fbpx
รางน้ำไวนิล

หลังคากระเบื้องมีกี่ประเภท มีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง

หลังคา เป็นส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของบ้าน ทำหน้าที่ปกป้องดูแลบ้านจาก แดด ฝน ซึ่งในปัจจุบันวัสดุหลังคามีให้เลือกหลากหลายมาก หลังคากระเบื้องก็เป็นวัสดุหลังคาประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงมาก เนื่องจากมีความสวยงามเข้ากับบ้าน และสามารถป้องกันความร้อนได้ดี หลังคากระเบื้องมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันออกไป วันนี้ VG จะพามาเจาะลึกรายละเอียดของหลังคากระเบื้องแต่ละประเภท เพื่อเป็นประโยชน์กับคุณเจ้าของบ้านกันครับ

 

หลังคากระเบื้อง ที่ได้รับความนิยม หลัก ๆ มีอยู่ 4 ประเภท ดังนี้

1. หลังคากระเบื้องคอนกรีต (Concrete Roof Tiles)

หลังคากระเบื้องคอนกรีต เป็นหลังคาที่มีลักษณะกระเบื้องรูปลอน มีคุณสมบัติโดดเด่นในเรื่องของความทนทาน แข็งแกร่ง ขนาดพอดีสวยงาม ผลิตมาจากคอนกรีต ซึ่งมีส่วนผสมของหิน ปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ นำมาผสมกัน แล้วขึ้นรูปเป็นแผ่นหลังคาแบบมีลอน ปัจจุบันได้พัฒนาการผลิตกระเบื้องคอนกรีตแบบแผ่นเรียบ เพื่อความสวยงามและสามารถเข้ากับบ้านสไตล์ต่าง ๆ เช่น กระเบื้องแผ่นเรียบสี่เหลี่ยม กระเบื้องแผ่นเรียบรูปทรงหางว่าว ซึ่งกระเบื้องแผ่นเรียบเหมาะกับบ้านสไตล์โมเดิร์น สไตล์ไทยดั้งเดิม สไตล์ไทยประยุกต์ สไตล์โคโลเนียล เป็นต้น

 

ข้อดี : ขนาดกำลังพอดีสวยงาม ราคาสมเหตุสมผล มีหลายรูปแบบให้เลือก ความทนทาน แข็งแกร่งดี มีปัญหารั่วซึมน้อย ทำความสะอาดหรือทาสีกระเบื้องหลังคาทับได้ ไม่ต้องเปลี่ยนหลังคา

ข้อเสีย มีน้ำหนักค่อนข้างมาก ต้องเตรียมโครงสร้างหลังคาให้ดีเพื่อรองรับน้ำหนักหลังคา จึงต้องใช้ช่างที่มีความเชี่ยวชาญ ผิวสัมผัสคอนกรีตค่อนข้างหยาบ  อาจทำให้ฝุ่นผงละเอียดเกาะติดได้ง่าย คอนกรีตเป็นวัสดุที่มีการสะสมความร้อน อาจจำเป็นต้องติดฉนวนกันความร้อนเพิ่ม รวมถึงอายุการใช้งานของสีเคลือบหลังคาที่มีระยะเวลาจำกัด ส่งผลให้กระเบื้องหลังคาดูหมองได้ในระยะยาว

 

2. หลังคากระเบื้องดินเผา (Clay Roof Tiles)

กระเบื้องดินเผา เป็นกระเบื้องแผ่นเล็ก ๆ มีลักษณะเป็นลอนโค้งสูง ซึ่งได้รับความนิยมมากในอดีต แต่ปัจจุบันไม่นิยมนำมาใช้กับบ้านพักอาศัย มักใช้เป็นหลังคาอาคาร หลังคาบ้านทรงไทย วัด โบสถ์ ทำมาจากดินเหนียวผสมน้ำ แล้วนำมานวดให้เข้ากัน ขึ้นรูปและเผาไฟ จนได้แผ่นกระเบื้องที่มีความแข็งแรง  มีทั้งแบบเคลือบน้ำยาและแบบที่ไม่ได้เคลือบน้ำยา โดยกระเบื้องดินเผามีน้ำหนักเบากว่ากระเบื้องคอนกรีต ระบายความร้อนใต้หลังคาได้ดี ที่สำคัญสามารถชำระล้างสิ่งสกปรกออกได้ด้วยน้ำฝน เหมาะกับบ้านสไตล์ไทยดั้งเดิม สไตล์ไทยประยุกต์ บ้านสไตล์ตะวันตกที่แฝงกลิ่นอายเมดิเตอเรนียน

