fbpx
รางน้ำไวนิล

เทคนิคการเลือกซื้อหลอดไฟในบ้านด้วยตัวเอง

แสงสว่าง เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตที่ทุกบ้านไม่สามารถขาดไปได้ ในเวลากลางวันบ้านจะมีแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ แต่ในเวลากลางคืนบ้านจะไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์ เราจึงมีการติดตั้งไฟฟ้า มาใช้เพื่อชดเชยแสงสว่าง สำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้ราบรื่นตลอดทั้งวัน

เมื่อหลอดไฟที่เคยส่องสว่างในบ้านเสื่อมคุณภาพ จนไม่สามารถใช้งานได้เหมือนเดิม ก็ถึงคราวที่ต้องหาซื้อหลอดไฟมาเปลี่ยนใหม่ แต่หลายครั้งที่การเลือกหลอดไฟในบ้านกลับกลายเป็นเรื่องยากต่อการตัดสินใจ จนไม่รู้ว่าจะเลือกใช้หลอดไฟแบบไหน ให้ตอบโจทย์การใช้งานที่สุด

ปัจจุบัน มีหลอดไฟให้เลือกใช้งานมากมายหลายชนิด มีทั้งชนิดที่เคยได้รับความนิยมในอดีต ชนิดที่ยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน และชนิดที่มีการผลิตขึ้นมาใหม่ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างลงตัวกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ สำหรับใครที่กำลังมองหาหลอดไฟไว้ใช้งานในบ้านแต่ยังไม่รู้ว่าควรเลือกหลอดไฟแบบไหนดี เรามีเทคนิคในการเลือกซื้อหลอดไฟแบบเข้าใจง่ายมาแนะนำกันค่ะ

 

เทคนิคการเลือกซื้อหลอดไฟในบ้านด้วยตัวเอง

1. การเลือกหลอดไฟจากโทนสีของแสงที่ต้องการ

ก่อนที่เราจะเลือกหลอดไฟ ไปติดตั้งในห้องใดห้องหนึ่ง อย่างแรกเลย เราต้องรู้ฟังก์ชันการใช้งานในห้องนั้น ๆ เสียก่อน เพราะสีไฟที่ต่างกัน ก็เหมาะกับการใช้งานที่ต่างกัน เช่น ห้องนอน ห้องรับแขก เหมาะกับไฟสีส้ม เพราะทำให้บรรยากาศดูอบอุ่น ผ่อนคลาย ส่วนไฟสีขาวนั้นเหมาะกับห้องทำงาน ห้องครัว เพราะเป็นพื้นที่ที่ต้องการสมาธิในการใช้งาน ไฟสีขาวจะช่วยทำให้สีในห้องไม่ผิดเพี้ยน และสามารถเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ได้ชัดเจน กว่าไฟสีส้ม ซึ่งโดยทั่วไปสีไฟที่นิยมใช้กันในบ้านก็มี สี warm white (แสงสีเหลือง ๆ อมส้ม) สี cool white (แสงสีฟ้าขาว) และสี Daylight White (แสงสีใกล้เคียงกับแสงอาทิตย์)

 

หลอดไฟ Warm White การเลือกหลอดไฟในบ้านประเภท Warm White ที่มีอุณหภูมิสีประมาณ 2,500 – 3,300 เคลวิน ให้แสงในโทนส้ม ทำให้รู้สึกถึงความอบอุ่น ผ่อนคลาย เป็นกันเอง โดยการเลือกหลอดไฟชนิดนี้ เหมาะนำไปใช้ในห้องนอน ห้องรับแขก ห้องน้ำ เพราะจะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับห้อง ข้อควรระวัง คือ การเลือกหลอดไฟที่ให้แสง Warm White จะทำให้สีที่สะท้อนกลับมาผิดไป ไม่ตรงตามความจริงได้ เช่น เห็นเสื้อสีขาวเป็นสีนวล หรือทำให้การแต่งหน้ามีสีที่ผิดเพี้ยนไปได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการนำไปติดตั้งในบริเวณสำหรับกิจกรรมที่ต้องการเห็นค่าสีของวัตถุตรงตามสีนั้นจริง ๆ 

