fbpx
รางน้ำไวนิล

ล้วงลึก! จุดเริ่มต้นและประวัติความเป็นมาของรางน้ำฝนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

รางน้ำฝน สิ่งสำคัญของบ้านทุกหลังที่ช่วยป้องกันความเสียหายจากน้ำฝน โดยจะติดไว้รอบชายคาเพื่อรองรับน้ำฝนที่ไหลลงจากหลังคาไหลไปยังท่อระบายน้ำ แล้วทุกคนรู้หรือไม่ว่ากว่าจะมาเป็นรางน้ำฝนในปัจจุบันนี้ รางน้ำฝนมีต้นกำเนิดมาจากอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เรียกได้ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์จากที่ตกทอดมาจากอดีตอย่างแท้จริง 

ในบทความนี้จะมาแนะนำประวัติความเป็นมาของรางน้ำฝนตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันกัน

สถานที่เริ่มต้นและจุดกำเนิดของรางน้ำฝน

แต่เดิมแล้วรางน้ำฝนที่เก่าแก่ที่สุดมีต้นกำเนิดในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุตั้งแต่ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยรางน้ำฝนในยุคนั้นทำขึ้นจากอิฐดินเผา ต่อมาเมื่อจักรวรรดิโรมันเข้ามามีบทบาทในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ พวกเขาได้วางระบบระบายน้ำบนถนนขึ้นมา โดยสร้างถนนให้สูงขึ้นและวางอิฐดินเผาขนาบไว้ด้านข้างเพื่อให้น้ำฝนที่ตกลงบนถนนไหลสู่ “รางน้ำฝน” ข้างถนนนั่นเอง ซึ่งอารยธรรมการวางรางน้ำฝนนี้ถูกค้นพบและนำไปใช้อีกครั้งในประเทศอังกฤษช่วงปีคริสต์ศักราชที่ 47 

- ศตวรรษที่ 10 ถึง 13

ในช่วงการปกครองของจักรวรรดินอร์มันระหว่างศตวรรษที่ 10 ถึง 13 ระบบรางน้ำได้ถูกรวมเข้ากับสถาปัตยกรรม โครงสร้างหลายแห่งถูกสร้างขึ้นใหม่เป็นหลังคาหินมี “เชิงเทิน” ที่สามารถเดินขึ้นไปได้ มีระบบรางน้ำฝนโดยติดตั้งท่อน้ำฝนในปากของรูปปั้นการ์กอยล์ สำหรับระบายน้ำฝนจากเชิงเทิน โดยให้น้ำไหลออกมาจากปากของการ์กอยล์เพื่อป้องกันน้ำขังบนเชิงเทิน

หอคอยลอนดอนเป็นอีกหนึ่งแห่งที่ภายในตัวอาคารมีรางน้ำฝน ในสมัยนั้นพระเจ้าเฮนรีที่ 3 ทรงขอให้ผู้ดูแลหอคอยขยายรางน้ำฝนตะกั่ว เพื่อป้องกันกำแพงสีขาวของตัวอาคาร นับเป็นรูปแบบรางน้ำฝนรางแรกที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ต่อมาพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ได้แยกคริสตจักรออกจากอำนาจของสมเด็จพระสันตะปาปาและมีคำสั่งให้ยุบอาราม ตัดรายได้และทรัพยากรจากสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด รัฐบาลและขุนนางผู้จึงได้ยึดทรัพย์สินที่มีค่าของอารามสงฆ์และสำนักชี ทำให้ได้พบรางน้ำฝนตะกั่ว ทำให้ข่าวแพร่กระจายออกไปสู้สาธารณชน และเพราะว่ารางน้ำฝนตะกั่วมีราคาเข้าถึงง่ายผู้คนทั่วสหราชอาณาจักรจึงนำมาใช้งานกับบ้านเรือนของตัวเอง

