fbpx
รางน้ำไวนิล

รู้จักกฎหมาย ข้อกำหนดก่อนติดตั้งระแนงรั้วบ้านอย่างสบายใจ

บทความนี้จะพาทุกคนไปสำรวจกฎหมายสำหรับการติดตั้งระแนงไวนิลสำหรับทำรั้วบ้าน ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งในแง่ของการติดตั้งรั้วให้บ้านตัวเอง และในแง่ของการปกป้องสิทธิประโยชน์ในพื้นที่จากความไม่สบายใจที่เกิดขึ้นจากบ้านข้างเคียงกัน

2

ข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะร่นและเขตที่ดินตามกฎหมาย

  • "ระยะร่น" จากรั้วถึงเขตถนน/พื้นที่สาธารณะ

ระยะร่น คือ ระยะที่ว่างที่วัดจากพื้นที่สาธารณะหรือเขตแดนของเพื่อนบ้านมาถึงแนวอาคารในที่ดินของเรา โดยที่ในระยะนี้เราจะสร้างรั้วหรือสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ได้ในพื้นที่ของเรา ซึ่งกฎหมายการสร้างรั้วบ้าน ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 นั้น ได้กำหนดระยะร่นสำหรับการติดตั้งรั้วไว้สำหรับพื้นที่สาธารณะไว้ว่า อาคารที่มีแนวกว้างน้อยกว่า 6 เมตรนั้น ควรมีระยะร่นจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 3 เมตร

  • เขตแดนระหว่างบ้านสองหลัง

หากอาคารของเรามีความสูงไม่เกิน 9 เมตร และมีช่องเปิดประตู หน้าต่าง รวมถึงช่องแสง และอื่น ๆ นั้น ควรมีระยะร่นจากเขตที่ดินของผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร

  • ความแตกต่างระหว่างบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม และคอนโด

กฎหมายจะระบุความแตกต่างของระยะร่นหรือเกณฑ์การติดตั้งรั้วอาคารโดยวัดจากความสูงของอาคาร ซึ่งบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม และคอนโดนั้น สามารถแบ่งเป็นความสูงได้ดังนี้ 

  • ความสูงไม่เกิน 8 เมตร : มีระยะร่นอย่างน้อย 3 เมตร
  • ความสูงไม่เกิน 9 เมตร : มีระยะร่นอย่างน้อย 2 เมตร 
  • ความสูงไม่เกิน 15 เมตร : มีระยะร่นอย่างน้อย 0.5 เมตร
  • ความสูงไม่เกิน 23 เมตร : มีระยะร่นอย่างน้อย 0.5 เมตร
3

ความสูงของรั้วบ้านและระแนงไวนิลที่อนุญาตตามกฎหมาย

  • ความสูงของรั้วที่ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

ปกติแล้วกฎหมายจะอนุญาตให้สร้างได้ในความสูงไม่เกิน 2 เมตร สำหรับอาคารในพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนอาคารในพื้นที่อื่น ๆ จะสามารถสร้างรั้วได้ในความสูงที่ไม่เกิน 3 เมตร

  • รั้วสูงเกินกฎหมายกำหนด ต้องทำอย่างไร?

หากรั้วสูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด หรือสูงมากกว่า 10 เมตรขึ้นไปนั้น จะถือว่าเป็นสิ่งปลูกสร้าง เจ้าของที่ดินต้องทำเรื่องขออนุญาตก่อสร้างที่สำนักงานเขตหรือเทศบาลในพื้นที่

4

การขออนุญาตติดตั้งระแนงรั้วบ้านในพื้นที่เขตเมือง

  • การติดตั้งระแนงรั้วบ้านในพื้นที่เขตเมืองนั้น ต้องขออนุญาตหรือไม่

หากอาคารนั้นมีระยะร่นจากกึ่งกลางของถนนหรือพื้นที่สาธารณะอย่างน้อย 3 เมตร จะสามารถสร้างรั้วได้ในความสูงที่ไม่เกิน 3 เมตร สำหรับพื้นที่เขตเมืองในกรุงเทพฯ โดยที่ไม่ต้องทำเรื่องขออนุญาต

  • ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้าง ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
  • ใบคำร้องขออนุญาตก่อสร้างอาคาร (ข.๑)
  • แบบแปลนบ้านจากวิศวกรหรือสถาปนิก
  • หนังสือรับรองการเป็นเจ้าของที่ดิน
  • ใบรับรองจากสถาปนิกหรือวิศวกร
  • สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชน
  • ระยะเวลาในการอนุมัติ

ใช้เวลา 15-30 วันทำการในการรับรองเอกสาร แล้วแต่พื้นที่

5

ข้อควรระวังด้านกฎหมายและการใช้พื้นที่ติดกับเขตแดนเพื่อนบ้าน

  • การเจรจาเบื้องต้นก่อนติดตั้ง

หากมีการใช้พื้นที่ร่วมกันระหว่างเขตแดนของทั้งสองพื้นที่ ทั้งสองบ้านควรตกลงกันให้เรียบร้อย ชัดเจน ว่าพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันนั้นจะใช้ในลักษณะใด เมื่อมีการซ่อมแซมนั้น ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบบ้าง ซึ่งการตกลงกันนั้นควรชัดเจน มีลายลักษณ์อักษร 

  • สิ่งปลูกสร้างที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน มีกฎหมายคุ้มครองไหม?

