคาทั้งสี่ด้านลาดเอียงขึ้นไปชนกันจรดสันหลังคา หลังคาทรงปั้นหยาสามารถใช้กับบ้านได้หลายสไตล์ เช่น  บ้านสไตล์โมเดิร์น  สไตล์ร่วมสมัย บ้านทรงไทยประยุกต์ ข้อดีของหลังคาทรงนี้คือ มีความมั่นคง แข็งแรง  กันแดดกันฝนได้ดี มีโครงสร้างบรรจบกันที่ด้านบน และมีมุมลาดเอียงครอบคลุมทุกทิศทางของตัวบ้าน ส่วนข้อเสียคือมีจุดเชื่อมต่อหลายจุด มากกว่าหลังคาทรงอื่น ๆ จำเป็นต้องใช้ช่างฝีมือดี หากติดตั้งไม่ได้มาตรฐานอาจมีปัญหารั่วซึมตามมา

 

  1. หลังคาเพิงหมาแหงน

หลังคาทรงเพิงหมาแหงน (Lean-to Roof) เป็นหลังคาที่มีความโดดเด่น มีความสวยงามเฉพาะตัว ลักษณะของหลังคาเพิงหมาแหงน คือ มีความเรียบเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง คล้ายกับหมาที่นั่งแหงนหน้าขึ้น  เหมาะกับบ้านสไตล์โมเดิร์น  มีข้อดีตรงที่ให้ความสวยงาม มีเอกลักษณ์ ติดตั้งได้รวดเร็ว เพราะมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ประหยัดค่าแรงงานและค่าวัสดุ ส่วนข้อเสีย คือ กันความร้อนได้ไม่ดีเท่าที่ควร หากออกแบบความลาดเอียงไม่ดี อาจส่งผลให้เสี่ยงต่อปัญหารั่วซึมได้

 

  1. หลังคาปีกผีเสื้อ

หลังคาปีกผีเสื้อ (Butterfly Roof) เป็นหลังคาที่มีลักษณะคล้ายกับผีเสื้อที่กำลังกระพือปีกบิน โดยประกอบด้วยหลังคาเพิงแหงน 2 หลัง หันด้านฝั่งที่ต่ำมาชนกัน หลังคาทรงปีกผีเสื้อมีความโมเดิร์น ทันสมัย มีความเรียบเท่ เหมาะกับบ้านสไตล์โมเดิร์น สไตล์เนเชอรัล ข้อดีคือมีดีไซน์ที่สะดุดตา แปลกใหม่ ทำให้บ้านมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สามารถรองรับน้ำฝนได้ดี ส่วนข้อเสียคือต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งรางน้ำเพิ่มเติม น้ำฝนจะมารวมตัวที่ตรงกลาง จึงจำเป็นต้องทำระบบระบายน้ำ มีโอกาสรั่วซึม

 

  1. หลังคาทรงมะนิลา

หลังคาทรงมะนิลา  (Manila Roof หรือ Dutch Gable Roof)  เกิดจากการผสมผสานระหว่างหลังคาทรงจั่วกับทรงปั้นหยารวมกัน เหมาะกับบ้านสไตล์ไทยประยุกต์ สไตล์ร่วมสมัย สไตล์คันทรี่ สไตล์โคโลเนียล  มีข้อดีตรงที่การนำข้อดีของหลังคาทั้ง 2 แบบ มารวมตัวกัน เพื่อผสมผสานความแข็งแรง คงทน กันความร้อนได้ดี โดยส่วนที่เป็นหลังคาทรงปั้นหยาสามารถช่วยป้องกันแดด ฝน ได้ทั้ง 4 ด้าน ในขณะที่หลังคาทรงจั่วมีความสามารถในการระบายความร้อนได้ดี ช่วยให้บ้านเย็นสบายยิ่งขึ้น ส่วนข้อเสีย คือ ด้วยความที่มีการผสมผสานระหว่างหลังคา 2 แบบ จึงมีความซับซ้อนของทรงหลังคา ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหารั่วซึมระหว่างรอยต่อหลังคาได้ จึงต้องใช้ทีมช่างที่เชี่ยวชาญในการติดตั้งหลังคาทรงมะนิลา

 