 

 

หลอดไฟ Cool White การเลือกหลอดไฟในบ้านประเภท Cool White ที่มีอุณหภูมิสี 4,000 เคลวิน อยู่ระหว่างแบบ Warm White และ Daylight White แสงที่ได้จะเป็นสีค่อนข้างขาว และเป็นสีโทนเย็น ซึ่งมองแล้วให้ความสบายตา หลอดไฟประเภทนี้นิยมใช้กันในร้านค้า เพื่อช่วยให้สีสันของสินค้าดูสดใสกว่าความเป็นจริง

 

หลอดไฟ Daylight White การเลือกหลอดไฟในบ้านประเภท Daylight White ที่มีอุณหภูมิสี 6,000 – 6,500 เคลวิน โทนสีนี้ ถือเป็นสีมาตรฐานที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะให้สีใกล้เคียงกับแสงอาทิตย์ จึงไม่ทำให้สีของวัตถุที่สะท้อนกลับมาผิดเพี้ยน แสง Daylight White ยังสามารถใช้ได้กับทุกที่ที่ต้องการความสว่างสดใส ถ้าหากเลือกไปใช้เป็นหลอดไฟในบ้าน ความสว่างสดในของโทนแสงจะสามารถช่วยกระตุ้นร่างกายให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าได้มากยิ่งขึ้น

การเลือกใช้งานหลอดไฟในบ้านของทั้ง 3 โทนสีนี้ยังสามารถผสมผสานรวมกัน เพื่อไม่ให้โทนสีใดสีหนึ่งเด่นเกินไปได้อีกด้วย เช่น การเลือกใช้หลอดไฟประเภท Warm White ผสานกับแบบ Cool White ในห้องทานข้าวจะช่วยให้บรรยากาศดูอ่อนโยน แต่ในขณะเดียวกันก็ยังส่งเสริมให้อาหารดูน่ารับประทานยิ่งขึ้น หรือการใช้หลอดไฟโทน Warm White เพื่อเน้นเฟอร์นิเจอร์ให้ดูโดดเด่นท่ามกลางแสง Daylight เป็นต้น

2. การเลือกขั้วหลอดไฟให้เหมาะสม 

ขั้วหลอด คือ ส่วนที่เป็นโลหะสีเงิน ๆ ด้านล่างหลอด มีหลายแบบและหลายขนาด ขึ้นอยู่กับประเภทของหลอดไฟ ขั้วของหลอดไฟ แตกต่างกันไปตามประเภทของหลอดไฟนั้น ๆ เมื่อถึงคราวต้องเปลี่ยนหลอดไฟ การตรวจดูประเภทของขั้วหลอดไฟ จึงเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญ เพราะการเลือกหลอดไฟที่มีขั้วไม่สอดคล้องกับโคมไฟ หรือรางหลอดไฟที่บ้าน อาจทำให้จะต้องเสียเงินเพื่อซื้อหลอดใหม่ได้ 

ประเภทของหลอดไฟ จะสัมพันธ์กับการใช้งานพื้นที่ต่าง ๆ ของบ้าน หลอดไฟที่ดีควรช่วยประหยัดไฟ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน สำหรับประเภทหลอดไฟที่นิยมใช้ในบ้านทุกวันนี้มี 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

 

หลอดไส้ เป็นหลอดไฟที่ปล่อยพลังงานไฟฟ้าผ่านขดลวด ให้เปล่งแสงออกมา ปัจจุบันมีการพัฒนาให้ดีขึ้น เพื่อยืดอายุการใช้งาน เหมาะกับเจ้าของบ้านที่มีความต้องการเน้นบรรยากาศในห้อง หรือบริเวณที่ต้องการความสว่างเป็นพิเศษ เช่น ใช้ในตู้โชว์ หรือส่องรูปภาพบนผนังให้โดดเด่น เป็นต้น

 