 

ข้อดี :  มีความสวยงาม ดูเป็นธรรมชาติ ให้รูปทรงอนุรักษ์ตามลักษณะของท้องถิ่นแท้ ๆ น้ำหนักเบากว่ากระเบื้องคอนกรีต มีความแข็งแกร่ง ทนทาน นำความร้อนต่ำทำให้ระบายความร้อนใต้หลังคาได้ดี ช่วยลดการสะสมฝุ่นและสามารถชะล้างสิ่งสกปรกออกได้ด้วยน้ำฝน 

ข้อเสีย : ความแข็งแรงไม่ได้ดีมากนัก เมื่อเทียบกับหลังคากระเบื้องประเภทอื่น ๆ และหากโดนน้ำหรือความชื้นมากเกินไป อาจส่งผลให้กระเบื้องมีการหลุดร่อนได้

 

3. หลังคากระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์ (Fiber Cement Roof Tiles)

หลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ หรือ หลังคากระเบื้องลอนคู่ ผลิตจากการนำปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์มาผสมกับเส้นใยสังเคราะห์ โดยการเปลี่ยนส่วนผสมจากเส้นใยหินมาเป็นเส้นใยสังเคราะห์ ช่วยลดการก่อสารพิษต่าง ๆ การสะสมความร้อนต่ำ จึงลดปัญหาความร้อนใต้ชายคาได้ดี มีความยืดหยุ่นและความเหนียว จึงทำให้หลังคามีความบาง น้ำหนักเบา รูปแบบแผ่นกระเบื้องมีให้เลือกหลากหลาย ตามสไตล์ของบ้านที่กำลังปลูกสร้าง

 

ข้อดี : แข็งแรง ทนทานได้ทุกสภาพอากาศ สีสันสวยงาม มีให้เลือกหลากหลาย มีความปลอดภัย ช่วยลดการก่อสารพิษต่าง ๆ มีการสะสมความร้อนต่ำ ทำให้บ้านมีความเย็นสบาย ไม่ร้อน มีความยืดหยุ่นและมีความเหนียวทำให้สามารถทำแผ่นหลังคาให้บางได้ น้ำหนักจึงเบาตามไปด้วย

ข้อเสีย : ต้องมุงซ้อนทับกันค่อนข้างมาก ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง เพราะเปลืองวัสดุประเภทแปเหล็กที่ต้องทำค่อนข้างถี่เพื่อให้หลังคามีความแน่นหนา แข็งแรง เหมาะกับการติดตั้งหลังคาบ้านพักอาศัยหรืออาคารที่มีความสูงของสันหลังคาจากพื้นดินไม่เกิน 23 เมตร ในเรื่องของสีของกระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์เมื่อซื้อมาติดตั้งทดแทนบางแผ่นที่ชำรุด อาจจะแตกต่างจากเดิม

 

4. หลังคากระเบื้องเซรามิก ( Ceramic Tiles)

กระเบื้องเซรามิก เป็นกระเบื้องที่มีความสวยงามโดดเด่น หรูหรา มีความมันวาวเงางามยาวนาน เมื่อถูกแสงแดดจะสะท้อนสีสันบนผิวออกมาได้อย่างชัดเจน ผลิตจากดินพิเศษนำมาอัดขึ้นรูปให้มีความหนาประมาณ  2.5-2.7 ซม. แล้วเคลือบสี นำไปเผาให้ผ่านอุณหภูมิ 1,100 องศาเซลเซียส จึงได้เนื้อกระเบื้องที่มีความแข็งแรง มีความมันเงาสวยงาม กระเบื้องเซรามิกมีให้เลือกหลายรูปแบบ เช่น แบบลอนมาตรฐาน แบบลอนเว้า แบบแผ่นเรียบ เหมาะกับบ้านสไตล์คลาสสิกหรูหรา สไตล์โมเดิร์น

 