  1. หลังคาทรงโค้งกลม

หลังคาทรงโค้งกลม  (Curved Roof) ทรงหลังคาที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว มีลักษณะโค้งมน ทำให้สร้างเอกลักษณ์ให้กับตัวบ้าน โดยหลังคาทรงนี้นิยมออกแบบในลักษณะที่มีชายคา ทั้งแบบยื่นในระยะสั้นและแบบยื่นยาว  และนิยมใช้โครงสร้างเปลือกบาง มักใช้วัสดุมุงหลังคาประเภทเมทัลชีท หรืออลูมิเนียมขึ้นรูป ทำให้มีน้ำหนักเบา มีข้อดีตรงสามารถใช้วัสดุมุงหลังคาได้หลายแบบตามความต้องการ ไม่ค่อยมีปัญหารั่วซึม แต่ในขณะเดียวกันมีข้อเสียตรงค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องคำนวณออกแบบโครงสร้าง ให้มีความมั่นคง แข็งแรง  มีมาตรฐานและความปลอดภัย

 

  1. หลังคาทรงหลายเหลี่ยม

หลังคาทรงหลายเหลี่ยม มองแบบผิวเผินอาจมีลักษณะคล้ายหลังคาทรงปั้นหยา แต่มีความแตกต่างกันตรงหลังคาทรงปั้นหยาเกิดจากผืนหลังคาสี่ด้านที่ลาดเอียงขึ้นไปเจอกันด้านบนสุด ในขณะที่หลังคาทรงหลายเหลี่ยมมีผืนหลังคามากกว่าสี่ด้าน ที่ได้รับความนิยมมาก คือ แบบหกเหลี่ยม (Hexagonal Roof) และแบบแปดเหลี่ยม (Octagonal Roof) โดยหลังคาทรงหลายเหลี่ยมเหมาะกับบ้านสไตล์เนเชอรัล สไตล์คลาสสิก ข้อดีคือสามารถกันแดด กันฝน ได้จากทุกทิศทาง มีรูปแบบสวยงามเฉพาะตัว ช่วยสร้างเอกลักษณ์ให้กับตัวบ้าน แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อเสียอยู่ที่ต้องออกแบบโครงสร้างให้ดี เพื่อให้หลังคาสามารถรับน้ำหนักได้อย่างปลอดภัย

 

  1. หลังคาทรงโดม

หลังคาทรงโดม (Dome Roof) เป็นหลังคาที่มีลักษณะโค้งมน มีความสวยงาม ประณีต เหมาะสำหรับบ้านสไตล์คลาสสิค สไตล์ยุโรป ให้ความหรูหรา โอ่อ่า น่าสนใจ สำหรับบ้านพักอาศัยสามารถใช้วัสดุขึ้นรูปสำเร็จ เช่น คอนกรีตเสริมใยแก้ว (GRC) เป็นโครง และปิดผิวด้วยวัสดุตกแต่งอย่างกระเบื้องโมเสก แผ่นโลหะ หรือทาสีทับตามต้องการ ข้อดีของหลังคาทรงโดม คือ ช่วยเสริมให้บ้านดูโดดเด่น หรูหรา ดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็น ในขณะเดียวกันก็มีข้อเสียตรงที่มีโอกาสรั่วซึมตามรอยต่อโครงสร้างได้ง่าย

 

  1. หลังคาทรงจั่วตัด

หลังคาทรงจั่วตัด (Jerkinhead Roof)  เป็นหลังคาที่ดูเรียบง่าย สามารถกัดแดด กันฝนได้ดี มีลักษณะเหมือนการฝานตัดเอาส่วนมุมแหลมด้านบนออกแล้วทำผืนหลังคาเล็ก ๆ ลาดเอียงลงมา จึงให้ความรู้สึกถึงความมนมากกว่าหลังคาจั่วปกติ เหมาะกับบ้านสไตล์ร่วมสมัยหรือบ้านสไตล์อื่นๆ ตามลักษณะการออกแบบ  หลังคาทรงจั่วตัด มีความสวยงามแบบเรียบง่าย มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีข้อดีตรงสามารถกันแดดกันฝนได้เหมือนหลังคาจั่วทั่วไป มุมตัดหน้าจั่วช่วยกันแดดและกันฝนสาดได้

 