สำหรับปัญหาเพื่อนบ้านจงใจสร้างสิ่งปลูกสร้างบางอย่างที่ก่อให้เกิดความรำคาญ หรือรบกวนผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ของเรานั้น ถือได้ว่าเป็นความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้

  • มาตรา 370 ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
  • มาตรา 397 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่นอันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

นอกจากนี้ยังสามารถเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎแพ่งและพาณิชย์ได้ ดังนี้

  • มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
  • มาตรา 421 การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย

บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

10 แบบบ้าน 10 สไตล์ แบบบ้านฟรี!! (บ้าน 2 ชั้น จากสำนักการโยธา กทม.)

แบบบ้านฟรี คือ แบบบ้านทั่วไปที่คนส่วนใหญ่มักจะดูผ่านอินเทอร์เน็ต เว็บดัง ๆ อย่าง Pinterest ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นแค่แบบแปลน รูปด้านหน้า ด้านข้าง แต่ไม่ได้มีการแสดงโครงสร้าง รายการคำนวณ และรายละเอียดที่สำคัญ ซึ่งรูปประเภทนี้ไม่สามารถนำมาใช้ได้เลย ต้องมีการให้สถาปนิกและวิศวกรเซ็นรับรองก่อน แล้วยื่นขออนุญาตกับหน่วยงานราชการ สรุปง่าย ๆ คือ แบบบ้านฟรีที่สวย ๆ ตามอินเทอร์เน็ต ไม่สามารถนำไปใช้ได้ ยังต้องผ่านกระบวนการอีกหลายขั้นตอน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมีแบบบ้านฟรีที่สามารถนำไปสร้างบ้านได้เลย คือ แบบบ้านที่ทางหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานทั่วไปทำแจกฟรีให้ประชาชนใช้
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

เลือกรางน้ำฝนแบบไหนดีที่สุด!

ประเทศไทย มีอากาศแบบร้อนชื้น มีฝนตกเฉลี่ยปีหนึ่งประมาณ 4-5 เดือน หรือทางใต้นี่ตกตลอดเกือบทั้งปี รางน้ำฝนจึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างมาก ที่จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพอากาศของเมืองไทย รางน้ำฝน จริงๆ แล้ว! สำคัญสุดเลย คือ ช่วยไม่ให้บ้านทรุด เพราะหากบ้านทรุดขึ้นมา จะเป็นปัญหาที่แก้ไม่รู้จบเลยค่ะ และรางน้ำฝนช่วย ป้องกันผนังเป็นเชื้อรา ที่เกิดจากการกระเซ็นของน้ำฝน ลดปัญหาน้ำซึมเข้าสู่หลังคา และตามซอกประตูหรือหน้าต่างอีกด้วย หากเราติดตั้งรางน้ำฝนให้กับบ้าน ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงบ้านไปได้เยอะมากเลยค่ะ วันนี้เราจะแชร์ความรู้ ที่ช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจเลือกวัสดุให้เหมาะสมกับบ้านของคุณ ทั้งเรื่องงบประมาณ ความแข็งแรง คงทน รวมไปถึงความสวยงามที่ลงตัวกับบ้าน ถ้าพร้อมแล้วไปลุยกันเล้ยยย...
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

กันก่อนแก้! ติดตั้งรางน้ำฝนอย่างไร ไม่ให้มีปัญหากับเพื่อนบ้าน

อยากจะติดตั้งรางน้ำฝน แต่ก็เคยได้ยินว่าหลายคนมีปัญหากับเพื่อนบ้าน ควรติดตั้งรางน้ำฝนอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาขึ้น มาหาคำตอบกันในบทความนี้กับ VG
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

แชร์ 5 ไอเดียติดตั้งรางน้ำฝนไวนิลทั้งสวย ทั้งระบายน้ำฝนได้ดี

ใครกำลังวางแผนติดตั้งรางน้ำไวนิลบ้าง ถ้ายัง ในบทความนี้ VG จะพาว่าที่เจ้าของบ้านมาชมไอเดียติดตั้งรางน้ำที่ทั้งสวยและใช้งานได้จริง
Inbox
Call
Line