- ศตวรรษที่ 18

ต้นปีคริสต์ศักราชปีที่ 1700 ได้มีการค้นพบและจัดจำหน่ายในช่วงเวลานั้นทำให้ผู้ผลิตรางน้ำฝนหลายเจ้าใช้เหล็กหล่อแทนตะกั่ว ในช่วงปลายศตวรรษมีการใช้ไม้แกะสลักเป็นรูปตัว V มาติดกับตัวบ้านเพื่อเพิ่มความหรูและใช้เป็นรางน้ำฝนไปในตัว ต่อมาได้มารางน้ำฝนสังกะสีก็ถูกผลิตขึ้นมาและได้รับความนิยมมากในช่วงเวลานั้น

เมื่อเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้น วัสดุสำหรับทำรางน้ำฝนมีราคาถูกลง จึงมีเกิดการผลิตจำนวนมาก ส่งผลให้การใช้รางน้ำฝนกลายเป็นเรื่องทั่วไปที่พบได้ในยุควิคตอเรียน เพราะชาววิคตอเรียนเริ่มเข้าใจถึงระบบระบายน้ำฝนว่าช่วยป้องกันไม่ให้น้ำฝนกระทบตัวบ้านโดยตรงทำให้กำแพงแห้ง คนในบ้านป่วยน้อยลง และช่วยป้องกันหน้าดินพังจากน้ำฝนที่ตกลงมากระทบกับหน้าดินโดยตรง ทำให้สวนหรือบริเวณพื้นดินรอบบ้านไม่ได้รับความเสียหายจากฝนตกหนัก

- ศตวรรษที่ 20

ต้นคริสต์ศักราชปีที่ 1900 “เหล็ก” กลายเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการนำมาใช้ทำรางน้ำฝน เนื่องจากมีความแข็งแรงและทนทาน เทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนารางน้ำฝนในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 คือ เครื่องรีดโลหะ ที่ช่วยให้สามารถม้วนรางน้ำฝนเหล็กให้โค้งกลมทำให้สามารถติดตั้งตรงขอบบ้านและอาคารได้อย่างดี

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เหล็กกลายเป็นวัสดุที่หาได้ยาก อะลูมิเนียมจึงถูกนำมาใช้ผลิตแทน เพียงไม่นานรางน้ำฝนอะลูมิเนียมก็กลายเป็นที่พบเห็นได้มากที่สุด เนื่องจากน้ำหนักที่เบาและมีความแข็งแรงไม่แพ้เหล็ก ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกัน เริ่มมีผู้ผลิตบางเจ้าเริ่มพัฒนาวัสดุพลาสติกเพื่อนำมาใช้สำหรับการทำรางน้ำฝนด้วยเช่นกัน

มาถึงช่วงคริสต์ศักราชปีที่ 1960 เริ่มมีการใช้รางน้ำฝนไร้รอยต่อและได้เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการผลิตรางน้ำฝนไปอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากช่างทำต้องใช้เครื่องรีดขึ้นรูปโลหะในการขึ้นรูปรางน้ำฝนหน้างาน เพื่อลดรอยต่อของรางน้ำฝนและให้ความยาวของรางน้ำฝนพอดีกับตัวบ้าน และไม่นานรางน้ำฝนไร้ตะเข็บก็ได้รับความนิยมมากที่สุดในปี 1980 ในขณะเดียวกัน ตะแกรงรางน้ำฝนก็ถูกผลิตขึ้นและจัดจำหน่ายสู่ตลาดในช่วงเวลานั้นด้วยเช่นกัน ปัจจุบันก็มีการพัฒนารางน้ำฝนขึ้นมาอีกมากมายและที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันนี้คือรางน้ำฝนที่ทำจากไวนิล

VGandHome SEO JAN 02 IMG 2

รางน้ำฝนไวนิล

รางน้ำฝนไวนิล คือ รางน้ำฝนที่ผลิตจากพลาสติก หรือ uPVC มีคุณสมบัติเด่นคือ ไม่เป็นสนิมตลอดอายุการใช้งาน แข็งแรงทนทานต่อสภาพอากาศแวดล้อมทั้งแดดและฝน อีกทั้งยังสวยงามเข้ากับบ้านได้ทุกแบบ ทุกสไตล์