  1. หลังคารูปทรงอิสระ

หลังคารูปทรงอิสระ (Free Form Roof) ให้ความรู้สึกท้าทาย น่าตื่นตาตื่นใจ มีความโดดเด่นเฉพาะตัว รูปทรงแตกต่างกันออกไปตามการออกแบบของนักออกแบบ ซึ่งออกแบบเพื่อให้เข้ากับสไตล์บ้าน ออกแบบให้หลุดจากกรอบเดิม ๆ สิ่งเดิม ๆ เช่น การนำรูปทรงหลายเหลี่ยมมาผสมผสานกัน  แรงบันดาลใจจากสิ่งที่พบเห็น เป็นต้น ข้อดีของหลังคารูปทรงอิสระคือ ความสวยงาม แปลกใหม่ ไม่ซ้ำใคร แต่มีข้อเสียตรงที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์จากนักออกแบบ และอาศัยความเชี่ยวชาญของการติดตั้งตามแบบที่สร้างสรรค์ขึ้น

ทรงหลังคามีหลายแบบ แต่ละทรงมีความสวยงาม ความโดดเด่นเฉพาะตัว และมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันออกไป คุณเจ้าของบ้านชอบทรงหลังคาแบบไหน สามารถเลือกได้ตามใจเลยครับ เพราะจริง ๆ แล้วทรงหลังคาเป็นเหมือนการบ่งบอกตัวตนของเจ้าของบ้าน ผู้พักอาศัย แต่ไม่ว่าจะเลือกทรงหลังคาแบบไหน ข้อสำคัญคือต้องดูว่าเข้ากับสไตล์บ้านที่กำลังสร้างหรือไม่

 

ขอบคุณข้อมูล :

SCG HOME 

Home Builder Association (hba-th.org)

Jorakay.co.th


บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

รวมไอเดียแต่งสวนข้างบ้านหรือระเบียงคอนโดให้สวยสบายตา

บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

7 วิธีเปลี่ยนห้องเหม็นอับ ให้กลับมาสดชื่น

เดินเข้าบ้านแต่ละที มีอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม เนื่องจากกลิ่นเหม็นอับ ขยับตัวไปทางไหนก็รู้สึกถึงกลิ่นเหม็น อับ ชื้น แฉะ ทำให้หลายคนไม่อยากอยู่ติดบ้านกันเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุของกลิ่นอับก็มีอยู่หลายสาเหตุ เช่น อากาศในห้องถ่ายเทไม่สะดวก การรับประทานอาหารในห้องนอน สูบบุหรี่ วางกองเสื้อผ้าไว้กับพื้น กลิ่นเหงื่อ  ฝนตก เป็นต้น กลิ่นเหม็นอับเป็นปัญหากวนใจที่ใครหลายคนอยากจะกำจัดให้สิ้นซาก เพราะหากปล่อยไว้อาจกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคจนส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของผู้อยู่อาศัย วันนี้ VG มีวิธีเปลี่ยนห้องเหม็นอับ ให้กลับมาสดชื่น มาฝากคุณเจ้าของบ้านกันครับ
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

รวมเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับรางน้ำฝน ป้องกันปัญหากับเพื่อนบ้าน!

พามาดูเรื่องที่น่าสนใจเมื่อตัดสินใจที่จะติดตั้งรางน้ำฝน มีอะไรบ้างที่ต้องรู้ และเรื่องไหนต้องระวัง เพื่อไม่เกิดปัญหากับเพื่อนบ้านในภายหลัง
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

โครงสร้างบันได มีกี่แบบ มีลักษณะอย่างไร

บันได เป็นส่วนของอาคารใช้เชื่อมต่อระหว่างชั้นล่างและชั้นบนของบ้าน อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้าง ทำมาจากไม้ หิน อิฐ เหล็ก หรือคอนกรีตเสริมเหล็ก ตามแต่ความต้องการของคุณเจ้าของบ้าน ปัจจุบันสามารถพบเห็นแบบบันไดหลากหลายรูปแบบ ทั้งสวยงาม แปลกใหม่ ทันสมัย โดยเจ้าของบ้านบางคนให้ความสำคัญกับการสร้างบันไดมาก บางคนเปรียบบันไดเหมือนเฟอร์นิเจอร์ ต้องสร้างให้มีความสวยงาม หรูหรา เข้ากับสไตล์การตกแต่งภายในบ้าน วันนี้ VG มาพูดถึงโครงสร้างบันไดว่ามีกี่แบบ มีลักษณะอย่างไรบ้าง
Inbox
Call
Line