หลอดคอมแพ็กฟลูออเรสเซนซ์ หรือที่รู้จักกันในนามหลอดตะเกียบ หลอดไฟที่ส่งผ่านประจุจากขั้วลบไปยังขั้วบวก เพื่อเกิดแสงสว่าง เป็นหลอดที่นิยมใช้งาน เนื่องจากมีอายุการใช้งานยาวนาน ให้แสงสว่างสูง และประหยัดไฟได้ 75% – 80% ของหลอดไส้ ซึ่งเหมาะกับเจ้าของบ้านที่มีความต้องการติดตั้งไฟที่ต้องเปิดไฟทิ้งไว้นาน ๆ เช่น ประตูรั้วหน้าบ้าน

 

หลอดไฟ LED ในบ้าน  เป็นหลอดไฟขนาดเล็กที่สุด แต่ให้แสงสว่างได้ดี แถมยังไม่แผ่ความร้อน จึงช่วยยืดอายุการใช้งานของหลอดยาวนานขึ้น หลอดไฟในบ้านประเภทนี้ สามารถเปิด-ปิดได้บ่อยครั้ง โดยไม่เสื่อมสภาพไปตามจำนวนการกดสวิตช์ นอกจากนี้หลอดไฟ LED ยังไม่มีการปล่อยรังสียูวี ที่ทำร้ายผิว และสายตาของเราด้วย ซึ่งเหมาะกับเจ้าของบ้านที่มีความต้องการใช้หลอดไฟ LED ในทุก ๆ จุดของบ้าน เพราะมีราคาถูกลง จับต้องได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย

 

 

3. การเลือกหลอดไฟ ให้ระดับความสว่างเหมาะกับพื้นที่ 

ความสว่างที่ไม่เหมาะสม นอกจากจะทำให้ mood and tone ของบ้านไม่เป็นไปดั่งใจแล้ว ยังอาจส่งผลเสียที่ใหญ่กว่านั้น เช่น การอ่านหนังสือในบ้านที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ สามารถทำลายสายตาของเราได้ หรือแสงสว่างที่มากเกินไปก็จะทำให้ห้องที่มีไว้สำหรับพักผ่อนดูแข็งกระด้าง เป็นต้น นอกจากจะเลือกหลอดไฟจากโทนสีของแสงที่ต้องการแล้ว ระดับความสว่างที่เหมาะสมจึงเป็นอีกหนึ่งข้อที่ควรคำนึงถึง

 

 

4. การเลือกหลอดไฟ ให้เหมาะสมกับจำนวนวัตต์

วัตต์ (Watt หรือ W) คือ หน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่เป็นตัวบอกอัตราการกินไฟของหลอดไฟ เช่น หลอดไฟ 100 วัตต์ หมายความว่า หลอดกินไฟ 100 วัตต์ต่อชั่วโมง อธิบายง่าย ๆ คือ ยิ่งวัตต์มากก็ให้แสงที่สว่างมาก และผลที่ตามมาก็คือกินไฟมากเช่นกัน ดังนั้น จึงมีการคิดค้นหลอดประหยัดไฟขึ้นมา เช่น หลอด LED ถึงแม้จะมีราคาแพง แต่ถ้าเทียบกับค่าไฟในระยะยาวก็ถือว่าคุ้ม เพราะกินไฟน้อยกว่าไส้หลายเท่าตัว แต่ให้ความสว่างได้เท่ากับหลอดไฟที่มีกำลังวัตต์มาก แถมอายุการใช้งานยังยาวนานกว่าอีกด้วย ดังนั้น เวลาเลือกหลอดไฟทั่วไป ก็ดูที่วัตต์มากก็สว่างมาก ส่วนหลอด LED ก็จะเขียนว่าวัตต์เท่านี้ เทียบเท่าความสว่างของหลอดไส้ทั่วไปกี่วัตต์

 

5. การเลือกรูปทรงของหลอดไฟในบ้าน

  หลอดไฟ เป็นส่วนประกอบนึงที่ไม่สามารถขาดไปจากห้องได้ รูปทรงของหลอดไฟจึงเหมือนเป็นองค์ประกอบอีกหนึ่งอย่าง ที่สามารถตกแต่งห้องให้น่าสนใจขึ้นได้ อีกทั้งรูปทรงของหลอดไฟ ยังมีผลต่อการใช้งานด้วย การเลือกรูปทรงหลอดไฟที่ไม่เหมาะสมจะทำให้แสงกระจายได้ไม่เพียงพอ และส่งผลเสียต่อพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างสม่ำเสมอ เช่น ห้องครัว หรือห้องทำงาน เราจึงควรเลือกรูปทรงของหลอดไฟที่สามารถกระจายแสงให้พื้นที่ได้อย่างทั่วถึงด้วย