บริการติดตั้ง-ต่อเติม รางน้ำฝน VG โดยทีมช่างมืออาชีพ

ใครที่กำลังสนใจติดตั้งรางน้ำฝน ขอแนะนำรางน้ำฝนไวนิล VG ที่มีนวัตกรรม iR-uPVC ที่ยกระดับไวนิลให้เหนือกว่าไวนิลทั่วไป สร้างความแข็งแรง ทนทาน และพร้อมท้าชนทุกสภาพอากาศ รางน้ำฝนไวนิล VG มีเทคโนโลยีการปกป้อง ถึง 2 ชั้น หรือ Double Layers ซึ่ง VG คิดค้นและตั้งใจออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับสภาพอากาศประเทศไทยโดยเฉพาะ พร้อมบริการติดตั้งโดยทีมช่างมืออาชีพ บริการครบ จบที่เดียว

สามารถสอบถามและปรึกษา VG ผ่านช่องทางต่างๆ ด้านล่าง
โทร. : 087-654-7788
อีเมล : info@mycnpgroup.com
LINA OA: @vg-cnp
Facebook:
VG รางน้ำและหลังคาไวนิล


บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

รางน้ำฝน uPVC เหมาะกับหลังคาบ้านแบบไหน ติดแบบใดให้ดูสวย

พามาดูเรื่องที่น่าสนใจเมื่อตัดสินใจที่จะติดตั้งรางน้ำฝน มีอะไรบ้างที่ต้องรู้ และเรื่องไหนต้องระวัง เพื่อไม่เกิดปัญหากับเพื่อนบ้านในภายหลัง
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

รูปทรงหลังคามีกี่แบบ แต่ละรูปทรงมีลักษณะอย่างไรบ้าง

หลังคา เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการปกป้องดูแลบ้านจากแดด ลม ฝน และหน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การทำให้บ้านมีเอกลักษณ์ บ่งบอกตัวตนของเจ้าของบ้าน ปัจจุบันทรงหลังคามีให้เลือกมากมายหลากหลายแบบ หลายสไตล์ สามารถเลือกทรงหลังคาตามสไตล์ที่เจ้าของบ้านชื่นชอบได้เลยครับ โดยหลัก ๆ แล้วรูปทรงหลาคายอดฮิตในปัจจุบันที่คนเลือกใช้มากที่สุด มีทั้งหมด 11 แบบ ดังนี้
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

ต่อเติมหลังคาโรงรถ ต้องทำยังไงบ้าง!

การต่อเติมหลังคาโรงรถเป็นสิ่งสำคัญมาก   เพราะรถสุดรักสุดหวงของเราจะได้รับการปกป้องจากแสงแดด สายฝน มลภาวะต่าง ๆ  โดยจุดประสงค์หลักของการต่อเติมหลังคาก็เพื่อช่วยบำรุงรักษาอายุการใช้งานรถ ทั้งนี้ในการก่อสร้างควรคำนึงถึงวัสดุของหลังคาที่นำมาต่อเติม นอกจากนี้หลายคนยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี หากต้องการต่อเติมหลังคาโรงรถ ต้องเริ่มต้นจากจุดไหน วันนี้ VG จะมาแนะนำวิธีต่อเติมหลังคาโรงรถตั้งแต่ต้นจนจบ
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

สร้างบ้านต้องรู้! ใบอนุญาตก่อสร้าง เอกสารที่ต้องยื่นมีอะไรบ้าง ?

    การก่อสร้างบ้านหรืออาคารต้องได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างจากสำนักงานเขตท้องถิ่นก่อน จึงจะเริ่มขั้นตอนก่อสร้างได้ ซึ่งหลาย ๆคนยังไม่รู้ ทำให้อาจประสบปัญหาตามมาทีหลัง ทั้งต้องเสียค่าปรับ ติดคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ หนักสุดถึงขั้นต้องทุบบ้านหรืออาคารทิ้งได้เลยทีเดียว วันนี้ VG เลยมาบอกเล่าเรื่องราวขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้านหรืออาคารว่ามีเอกสาร ขั้นตอนการยื่นเรื่องอย่างไรบ้าง
Inbox
Call
Line