ข้อดี :  มีให้เลือกหลายรูปแบบ  ไม่อมความร้อน ทำให้ไม่มีความร้อนไปสะสมใต้ชายคา บ้านเย็นสบายมากขึ้น น้ำหนักค่อนข้างเบา สีที่ใช้เคลือบก็มีความคงทนสูง ไม่ซีดจาง ลักษณะของผิวที่เรียบมันช่วยลดการเกาะของฝุ่น และสามารถชะล้างสิ่งสกปรกออกได้ง่ายเมื่อถูกน้ำฝน ทำให้กระเบื้องเงางามเหมือนใหม่อยู่เสมอ 

ข้อเสีย : หากมีน้ำท่วมขังบนกระเบื้องเซรามิก จะทำให้มีความลื่นและเป็นอันตรายได้ ทนทานน้อยกว่าหลังคากระเบื้องประเภทอื่น ๆ เหมาะกับการนำมาใช้ตกแต่งแค่ครั้งเดียว หากรื้อออกแล้วไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีก

หลังคากระเบื้องทั้ง 4 ประเภท ที่ VG นำมาบอกเล่าให้คุณเจ้าของบ้าน ต่างก็มีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันออกไป หากจะตัดสินใจเลือกประเภทกระเบื้องแบบไหน คุณเจ้าของบ้านต้องอ่านทบทวนให้ดี พิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ แล้วค่อยตัดสินใจ เพื่อให้ได้หลังคากระเบื้องที่ตรงใจเหมาะสมกับบ้านเราที่สุดนั่นเองครับ

 

 

ขอบคุณข้อมูล: srang-baan.com

Types of roofing materials  Wazzadu

SCG Building Materials


บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

Blog - วิธีกู้เงินสร้างบ้าน 2564 มีขั้นตอนอะไรบ้าง

การมีบ้านสักหลังเป็นของตัวเอง ถือเป็นความฝันของใครหลายคน แต่กว่าชีวิตจะเดินทางไปถึงจุดนั้นได้ บางคนต้องใช้เวลาเก็บเงินอยู่หลายสิบปี ทางลัดเพื่อไปถึงเป้าหมายนั้นที่หลายคนเลือกใช้เพื่อให้มีบ้านสักหลังเร็วขึ้น คือ การกู้ยืมเงินธนาคารเพื่อสร้างบ้าน ถึงแท้จะมาพร้อมกับหนี้ก้อนโตที่ต้องผ่อนจ่ายอยู่หลายปี แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าสำหรับการได้มีบ้านอาศัยอยู่กับครอบครัวเร็วขึ้น วันนี้ VG ขอพูดถึงวิธีกู้เงินสร้างบ้าน ว่ามีขั้นตอนรายละเอียดอย่างไรบ้าง ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมตัว ยื่นกู้เงินกับธนาคาร จนได้บ้านในฝันที่คุณต้องการ
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

รางน้ำฝนแบบไหนทนมากกว่ากัน ใช้งานได้นานและคุ้มสุดๆ

ถ้าอยากได้รางน้ำฝนที่ทนทาน ตอบโจทย์การใช้งานยาวนาน ด้วยตัวเลือกอันมากมายในทุกวันนี้ เจ้าของบ้านควรเลือกรางน้ำฝนแบบไหนดี?
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

รางน้ำไวนิล ติดตั้งเองอย่างไรให้ถูกต้องและรองรับน้ำฝนได้ชัวร์ๆ

อรางน้ำไวนิลมาแล้ว อยากประหยัดงบขั้นสุด มีวิธีติดตั้งรางน้ำไวนิลอย่างไรให้ถูกต้อง และสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ? มาดูไปพร้อมกับ VG เลย
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

เช็กให้ดี หลังคารั่วเพราะรางน้ำฝนหรือเปล่า? พร้อมบอกวิธีแก้ไข

<!-- wp:image --> <figure class="wp-block-image"><img src="https://lh7-us.googleusercontent.com/KPJ1Jq6RVw3F0sIOvVeRG4mQ40hbD7GWvIz7nl5LxHM9NJqd-TtxZpxF1RtAYImLAFEpb6mIZA0ZAts2Q8Unpp3EuI3EZJBfQpw7FQBzOouYzUgbOzQ1C-ReQyNKB--pHgmtK5XemiThNXvMPmN4Z68" a
Inbox
Call
Line