 

6. การเลือกหลอดไฟที่ปรับการใช้งานได้ตามความต้องการ เช่น หรี่ไฟ ปรับโทนสี

  การเลือกหลอดไฟที่มีฟังก์ชันการใช้งานหลากหลาย เช่น สามารถปรับระดับความสว่างของไฟ หรือสามารถปรับโทนสีของแสงได้ ย่อมให้ความคุ้มค่าสูงสุด เพราะห้อง ๆ นึงสามารถเป็นได้ทั้งห้องสำหรับพักผ่อน หรือทำงานที่ต้องใช้สมาธิได้เมื่อต้องการ ทำให้เราสามารถใช้งานห้องนั้น ๆ ได้อย่างคุ้มค่าอีกด้วย

 

เป็นยังไงกันบ้างค่ะ กับเทคนิคการเลือกหลอดไฟฉบับ VG คุณเจ้าของบ้านสามารถนำไปใช้เลือกหลอดไฟได้ด้วยตัวเอง พียงแค่รู้จักหลอดไฟแต่ละชนิด และสามารถเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม ก็สามารถเลือกซื้อหลอดไฟในบ้านด้วยตนเองได้แล้วค่ะ 

 

 

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก

– ขอบคุณรูปภาพจาก dsignsomething และ Nirvana

– shorturl.asia/ZTqMl

– shorturl.asia/IskgL

https://www.sanook.com/home/27361/

https://houzzmate.com/topic/1808110708185056?matching=dHJ1ZQ%3D%3D


บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

เจาะลึกเรื่องรางน้ำฝนของ VG ตอบทุกข้อสงสัยของเจ้าของบ้านมือใหม่!

มาตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับรางน้ำฝน VG ที่คาใจเจ้าของบ้านมือใหม่ทุกคน รายละเอียดเป็นอย่างไร อุปกรณ์มีอะไรบ้าง ติดตั้งเองยังไง ราคาเท่าไหร่ เราได้รวมคำตอบไว้แล้ว
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

หน้าฝนกับปัญหาน่าปวดหัวแบบนี้ ให้รางน้ำฝนช่วยดีกว่า!

ในหน้าฝนมักมาพร้อมกับปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับตัวบ้าน ทำเอาเจ้าของบ้านหลายคนปวดหัวไปตามๆ กัน ถ้าฝนตกหนักขนาดนี้ให้ “รางน้ำ” มาช่วยแก้ปัญหาดีกว่า
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

รางน้ำฝน uPVC vs รางน้ำฝน PVC ความแตกต่างที่ควรรู้ก่อนเลือกติดตั้ง

ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งอุปกรณ์ชนิดใดกับบ้านก็ตาม การทำความเข้าใจถึงคุณภาพของวัสดุเพื่อนำมาใช้งานอย่างเหมาะสม ย่อมสร้างความคุ้มค่าอยู่เสมอ สำหรับใครที่วางแผนจะติดตั้งรางน้ำ นอกจากสำรวจเกี่ยวกับราคา รางน้ำฝนแล้ว ยังอยากพามาทำความรู้จักกับ 2 วัสดุที่ได้รับความนิยมสูงมากอย่าง uPVC และ PVC มีความแตกต่างอย่างไร เลือกแบบไหนตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด
บทความที่เกี่ยวข้องกับรางน้ำฝน

หลังคากันความร้อนแบบไหนดี? เลือกยังไงให้บ้านเย็นสบายตลอดปี

ในสภาพอากาศร้อนชื้นของประเทศไทย ความร้อนจากแสงแดดเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่ออุณหภูมิภายในบ้าน หลังคากันความร้อนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยลดความร้อนที่แผ่เข้ามาในตัวบ้าน
Inbox
Call
Line